ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โควิดกับมุมมองของนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นักมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาการแพทย์ทำอะไรภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว? ผมคิดสิ่งที่นักมานุษยวิทยาทำ และผมในฐานะนักมานุษยวิทยาควรทำคือการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ผ่านการสังเกต การเข้าไปมีประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม การเขียนอธิบายพรรณนาข้อมูลจากสนาม ทั้งประสบการณ์ ทัศนะ มุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ แสวงหาวิธีที่จะนำข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในสถานการณ์เหล่านี้มาเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจและเสนอมุมมองต่อปัญหาดังกล่าว

การระบาดใหญ่ของCovid 19 ทั่วโลกและการระบาดจะเป็นระลอก 3 ระลอก 4 ของสังคมไทย ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม การใช้ชีวิต อารมณ์ความรู้สึก ความหวาดกลัว ที่เกี่ยวโยงกับสภาวะของการสูญเสียคนที่รัก สูญเสียวิถีชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคมบางอย่าง การทำงานแบบเดิม การใช้ชีวิตที่เคยอยู่อย่างอิสระ ความเสี่ยงในการทำงานการใช้ชีวิตและความรู้สึกถึงปลอดภัยของตัวเอง รวมถึงการแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่หลากหลายในการจัดการกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทั้งในแง่ของภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาสากล รวมถึงการมองลงไปในประสบการณ์ การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนต่อความเจ็บป่วย การฉีดวัคซีน การรังเกียจทางสังคมและอื่นๆ ผลกระทบของเชื้อโรคไม่ได้เข้าไปโจมตีหรือกระทำต่อร่างกายมนุษย์เท่านั้นแต่กำลังโจมตีสังคมของเราให้อ่อนแอลงไปด้วย มุมมองของผมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 4 มีดังนี้
1. ความไม่สามารถจัดการกับชีวิตส่วนบุคคลได้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยและความเป็นความตายจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความคาดหวังต่อบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยรักษาชีวิตของพวกเขาที่นอกเหนือการควบคุมได้ เช่น ยา วัคซีน เครื่องช่วยหายใจ เตียงผู้ป่วย ระบบส่งต่อ รวมถึงกระบวนการทางอำนาจในการตัดสินใจต่อเรื่องเร่งด่วนของชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างถูกต้องเหมาะสม ที่สำคัญก็คือ ประเด็นในเรื่องของมนุษยธรรมที่เชื่อมโยงกับตลาดเสรีทางการแพทย์ (Free Market Medical) โดยเชื่อมโยงกับประเด็นความเร่งด่วนฉุกเฉินทางแพทย์ที่ต้องคำนึงถึงชีวิตมนุษย์และมนุษยธรรม ดังนั้นระบบเสรีนิยมใหม่ไม่ได้ทำให้เห็นสิ่งเหล่านี้ แต่เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับธุรกิจและการระบาดที่เพิ่มขึ้น ภายใต้เรื่องของการค้าภายใต้ทรัพย์สินทางปัญญาของวัคซีนที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายและการตายที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้คนในภูมิภาคต่างๆของโลก
2. การมองประเด็นทางสุขภาพเชื่อมโยงกับมิติต่างๆอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นคำถามที่ท้าทายและสำคัญคือ “ความเสี่ยงและความรุนแรงของโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เพิ่มมากขึ้น” การมองประเด็นที่เฉพาะที่เชื่อมโยงกับการระบาด การเข้าถึงบริการสุขภาพ การเข้าถึงวัคซีน การจัดการการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มแรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน กลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง ผู้สูงอายุ ผู้หญิงและเด็กและอื่นๆ รวมถึงการใช้อำนาจของผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องและนโยบายด้านสาธารณสุขที่ไม่มีประสิทธิภาพ ที่สร้างเส้นแบ่ง หรือตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรมในทางสังคมและสุขภาพ
