เอกสารประกอบการสัมมนายุทธศาสตร์ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
เรื่องภูผายา ผาจันได ผาโขง ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
โดยชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ อ.สุวรรณคูหา จังหวัด หนองบัวลำภู
ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดีของชุมชน ลักษณะทางกายภพชีวภาพ
และสังคมวัฒนธรรม รวมถึงกระบวนการต่อสู้เคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่
โดบในเอกสารชิ้นนี้พยายามบอกเล่าถึงการต่อสู้เคลื่อนไหวกว่า 10 ปี ของชาวบ้านร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร โดยพื้นที่ภูผายา ผาจันได ผาโขง
ถือเป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งอาหารพืชสมุนไพร สถานที่ทำพิธีทางศาสนา
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่ของการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
การเคลื่อนไหวในปัจจุบันแม้ว่าศาลปกครองจะมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการใดๆหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากโครงการเหมืองแร่ในพื้นที่ประทานบัตร
โดยเฉพาะแหล่งน้ำซับตามธรรมชาติและถ้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่อาจจะได้รับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนของการระเบิดเหมือง
ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการยุติกิจกรรมต่างๆของกลุ่มทุน ทางกลุ่มอนุรักษ์ภูผาป่าไม้
ได้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในพื้นที่หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
มีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ต่างๆเกิดขึ้น เช่น ตั้งคณะกรรมการกำหนดกฎเกณฑ์การใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน การเพาะกล้าไม้ปลูกป่าเสริม การสร้างแนวกันไฟ
การไม่ล่าสัตว์ ไม่เผาป่าเพื่อให้สภาพป่ายังคงอยู่ รวมทั้งการทำโครงการต่างๆ
เช่นโครงการอนุรักษ์น้อยที่ร่วมกับคณะครูในโรงเรียน เพื่อสร้างให้เด็กเป็นผู้นำทางด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการพ่อภูมิปัญญาเพื่อสืบสานความรู้ท้องถิ่น
และการเผยแพร่ความรู้บทเรียนสู่สื่อธารณะในเรื่องการต่อสู้เคลื่อนไหวและผลที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้
อันนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประชาชน หน่วยงานต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่
เพื่อสร้างจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับคนในชุมชนเพื่อให้สิ่งแวดล้อมเกิดความยั่งยืนในอนาคต
แม้ว่าในปัจจุบันโรงโม่หินและเหมืองแร่ในพื้นที่จะได้ยุติการดำเนินกิจกรรมแล้ว
แต่ชาวบ้านก็ยังคงเฝ้าระวังตลอดเวลาเนื่องจากบริษัทพยายามยื่นอุทธรณ์และเดินหน้าฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้านในพื้นที่
โดยชาวบ้านมีสภาทนายความคอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องคดี
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ของชาวบ้านที่ยังคงดำเนินต่อไป
ภายใต้ความพยายามสร้างจิตสำนึกเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเตรียมรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากกระบวนการพัฒนา
ดังที่เอกสารชิ้นนี้บอกว่า
แม้ว่าชาวบ้านและแกนนำหลายคนจะมีการย้ายถิ่นไปทำงานต่างจังหวัดแต่ก็ยังติดตามความเคลื่อนไหว
พร้อมทั้งในอนาคตถ้าเกิดเหตุการณ์เคลื่อนไหวของบริษัทหรือกลุ่มทุนในพื้นที่ขึ้น
ชาวบ้านก็พร้อมจะกลับมารวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับหนังสือ
"กระบวนการต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรชุมชน" คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ที่นอกจากจะพูดถึงกระบวนการต่อสู้เคลื่อนไหวของชาวบ้าน ในการร่วมกันยืนหยัดต่อสู้คัดค้านการอนุญาตประทานบัตร
