ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มานุษยวิทยาจากบ้าน ความท้าทายในช่วงโควิด โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

เช้าวันอาทิตย์นั่งเตริยมการสอน อ่านบทความเรื่อง Anthropology From Home : Advice on Digital Ethnography เช้าวันอาทิตย์นั่งเตริยมการสอน อ่านบทความเรื่อง Anthropology From Home : Advice on Digital Ethnography for the Pandemic Times ของ Magdalena Goralska  นักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์ มีความน่าสนใจในการบรรยายถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากของนักมานุษยวิทยาในการทำงานในช่วงสถานการณ์การระบาด บทความชิ้นนี้ทำให้เห็นสภาวะของอารมณ์ความรู้สึก การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานสนาม จากEthnography สู่ APPnography ที่ให้อารมณ์ ความรู้สึก ข้อเสนอแนะ และเครื่องมือในการทำงานสนามในช่วงโควิดของนักมานุษยวิทยาดิจิทัล

 สำหรับผู้เขียนบทความชิ้นนี้ในฐานะนักมานุษยวิทยาดิจิดัลที่ทำงานศึกษาด้านสุขภาพ ชี้ว่าผลกระทบของโควิดส่งผลกระทบต่อการทำงานภาคสนามที่จะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว... แต่ไม่ใช่ว่านักมานุษยวิทยาทุกคนจะพบว่าตนเองต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ทั้งในการใช้ชีวิตส่วนตัวและในการทำงานทางวิชาชีพ งานภาคสนามที่เลื่อนออกไป ขยายเวลา หรือแม้แต่ยกเลิกที่หมายถึงการสูญเสียทางการเงินจากค่าใช้จ่ายภาคสนามที่ไม่สามารถขอคืนได้หรือไม่ได้วางแผนเอาไว้ และอาจหมายถึงการตกงานเสียด้วยซ้ำ ด้วยความไม่มั่นใจว่าโลกหลังโรคระบาดจะมีลักษณะอย่างไร และรวมถึงการทำงานดิจิทัล เมื่อการ 'โพสต์' ได้เริ่มต้นขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์หรือการขอเก็บข้อมูลทางออนไลน์ นักชาติพันธุ์วิทยาหลายคนถูกทิ้งให้รอ โดยไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและจะต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงใดเพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องและกลับไปทำงานในแบบเดิมได้ในอนาคต

         เนื่องจากงานชาติพันธุ์วิทยาดิจิทัลถือเป็นหนทางเดียวในข้อจำกัดของการแพร่ระบาดนี้ ภายใต้คำว่า 'มานุษยวิทยาจากบ้าน'  สถานการณ์ของการระบาดใหญ่ทำให้ชีวิตของผู้คนกลับหัวกลับหาง ไม่เพียงแต่การส่งผลกระทบหรืออันตรายต่อสุขภาพในเรื่องความเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคม การทำงานและสถานการณ์ทางการเงินด้วย แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสจะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ ประสบการณ์ใหม่ที่ส่งผ่านระหว่างรุ่นต่อรุ่นจริงหรือไม่ บางคนคาดการณ์ว่ามันจะเป็นอย่างนั้น หลายสิ่งหลายอย่างจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน 

           ในฐานะนักมานุษยวิทยา ดูเหมือนว่าพวกเราจะมีความเหมาะสมอย่างมากเช่นเดียวกับนักสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่จะศึกษาและเก็บข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับโรคระบาดนี้ บางคนอาจกล่าวว่าถือเป็นจรรยาบรรณทางวิชาการของพวกเราในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและมีส่วนทำให้เกิดความเข้าใจถึงผลที่ตามมาอย่างกว้างขวาง แต่ในสถานการณ์นี้ เราไม่ได้ยืนอยู่บนโอกาสที่เคยมีมาก่อนในการเก็บข้อมูล การบันทึกและการวิเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์ที่เราศึกษา ภายใต้ระเบียบวิธีการวิจัยของเราที่เคยทำมา... คำถามคือ แล้วทำไมเราถึงไม่ควรออนไลน์และทำชาติพันธุ์วิทยาดิจิทัล เนื่องจากมีคนจำนวนมากติดอยู่ที่บ้านเหมือนเรา นั่นคือจุดเริ่มต้นของการทำสนามที่บ้าน..

    นักมานุษยวิทยา นักชาติพันธุ์วิทยา นักขาติพันธุ์วรรณนา ไม่ใช่ทุกคนที่ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด บางคนพบว่าตัวเองไม่สามารถสร้างสรรค์งานได้ในช่วงล็อกดาวน์ แม้ว่าหรืออาจเป็นเพราะสัปดาห์ที่กำลังผ่านไป บางคนมีลูกเล็กหรือพ่อแม่ที่อายุมากกว่าที่ต้องดูแล บางส่วนหยุดชะงักในกิจกรรมภาคสนาม ไม่สามารถดำเนินการวิจัยได้ พวกเขาต้องอยู่คนเดียว เนื่องจากพวกเขาไม่มีความสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ใกล้ชิดพอที่จะขอความช่วยเหลือหรือสร้างความเป็นเพื่อนจากพวกเขาได้ บางคนต้องเผชิญกับการเป็นปรปักษ์เมื่อความแปลกปลอมเริ่มที่จะสร้างความกลัวว่าเป็นแหล่งหรือพาหะของโรค เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะกลัวและรู้สึกสับสนเหมือนคนอื่นๆ ผลที่ตามมาจากปรากฏการณ์ coronavirus ที่ระบาดทั่วโลกจะยังคงดำรงอยู่กับเราในทุกพื้นที่ ไม่ว่างานภาคสนามของเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม  ปัญหาที่นักมานุษยวิทยาต้องเจอคือการปรับตัวกับสนามที่ซับซ้อนมากขึ้น ดังเช่น สิ่งที่ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ บรรยายว่า

       “เมื่อดวงอาทิตย์สาดส่องบนหน้าจอแล็ปท็อปของฉันที่ดับไปนานแล้ว ฉันนั่งตัวแข็งบนโซฟาในห้องนั่งเล่นเป็นเวลาสามชั่วโมงติดต่อกัน ถูกสะกดจิตด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นทางออนไลน์ ร่างกายของฉันเริ่มแข็งทื่อไม่สบาย ฉันหมกมุ่นอยู่กับโทรศัพท์มากเกินไป ฉันกำลังติดตามการสนทนาบน Facebook เกี่ยวกับการใช้การฉีดยาวิตามิน ฉันถ่ายภาพและบันทึกย่อ มันเป็นงานภาคสนามของฉัน แต่ผู้สังเกตการณ์ที่ไม่รู้ตัวอาจจะคิดว่าฉันก็แค่เสียเวลาก่อนนอนเหมือนกับที่มนุษย์คนอื่นๆ ซึ่งมักจะทำในช่วงเวลานี้ของวัน ช่วงค่ำมีบทบาทอย่างเด่นชัดในการวิจัยของฉันเกี่ยวกับกลุ่มคนที่ให้คำแนะนำด้านสุขภาพบน Facebook ของโปแลนด์ เวลาว่างของผู้อื่นเป็นช่วงเวลาที่ยุ่งที่สุดสำหรับฉัน เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มจะโพสต์คำถามระหว่างทางกลับบ้านหรือหลังจากนั้น เมื่อลูกๆ ของพวกเขาผล็อยหลับไปแล้วที่จะทำให้พวกเขาก็มีเวลาคิด เวลาพูด ...ไม่ใช่แค่ในตอนเย็นเท่านั้นที่เห็นฉันใช้เวลากับการใช้ใบหน้าจ้องมองลงไปที่โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฉันต้องทำงานภาคสนามตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน นั่นคือ ถ้าฉันไปตามลิงก์ที่ทำให้ฉันเดินทางทันเวลาไปยังที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อื่นซึ่งประชากรบางสังคมยังไม่เข้านอนหรือตื่นนอนกันแล้ว ในอดีตฉันก็มักจะเน้นย้ำเสมอว่างานภาคสนามของฉันยังรวมถึงการไปในที่ต่างๆ และการพบปะผู้คนด้วย เช่น การพบปะพวกเขาจริงๆ ทางร่างกาย  การคุยกัน จับมือกัน การสัมผัสกันและอื่น ๆ แต่ในตอนนี้ความจริงก็คือ ฉันกำลังเลื่อนดู Facebook และท่องเว็บเพื่อทำงานภาคสนามส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเครือข่ายและเป็นแบบปลายเปิด และฉันไม่จำเป็นต้องพบกับผู้ให้สัมภาษณ์ของฉันทางร่างกายอีกต่อไป” (Magdalena Goralska,2013  )

        คำถามสำคัญคือมานุษยวิทยาหลังการระบาดของโรคจะเป็นอย่างไร ภายใต้แนวคิดเรื่องการ 'อยู่ในสนาม' ดูเหมือนจะเป็นประเด็นสำคัญเริ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบ สำหรับนักชาติพันธุ์วรรณนา การไปสถานที่ต่างๆ (การเดินทาง) เพื่อพูดคุยกับผู้คน (มีส่วนร่วมในปฏิสัมพันธ์ทางสังคม) ไม่เพียงแต่ถูกมองว่ามีความสำคัญเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานสำคัญอีกด้วย แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของที่ตั้งในงานภาคสนามในสถานการณ์โควิดเป็นเพียงการปรับที่จำเป็น แต่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่ใหญ่ขึ้นซึ่งจะท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก กับประเด็นปัญหาในเรื่องการงานภาคสนามที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งเป็นการยากที่จะประเมินถึงข้อจำกัดใดในระยะยาวเกี่ยวกับการเดินทางในท้องถิ่น ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ที่ทำให้เรามีโอกาสค้นพบความสำคัญของงานที่เรียกว่า “มานุษยวิทยาที่บ้าน” อีกครั้ง ในขณะที่ “การออนไลน์” ก็เป็น “การเดินทางท่องโลก” เพื่อทำงานภาคสนาม การทำ “มานุษยวิทยาจากที่บ้าน” และการยอมรับชาติพันธุ์วิทยาดิจิทัลควรเป็นทางเลือกที่จำเป็นและสำคัญ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...