3.ผมมองว่าในปัจจุบันความเข้าใจชีววิทยาของไวรัสมันนำไปสู่การหลอมรวมหรือการรับรู้ทางการเมืองของผู้คนเพิ่มมากขึ้น ทั้งประเด็นของความไม่เท่าเทียมกัน ความอยุติธรรม การแบ่งแยก ความขัดแย้งแตกแยก ที่สะท้อนผลกระทบชองการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ไม่ใช่ทางชีววิทยาแต่เป็นผลกระทบทางสังคมด้วย ดังนั้นความขัดแย้งทางสังคม และความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้นจากสภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้เห็นสิ่งที่เรียกว่าความไม่ยุติธรรมทางสังคม ที่สร้างความสิ้นหวังให้กับผู้คนในสังคม ภายใต้กระบวนการสร้างระยะห่างทางสังคมและความเสี่ยงในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันเราจะเห็นด้านของความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือกันในชุมชน ทั้งการแจ้งข่าว การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การจัดหาโรงพยาบาล จัดหาเตียง การดูแลเรื่องอาหารการกินให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เป็นต้น ในด้านหนึ่งก็สะท้อนความเข้มแข็งขององค์กรทางสังคมและความอ่อนแอของภาครัฐในปัจจุบัน
4. จากกรณีประเทศไทย เช่นเดียวกับการศึกษาวิจัยหรือตัวอย่างในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเช่น ในอเมริกาใต้ บราซิล เม็กซิโก ชี้ให้เห็นว่า ภาวะผู้นำที่ไม่ดีส่งผลในการตอบสนองต่อการระบาดขนาดใหญ่ อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพรวมทั้งความอ่อนแอในทางแศรษฐกิจ ล้วนส่งผลต่อภาวการณ์ระบาดที่รุนแรง ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวคงต้องมองสุขภาพที่ไม่ใช่เรื่องของเชื้อโรค ยา วัคซีน เพียงอย่างเดียว แต่เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจและการเมืองด้วย ทั้งในแง่ของผู้คนที่ติดเชื้อโควิด หรือผู้คนที่ไม่ได้ติดเชื้อแต่ใช้ชีวิตในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 การแสดงความช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐไม่ใช่การผลักภาระให้ประชาชน ที่ผู้มีอำนาจจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นจาก 4 ข้อ ล้วนเชื่อมโยงกับการมองปัญหาอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดมันไม่สามารถแก้ได้เพียงมิติเดียว แต่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน มองปัญหาทางสุขภาพเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆการเชื่อมโยงกับมิติในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมวัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ด้วยมุมมองว่า “โรคมันเป็นของโลก” ที่ต้องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ โลกาภิวิวัตน์ การท่องเที่ยว การอพยพข้ามแดน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับกลไกลสำคัญในการดูและสุขภาพที่เป็นคนหน้าด่าน แพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ รพสต. เจ้าหน้าที่อสม.ในชุมชนที่รับคนกลับบ้านและต้องดูแลผู้ป่วยในชุมชน คนเหล่านี้ควรเข้าถึงวัคซีนและสร้างภูมิคุ้นกันให้ตัวเองในการดูแลคนอื่น
สิ่งหนึ่งที่ผมคิดมาตลอดก็คือ การแก้ปัญหาไวรัสโควิด 19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ต้องแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วย ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของปัญหา ประเทศจะดีและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐหรือผู้มีอำนาจ จะต้องไม่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้คนในสังคม รัฐต้องไม่รวบอำนาจ รัฐที่ไม่ผลักภาระให้กับประชาชน รัฐที่ไม่ทำลายความเป็นประชาธิปไตย หรือสร้างความขัดแย้งแตกแยก รัฐที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน รัฐที่มีผู้นำที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ รัฐที่เข้าใจบริบททางสังคมวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหา
***ปัญหาวิกฤตการณ์โควิด 19 คงจะแก้ไม่ได้หากทุกคนไม่ร่วมมือกันฝ่าฟัน ความรู้จากทุกศาสตร์ จะต้องถูกนำมาใช้การแก้ปัญหาสุขภาพอย่างเดียวโดยไม่แก้ไขเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรมไปพร้อมกันคงไม่ได้ ที่จะช่วยเติมเต็มและให้ภาพของการแก้ไขปัญหาที่สมบูรณ์
***โลกและสังคมไทย ยังมีความหวังและผมในฐานะนักเรียนมานุษยวิทยา นักเรียนสังคมศาสตร์สุขภาพเชื่อมั่นเสมอถึงความเท่าเทียมและความยุติธรรมทางสังคมในมิติทางสุขภาพ การให้คุณค่าคนและการมองทุกคนอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ และเชื่อว่าปัญหาทางสุขภาพตอนนี้ต้องแก้ที่การเมืองสำคัญที่สุด การให้ประชาชนก่นด่าเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาไม่ใช่ทางแก้ที่ดี แต่ต้องเกิดจากจิตสำนึกและความรับผิดชอบด้วยตัวเองของผู้มีอำนาจ..ประชาชนส่วนหนึ่งเขาดูแลตัวเองได้ ซื้อหน้ากากเอง ซื้อเจลเอง พยายามหาวัคซีนเอง ยังพอมีเงินในการดำรงชีวิต. แต่นั่นไม่ใช่ทุกคน.. ดังนั้นรัฐก็ควรสนับสนุนหรือช่วยเหลือประชาชนที่หลากหลายแตกต่างให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียม


ร.ต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...