ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เพลงของดอนผีบิน


ดอนผีบิน เฮฟวี่เมทัลเมืองไทย
 ....ก่อนแสงทองจะลับหาย...
.... กับคืนวันที่เคยทักทาย.....
... ปรารถนาให้พลังใจกายกลับคืนสู่ทุกชีวี...
...ปรารถนาคืนค่ำนี้ ทุกชีวีปราศจากโรคภัย...
...ตลอดถึงค่ำคืนต่อไป...และต่อไป...
พบกันอีกครั้ง หลังสนธยานี้...หลังจากฉากนี้ถูกปิดตอนลง แล้วเราจะกลับมา
ดอนผีบิน ออกอัลบั้มใต้ตะวันเดียวกัน โดยสมาชิกกลุ่มประกอบด้วย สมบัติ แก้วทิตย์ เล่นกีตาร์  สมคิด แก้วทิตย์ เล่นกีตาร์ เบสและร้องนำ และสุดท้าย สมศักดิ์ แก้วทิตย์ เล่นกลอง ทั้งสามคนเป็นพี่น้อง ที่มีฝีมือทางด้านดนตรีจัดจ้าน หนักแน่น สไตล์เฮฟวี่ เมทัลและเดธ เมทัล แม้ว่าบางเพลงจะฟังไม่ทัน ฟังไม่รู้เรื่อง การใช้น้ำเสียงแบบตะโกนและสำรอกออกมา เป็นเพลงสไตล์ของดอนผีบิน  แต่ชุดที่ฟังได้ง่ายและซอล์ฟลงมาหน่อย (นิดนึง) ได้ถูกรวมไว้ในอัลบั้มใต้ตะวันเดียวกัน เพลงในชุดนี้เพราะหลายเพลง ทั้งในด้านเนื้อหาและดนตรี โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อมและมนุษย์  เช่น เพลงลีลาลวง
“ดินแดนใด สดใสสวยงาม ดินแดนใด สดใสเริงร่า ผ่านมาหาไม่มี ผ่านมาหาไม่เจอ...” หรือเพลง ไกลบ้าน
เพลงทางท้าทาย “...สักวันถึงทางท้าทาย สู่จุดหมาย หมายความ ความหายคน สุดทางทางท้าทายสู่จุดหมาย แตกดับสลาย วันสุดท้าย...”
หรือเพลงบรรเลง อย่างสิ้นสุดความหมายแห่งการดำรง  นอกจากนี้ยังมีเพลง ก่อนจะไร้ซึ่งวิญญาณ สายเสียแล้ว  Return to the nature 1 และ 2 เพลงสองฟากฝั่ง และสักวัน
เพลงชุดนี้จังหวะหนัก แต่ฟังสบายๆ  ไพเราะทั้งด้านดนตรีและเนื้อหาที่ทำให้มนุษย์ขบคิดและตั้งปัญหาเกี่ยวกับตัวเอง สังคมและสิ่งรอบตัว
หากใครอยากฟังเพลงดอนผีบิน ที่มีแนวเพลงที่หลากหลายไม่ใช่แค่เพลงช้า แต่มีเพลงจังหวะหนักๆ เร็วๆ หลายเพลง ก็ลองหาฟังดูในชุดอื่นๆ เช่นโลกมืด  ชุดที่สอง เส้นทางสายมรณะ ชุดที่สามอุบาทว์-อุบัติ ชุดที่4 สองฟากฝั่งที่จัดจำหน่ายโดยค่ายWarner Music  นอกจากนี้ก็มีชุดแสดงสด ชุดรวมเพลงเร็ว ดอนผีบิน และชุดรวมเพลงช้า ใต้ตะวันเดียวกัน โดยเพลงทุกเพลงคำร้องและทำนอง เขียนโดยดอน ผีบิน ผมว่าศิลปินกลุ่มนี้มีความน่าสนใจทางด้านงานเพลงและความคิดที่ทำให้เราคิดตามได้ไม่มากก็น้อยครับ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง