ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหมืองแร่ที่หนองบัวลำภู


ชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ อ.สุวรรณคูหา  จังหวัดหนองบัวลำภู ในพื้นที่ภูผายา ผาจันไดและผาโขง ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
ชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดขึ้นเนื่องจากพื้นที่ภูผายา ผาจันได ผาโขง ที่ตั้งอยู่บริเวณบ้านผาช่องหมู่ที่7 บ้านโชคชัย8 หมู่ที่12 ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ เป็นภูเขาหินปูน และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลบานกลาง 260-330 เมตร บริเวณใกล้เคียงมีลำห้วยปูน ห้วยสาวโฮและห้วยคะนาน ที่ชาวบ้านใช้ในการอุปโภคบริโภคในการทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ และเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้เบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งปีพ.ศ.2536 มีกระแสข่าวเกิดขึ้นว่า ภูผายา ภูผาโขง ในพื้นที่ตำบลดงมะไฟ จะถูกขอสัมปทานและประทานบัตรเพื่อสำรวจและทำเหมืองแร่ จึงได้เริ่มทำการคัดค้านโครงการดังกล่าว จนทำให้นายบุญรอด ด้วงโคตะและนายสนั่น สุขสุวรรณ แกนนำคัดค้าน ถูกยิงเสียชีวิต จนกระทั่งปีพ.ศ.2537 บริษัทศิลาโชคชัยภัทรจำกัด ได้ยื่นขอประทานบัตรเหมืองแร่ โดมิติกไลม์สโตน ในเนื้อที่ 200 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ป่าเก่าลอยและป่านากลาง ในตำบลดงมะไฟ และได้เปลี่ยนการขอสัมปทานเป็นเหมืองหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง พื้นที่บริเวณตำบลดงมะไฟจึงถูกประกาศโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดพื้นที่แหล่งอุตสาหกรรมฉบับที่12 (3 กันยายน 2541) และกำหนดแหล่งเพิ่มเติมที่ผาจันได ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรณคูหา เพิ่มเติม
แม้ว่าในช่วงปีพ.ศ. 2542 ชาวบ้านจะได้มีหนังสือคัดค้านการทำสัมปทาน แต่ทางบริษัทยังคงดำเนินการรังวัดโดยไม่สนใจฟังเสียงคัดค้านของชาวบ้าน แต่ในเวลาเดียวกันบริษัทก็ขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าสงวนซึ่งเป็นที่ตั้งประทานบัตรและขอใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 50 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติรอบพื้นที่ขอประทานบัตรเดิม ทำให้การต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านทวีความรุนแรงมากขึ้น และชาวบ้านได้รวบรวมตัวกันกว่า 1,700 คน จัดตั้งกลุ่ม ชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ อำเภอสุวรรณคูหา โดยมีนายสมพงษ์ ชินแสง เป็นประธาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและยืนบันการคัดค้านการขอประทานบัตรของกลุ่มทุนและยื่นรายชื่อคัดค้านการทำโรงโม่หิน ในช่วงปีพ.ศ.2542 นายทองม้วน คำแจ่ม กำนันตำบลดงมะไฟและแกนนำสำคัญได้ถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านแห่ศพประท้วงที่ศาลากลางจังหวัด การคัดค้านของชาวบ้านจึงมีอย่างต่อเนื่อง ปีพ.ศ.2544 นายเอกชัย ศรีพุทธาและกลุ่มชาวบ้าน ยืนถวายฎีกาต่อในหลวง ซึ่งทางสำนักเลขาธิการส่งหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น และทางราชการก็ได้อนุมัติประทานบัตรให้กับทางบริษัทเรียบร้อย
กระบวนการต่อสู้ของชาวบ้าน มีการยื่นหนังสือเรียกร้องกับองค์กรต่างๆ เช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในปีพ.ศ.2547 มีคำสั่งศาลจังหวัดนครราชสีมา ให้ระงับการทำเหมืองจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นออย่างอื่น ซึ่งศาลมีความเห็นว่ายังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ประทานบัตรโดยเฉพาะแหล่งน้ำซับบริเวณภูผาจันได ที่อยู่ในสภาวะความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากแรงสั่นสะเทือน และศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการของเหมืองหรือกิจกรรมใดๆในบริเวณที่มีการสัมปทานจนกว่าคดีจะถึงที่สุดขณะนี้อยู่ในขั้นศาลปกครองสูงสุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง