ภาษาจึงเป็นสิ่งที่นิยามและจัดวางกฎเกณฑ์ให้กับตัวมันเอง
รวมทั้งการสร้างความจริงในตัวมันเอง
และการเป็นตัวแทนที่บรรจุความสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับตัวมันเอง
ที่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่มีความหมาย
จนกระทั่งสิ่งเหล่านี้มารวมตัวกันภายในขอบเขตชุมชนของมัน
ภาษาจึงเป็นระบบที่พึ่งพากันระหว่างชุดคำ
ที่ซึ่งความหมายและคุณค่าของสิ่งหนึ่งเป็นผลลัพธ์จากความสัมพันธ์ที่แตกต่างของชุดคำอื่นที่อยู่ในโครงสร้าง
การปรากฎของสิ่งหนึ่งจึงมาจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ปรากฎ หรือการดำรงอยู่การเป็นอยู่
ของมัน โดยที่สิ่งอื่นไม่ได้เป็น
ความหมายของสิ่งหนึ่งจึงไม่ได้ดำรงอยู่ในเนื้อแท้ของมัน และไม่ได้มีนัยในเชิงบวก
แค่ค่อนข้างจะเป็นความสัมพันธ์ในเชิงลบ
ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายระหว่างเขาและชุดคำอื่นๆภายในโครงสร้าง
สัญญะจึงเป็นเหมือนหน่วยเสียง(Phonemes) ที่แตกต่างหลากหลาย
ซึ่งคุณค่าความหมายของมัน มาจากความสัมพันธ์ในความแตกต่างตรงกันข้าม ที่จำแนก
แบ่งแยก จัดประเภท
สัญญะหนึ่งจากสัญญะอื่นๆ ที่ประกอบสร้างความหมายของมัน
ซึ่งสะท้อนให้เห็นจุดเน้นที่สำคัญของโซซูร์ ในเรื่องของความคิด รูปแบบ กฎเกณฑ์ (Form)
มากกว่าเนื้อหาสาระ(Content) การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์และการดำรงอยู่ของความคิดในความหมาย
ที่เชื่อมโยงและเน้นย้ำถึงการมีอยู่เบื้องต้นในความคิดของผู้พูด เกี่ยวกับภาษา
ความคิดเป็นจินตนาการทางจิตใจเกี่ยวกับวัตถุที่แท้จริงบางอย่าง ผ่านทางน้ำเสียง
คำพูด ดังเช่นเขาพูดถึงเรื่องแนวคิด คำศัพท์ของต้นไม้ ม้า (Tree, Horse) จินตภาพแห่งเสียง(Sound Image) ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปแบบของเสียง
คำพูดที่แท้จริง เมื่อเราออกเสียงคำศัพท์
ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับวัตถุ แต่มันเป็นเรื่องของภาพประทับ
จินตนาการที่กดประทับทางจิตวิทยา ซึ่งพึ่งพาอยู่บนความรู้สึกเข้าใจของเรา
การศึกษาทางภาษาจึงเป็นการศึกษาลักษณะทางความคิดของมนุษย์
ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจินตภาพแห่งเสียงและความคิด
ที่เป็นเรื่องของสัญญะอันเป็นพื้นฐานของหน่วยทางภาษาศาสตร์(Kistevs:1989,P.33
Saussre :1966,P.66 และSharpman:2000)
ความสัมพันธ์ในทางลบ(Negative)ที่เป็นเรื่องของความแตกต่างตรงกันข้าม ดังเช่น ที่โซซูร์ได้นิยามสัญญะ
ว่า เป็นสิ่งที่กำหนด พิจารณาความแตกต่างตรงกันข้ามของสัญญะทั้งหมดในระบบของสัญญะ(อ้างจาก Hugh J.Silverman:1994) สัญญะของต้นไม้จึงเป็นสัญญะของต้นไม้
โดยความแตกต่างจากสัญยะอื่นๆ เช่น บ้าน (House) นก (Bird ) และท้องฟ้า (Sky) สัญญะของต้นไม้ ก็แตกต่างกันในรูปสัญญะ Arbre ,Baum.Arbor และArbol สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างจากระบบสัญญะอื่นๆ เช่น arbre
ในฝรั่งเศส Baum ในภาษาเยอรมัน Arbol ในภาษาสเปน
เพราะว่าพวกเขาไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบสัญญะเดียวกัน
พวกเขาเป็นสัญญะหนึ่งเท่านั้นในลักษณะทางสัญญะทางภาษาที่เฉพาะของพวกเขา
ที่นำไปสู่การเลือกใช้พวกเขาของปัจเจกบุคคลในการพูด (Parole) ภายในบริบทและช่วงเวลาที่แน่นอนที่สามารถกำหนดได้
นี่คือ
กฎเกณฑฑ์ที่นำไปสู่ความคิดเรื่อง Syntagm
และParadigm ในความคิดเกี่ยวกับรื่องของกระแสความหรือการเชื่อมต่อ กับแนวคิดเกี่ยวกับการทดแทน แทนที่ สวมรอย
และการคัดเลือก โดยกระบวนชุดของการเชื่อมต่อ (Syntagm) เป็นเสมือนการจัดเรียงคำในประโยค
ที่มีความต่อเนื่องของหน่วยทางภาษาที่เรียงกันในแนวราบ ในชุดของความสัมพันธ์
ระหว่าง ประธาน กริยา กรรม เช่น เขากินข้าว
ในขณะที่ความสัมพันธ์ในกระบวนชุดของการแทนที่
คัดเลือก หรือทดแทน (Paradigm) เป็นความสัมพันธ์ของหน่วยทางภาษาหนึ่งกับหน่วยอื่นๆ
ที่สามารถแทนที่ในตำแหน่งเดียวกันได้ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง เช่น
เขากินข้าว เธอดื่มน้ำผลไม้ เราชิมขนม ในชุดของประธาน ประกอบด้วย เขา เธอ และเรา
ในชุดของกริยา กิน ดื่มและชิม ในชุดของกรรม
คือ ข้าว น้ำผลไม้และขนม ที่สามารถใช้แทนกันได้ในความสัมพันธ์ของประโยค
เช่น เขาดื่มน้ำผลไม้ เขากินน้ำผลไม้
หรือเขาชิมน้ำผลไม้ เป็นต้น
mat
bat
I bought my hat in an
antique store.
cat
rat
hotel
shed
hut
Mr. Su lives in a house.
apartment
mansion
palace
ความคิดดังกล่าวคล้ายคลึงกับแนวคิดในวิธีการศึกษาภาษาศาสตร์
2 แบบ
แบบแรกคือการศึกษาแนวนิรุกติศาสตร์(Philology) หรือการศึกษาเชิงรากเหง้า
วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของภาษา ซึ่งเป็นการศึกษาในแนวตั้งหรือระนาบที่ต่างกัน
ที่โซซูร์ เรียกว่า Diachrony ความสัมพันธ์ในเชิงข้ามเวลา แบบที่สอง เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง
ที่ปราศจากมิติทางด้านเวลา และเป็นความสัมพันธ์ในระนาบเดียวกัน เรียกว่า Synchrony หรือเป็นความสัมพันธ์เชิงร่วมเวลา โดยที่โซซูร์ไม่ได้สนใจกับการศึกษา
แบบวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดที่เฉพาะของภาษาหนึ่ง
แต่เขาสนใจศึกษาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปของภาษา
โดยไม่คำนึกถึงมิติเงื่อนไขด้านเวลาเพื่อดูโครงสร้าง
ระบบการทำงานในกระบวนการทางภาษา โดยให้ความสนใจกับการแยกศึกษาวิวัฒนาการ
ที่เป็นเรื่องของการใช้ภาษา กับโครงสร้างพื้นฐานทางภาษา
ที่เป็นเรื่องของระบบกฎเกณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
การที่เราจะเข้าใจความหมายหรือรหัสทางวัฒนธรรม
เราจะต้องเข้าใจระบบโครงสร้างของมันก่อน
เราถึงจะสามารถถอดรหัสหรือตีความหมายของมันได้
แม้ว่าโซซูร์ จะให้ความสำคัญกับระบบภายในภาษา
และความคิด ระบบ แบบแผนและกฎเกณฑ์ ที่เขาเรียกว่า “Langue”
แต่ก็เป็นเพียงคำจำกัดความด้านหนึ่งของหน่วยทางภาษาศาสตร์เท่านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์เชิงเดี่ยวในการอธิบาย
และเขาค่อนข้างโต้แย้งกับการปราศจากการอ้างอิงกับหน้าที่ทางสังคมของภาษา
ดังนั้นภาษาไม่เคยอยู่อย่างแยกเป็นชิ้นจากความจริงทางสังคม มันเป็นธรรมชาติของสังคม
ที่เป็นส่วนหนึ่งของลักษณะภายใน ที่เป็นการติดต่อสื่อสารของปัจเจกบุคคล ที่สัมพันธ์กับเรื่องของเสียง
และกฎเกณฑ์ที่อยู่ในระดับของความสำนึกรู้ทางจิตวิทยา หรือแนวคิด
ซึ่งเป็นเรื่องของสัญญะ
อันเป็นกระบวนการใส่รหัส(Encoding) และถอดรหัส(Decoding)
ในกระบวนการติดต่อสื่อสาร
ที่มีการแบ่งปันและใช้ร่วมกันในชุมชนของผู้พูดภาษา การวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางสังคม
จึงเป็นการศึกษาที่เคลื่อนย้ายจากระดับของความสำนึกรู้(Conscious) ไปยังการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานระดับล่างของความไร้สำนึก(Unconscious
infrastructure)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น