โดยใช้ช่องทางตามกฎหมายในชั้นศาลปกครองแล้ว "ชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้" ยังคงรวมตัวกันในการทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ในรูปแบบต่างๆ
กิจกรรมหนึ่งที่ชุมชนได้มีความพยายามร่วมกันคือโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลดงมะไฟ
อำเภอสุรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู แม้ในระยะหลังๆที่ทางบริษัทผู้ขอประทานบัตรโรงโม่จะหยุดดำเนินการใดๆ
ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่ง(สิงหาคม 2547) ชุมชนยังคงมีการเฝ้าระวังสถานการณ์การเคลื่อนไหวของทางโรงโม่
แม้ว่าชาวบ้านและแกนนำที่คัดค้านโรงโม่ส่วนหนึ่งปัจจุบันจะไม่อยู่ในพื้นที่ เพราะไปหางานทำที่
กทม.หรือจังหวัดอื่นๆ แต่ก็มีการติดตามข่าวโดยการโทร.สอบถาม และฝากข่าวกันไปกับลูกหลานที่เดินทางไปกลับอยู่ตลอดเวลา
โดยที่ผ่านมาในการต่อสู้คดีที่ศาลปกครองขอนแก่น
ชาวบ้านก็พากันไป ใครมีรถนำรถไป ชาวบ้านก็ช่วยกันร่วมลงขันค่าน้ำมันช่วยเหลือและให้กำลังใจกันด้วยดีตลอดมา
หากมีการกลับมาของโรงโม่อีกเมื่อไร ก็พร้อมจะเดินทางกลับบ้านไปคัดค้านทันที่ ลูกหลานพี่น้องที่ทำงานอยู่ด้วยกัน
ถ้าติดงานไปไม่ได้ก็จะช่วยกันลงขันช่วยเงินสมทบค่ารถค่าเดินทาง ช่วยกันสิบบาท
ซาวบาท ร้อยบาทก็ยินดี" เป็นเสียงยืนยันจาก แม่สอน คำแจ่ม แกนนำ
แม่บ้านของกำนันทองม้วน คำแจ่มผู้นำการต่อสู้ที่ถูกลอบยิงตายเมื่อปี2542
พ่อสมพงษ์ ชินแสง ประธานชมรมอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ และทีมงานภูมิปัญญาชาวบ้าน
ต่างยังคงรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนและติดตามสถานการณ์ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ใช้การปรึกษาหารือและกำหนดบทบาทตามความถนัดและความสามารถ พ่อสมพงษ์ ชินแสงจะเป็นหลักในเรื่องการต่อสู้คดีในศาลปกครอง
การประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาทนายความ กรรมการสิทธิฯ และเป็นตัวแทนหรือผู้นำชาวบ้านออกไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานด้านการอนุรักษ์ในพื้นที่ต่างๆ
ชุมชนบ้านผาซ่อน บ้านโชคชัย และชุมชนที่ร่วมกันดูแลป่าภูผาดงมะไฟ ได้ยกระดับสำนึกรักและห่วงแหนภูผาป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติขึ้นสู่การพัฒนา
เป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยชุมชนมีส่วนร่วมกับการจัดทำหลักสูตรนี้
และหลักสูตรนี้จะมีเรื่องราวที่ถ่ายทอดสำนึกรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไปยังเยาวชนลูกหลานรุ่นต่อๆไป
สอดคล้องกับงานศึกษาเผยแพร่โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในเอกสารโครงการเด็กกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน ของชมรมอนุรักษ์น้อยภูผายา
ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการของอนุรักษ์ภูผายา
โรงเรียนบ้านนาไร่ ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ว่า อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอำเภอเล็กๆ
ในจังหวัดเล็กๆแต่มีจุดเด่นคือเป็นอำเภอที่มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่ สมบูรณ์ในพื้นที่มีป่าชุมชน
อาทิ ป่าชุมชนโคกผายา ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่ ป่าชุมชนผาจันได ชุมชนได้ประโยชน์จากการ
เก็บหน่อไม้ และเห็ดจากป่า แต่ขาดการดูแลป่าอย่างจริงจัง จึงทำให้มีเอกชนพยายามเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ /ชมรม เด็กนักอนุรักษ์น้อยภูผายา
ได้ถูกสร้างและหล่อหลอมแนวคิดด้านการอนุรักษ์ เด็กๆได้เรียนรู้และเริ่มสั่งสมต้นทุนประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมด้านการ
อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศในพื้นที่ป่าชุมชน ปีพ.ศ.2546 องค์กรแพลนประเทศไทย(องค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศ) ได้เข้ามาชักชวนเด็กและครูทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์
แต่ทำกิจกรรมได้เพียงปีเดียวก็ออกไป ปี2547เมื่อผู้เกี่ยว ข้องทุกฝ่ายตกลงใจอยากทำงานต่อสมาคมพัฒนาชนบทอีสานจึง
ขอทุน สสส.
การประเมินผลและผลกระทบของโครงการพบว่า
เด็กมีการพัฒนาวิธีคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เด็กมีความมั่นใจและภูมิใจ
กล้าเป็นผู้นำ เด็กเยาวชนมีจิตใจเป็นอาสาสมัครต้องการเข้าร่วมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและระบบนิเวศของชุมชน
มีเด็กได้อาสาสมัครเข้ามาทำงานเป็นชมรมชัดเจน 16 คน โรงเรียนเริ่มเปิดพื้นที่ โรงเรียนเห็นความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมให้ครูและเด็กเข้าร่วมกิจกรรม
ของโครงการ/มีการกำหนดหลักสูตรเนื้อหาการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องระบบนิเวศป่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพืช/ชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของป่าการดูแลและใช้ประโยชน์ อย่างรักษาเริ่มมีจิตสำนึกในการเฝ้าระวังป่าในพื้นที่บ้านตนเองมากขึ้น/พ่อ
แม่ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนกิจกรรมของเด็กมากขึ้น
จุดแข็ง เด็กที่มีความสนใจและได้รับการปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่องจาก
ในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนเด็กมีความกระตือรือร้นสนใจที่จะเข้าร่วม เป็นเจ้าของโครงการร่วมคิดและสร้างสรรค์กิจกรรม /ผู้ประสานงาน ประภาพร
มีใจมุ่งมั่น อดทน เสียสละ ทุ่มเท /ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำเต็มที่/การเชื่อมประสานความร่วมมือกับเครือ
ข่ายหน่วยงานผู้นำพื้นที่-อาศัยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นแกนนำที่เข้มแข็งเป็นที่ เชื่อถือเป็นผู้ประสานงานขอความร่วมมือ
อุปสรรคคือ โครงการยังขาดกลไกพี่เลี้ยงที่จะสนับสนุน/จัดการให้การเกิดชมรมอย่างยั่งยืน
เมื่อประภาพรซึ่งเป็นผู้ประสานงานและประสานของบประมาณจากแหล่งทุนออกไปจาก พื้นที่
/การทำงานขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากคณะกรรมการชมรมเด็กย้ายโรงเรียนออกไปนอกชุมชน หรือโรงเรียนไม่สนับสนุนให้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน/ความไม่เข้าใจภายในชุมชน
คณะครูและผู้นำชุมชนคาดหวังให้เด็กทำได้หลายอย่าง เช่นกล้าพูดกล้าแสดงออก ทำให้เด็กที่ไม่พร้อมไม่กล้าเข้าร่วมกิจกรรม
และผู้บริหารโรงเรียนบางแห่งไม่ เข้าใจเรื่องการทำกิจกรรมนอกระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน/ภายในชุมชนมีผู้
มีอิทธิพลระดับผู้นำที่ลักลอบตัดไม้เพื่อแปรรูปขาย ทำให้เด็กทำกิจกรรมได้ลำบาก
รวมทั้งขาดงบประมาณสำหรับกิจกรรมที่ไม่ได้วางแผนไว้ ล่วงหน้า ทำให้ขาดงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการ
และประสานงาน
งานศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นประเด็นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้านกับสถาบันการศึกษาก็คือโรงเรียนที่มองเห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชนว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต
ในขณะเดียวกันกับที่กลุ่มอนุรักษ์ภูผาป่าไม้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องของการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในชุมชน
โดยเชื่อมโยงกับโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกในช่วงที่ศาลมีคำสั่งให้บริษัทเหมืองแร่ระงับกิจกรรมต่างๆจนกว่าศาลปกครองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ก็มีความพยายามของกลุ่มบริษัทเหมืองแร่ในการเคลื่อนไหวและดำเนินคดีความกับชาวบ้านที่ต่อต้าน
ดังเช่นที่ปรากฏในบทความ ความอยุติธรรมในสังคมอีสาน จากจดหมายข่าวคนฮักถิ่น
ปีที่7
ฉบับปรับโฉม เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 ได้ให้รายละเอียดชาวบ้านต่อสู้ค้านโรงโม่หิน
จังหวัดหนองบัวลำภูถูกนายทุนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งติดคุก ๑ ปี ไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่20
กรกฎาคม 2554 ว่าแต่เดิมบริเวณภูผายา ผาโขง
เคยเป็นพื้นที่สีแดงการต่อสู้ของ" สหาย"เขตงานภูซาง และมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์
4,000 ปี เป็นแหล่งน้ำซึมซับต้นน้ำ และป่าชุมชน ของชาวบ้าน
ล้อมรอบภูผา ที่สวยงาม คือแหล่งทำนาของชาวบ้านในพื้นที่ สปก. แต่ปีพ.ศ. 2536
ได้มีการขอประทานบัตรภูผายา ผาโขง โดยกลุ่มทุนที่ถือว่ามีอิทธิพลและใกล้ชิดนักการเมือง
เมื่อชาวบ้านเริ่มรวบรวมรายชื่อคัดค้าน ไม่กี่วันแกนนำผู้รวมรายชื่อถูกลอบยิงเสียชีวิต
และประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรม ทำให้ชาวบ้านกว่า 1,700
คน ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ภูผาป่าไม้ แสดงท่าทีคัดค้านอีก และวันที่ 20มกราคม พ.ศ.2542 มีประกาศเรื่องการขอประทานบัตร ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคัดค้านภายใน
20 วัน นายสมพงษ์
ชินแสง ประธาน ชมรมฯ และชาวบ้านยื่น
รายชื่อคัดค้านทันในเวลากำหนด โดยมีหนังสือคัดค้านลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 แต่ทางราชการอ้างว่าไม่มีการคัดค้าน
จึงอนุญาตให้ดำเนินการต่อ ชาวบ้านจึงชุมนุมหน้าศาลากลาง เดือนมีนาคม กำนันทองม้วน
คำแจ่ม เป็นประธาน อบต.ดงมะไฟขณะนั้น ได้คัดค้านการให้ประทานบัตร แม้สมาชิกอบต. ส่วนใหญ่จะเห็นชอบ
22 เมษายน ไม่กี่วันหลังไปยื่นคัดค้าน กำนันทองม้วน
แกนนำคนสำคัญก็ถูกลอบยิงโดยที่จับตัวคนร้ายไม่ได้
ต่อมากลุ่มชาวบ้านได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)และคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภา
(สว.) ว่าการออกประทานบัตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชน จะได้รับความเดือดร้อนจากฝุ่น และเสียงทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร
และแหล่งโบราณคดี อีกทั้งยังไม่มีการมี ส่วนร่วมของประชาชนและการประชาพิจารณ์ จึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลเพิกถอนประทานบัตรต่อมามีเหตุเพลิงไหม้ใน
พื้นที่ประทานบัตร กลุ่มทุนฟ้องกลับชาวบ้านทันที 12 คน ในคดีวางเพลิงทั้งที่จุดเกิดเหตุเป็นเพียงเพิงพักเล็กๆ
และยังไม่ได้ปลูกสร้างอะไร ชาวบ้านใช้เงินประกันตัว คนละเกือบสองแสนบาท อาจารย์ 10
กว่าคนจากหลายโรงเรียนมาช่วยประกันตัว ซึ่งศาลชั้นต้นยกฟ้อง
แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำคุก 6 คนระยะเวลา 1 ปี
6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำคุก 1
ปี ไม่รอลงอาญาชาวบ้าน 2คน ได้แก่ นายเอกชัย ศรีพุทธา และนายสุพัฒน์ ถมทองวิจิตร
อีก 4 คน ยกฟ้อง ขณะที่ 2 ปีที่แล้วศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำพิพากษาเรื่องประทานบัตรโรงโม่หินที่ศาลปกครอง
กลางให้เพิกถอนประทานบัตรแต่อย่างใด
สอดคล้องกับ บทความ เรื่อง อดีต กก.สิทธิฯชี้กระบวนการยุติธรรมลักหลั่น
ชาวบ้านค้าน“เหมืองหินผาจันได” ติดคุก เขียนโดย ธิดามนต์ พิมพาชัย
ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน วันที่ 22
กรกฎาคม 2554 ในบทความอ้างถึงคำกล่าวของคุณ
สุนีย์ ไชยรส อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้สะท้อนถึงปัญหาจากกระบวนการยุติธรรมกรณีการต่อสู้ของชาวบ้านคัดค้าน
เหมืองหินผาจันได ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุกโดยไม่รอลงอาญา
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ว่า “กรณีดังกล่าวเป็นการต่อสู้ของชาวบ้าน ครูและพระสงฆ์ ที่ร่วมกันปกป้องทรัพยากรท้องถิ่น
สะท้อนการกระทำกลุ่มทุนที่เอาเปรียบ ปิดบังข้อเท็จจริงและใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือสกัดการต่อสู้ของ
ชาวบ้านที่มีมือเปล่า และไม่มีค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี”
งานชิ้นดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นความพยายามของชาวบ้าในการต่อสู้ในช่วงแรกด้วยการใช้เครื่องมือทางกฎหมายรูปแบบต่างๆเช่นยื่นหนังสือกับหน่วยงานต่างๆ
การฟ้องศาลปกครองหรือแม้แต่การถวายฎีกาต่อในหลวง และการขยายพันธมิตรของการต่อสู้
เช่นสมัชชาคนจน สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสานและเครือข่ายที่ได้รีบความเดือดร้อนจากโครงการเหมืองแร่อื่นๆ
รวมถึงการใช้สื่อสาธารณะต่างๆในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวของประชาชนในเรื่องของสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
หลักสิทธิมนุษยชนและเรื่องสิทธิทางกฎหมายรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่จะเข้ามาจัดการในเรื่องของคดีความที่ชาวบ้านที่ถูกฟ้องร้องโดยรัฐและกลุ่มทุนซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่า
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มองค์กรนี้ยังมีน้อยทั้งที่ได้มีการต่อสู้เคลื่อนไหวมากว่า
10
ปี งานศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เป็นขององค์กรพัฒนาเอกชน
มากกว่าของกลุ่มประเด็นปัญหาที่ศึกษางานวิจัยด้วยตัวเอง
อันเนื่องมาจากการต่อสู้ในประเด็นร้อนในพื้นที่ที่ชาวบ้านจะต้องเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบัติการมากกว่าเชิงวิชาการ
ที่ชาวบ้านยังมีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญในระเบียบวิธีการวิจัยศึกษาที่จำกัด
รวมทั้งไม่มีสถาบันการศึกษาในท้องที่
ที่จะเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว
ทำให้งานศึกษาที่รวบรวมได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาของการต่อสู้ที่ยาวนาน
แม้แต่งานวิทยานิพันธ์ที่ศึกษาในประเด็นนี้ยังไม่พบ
ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะเรื่องของพื้นที่ กลุ่มผู้มีอิทธิพลและการเข้าถึงพื้นที่
ทำให้ยากสำหรับการเข้าไปศึกษา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น