ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หมอลำภายใต้วิถีใหม่: มหรสพบนพื้นที่ออนไลน์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 หมอลำภายใต้วิถีใหม่: มหรสพบนพื้นที่ออนไลน์***

ภายใต้สถานการณ์โควิด หลายคนเครียด หลายคนตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก แต่ในความยากลำบากนั้น ชีวิตของผู้คนก็ยังต้องดำเนินต่อไป การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในอาชีพคือสิ่งสำคัญที่สุด อย่างเช่นหมอลำ ศิลปะพื้นบ้านของภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในช่วงเทศกาลสำคัญ การม่วนหน้าฮ้าน เต้นรำ ฟ้อนรำ คงไม่สามารถทำได้ในช่วงสถานการณ์โควิด การปรับตัวจากพื้นที่ออฟไลน์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ไปสู่พื้นที่ออนไลน์ ที่เรียกว่า “ลำเพลินออนไลน์” จึงเป็นกลยุทธ์ของการแก้ปัญหาและเอาตัวรอดที่สำคัญ ของวงสาวน้อยเพชรบ้านแพง ที่มีหนุ่มโจ ยมนิล เป็นผู้บริหารหรือหัวหน้าวง เพื่อดูแลชีวิตของสมาชิกในวงในช่วงที่ว่างงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดมินิคอนเสิร์ต การจัดรายการแมวล่าพาเพลิน การเล่นตลก และการจัดคอนเสิร์ตเต็มวงผ่านออนไลน์ ที่มีศิลปินภาคอีสานที่มีชื่อเสียง หรือเครือข่ายหมอลำผลัเปลี่ยนกันมาให้ความบันเทิวและเสียงหัวเราะของผู้ชมในวิกฤตแบบนี้
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของหมอลำเพลินคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงคือ การรู้จักใช้โลกเขี่ยลให้เป็นประโยชน์ ด้วยการสร้างเพจ สาวน้อยเพชรบ้านแพงแฟนเพจที่มีคนติดตามเกือบ 1 ล้านคน การมีช่องยูทูปที่ชื่อว่า สาวน้อยเพชรบ้านแพง ลำเพลิน official ที่มีคนติดตามมากกว่า 1 ล้านคน การจัดการแสดงหมอลำออนไลน์ ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “มาลัยออนไลน์” “ขายตั๋วออนไลน์” การเกิดผู้สับสนุนหรือสปอนเซอร์สนับสนุนช่วงต่างๆของรายการ ที่มีป้ายโฆษณาหรือจอทีวียักษ์บนเวทีโฆษณาสินค้าต่างๆมากมายไปพร้อมการแสดงด้วย
ในขณะเดียวกันการสร้างฐานแฟนคลับจากกลุ่มใหญ่ ของคณะหมอลำ ขยายลงไปสู่กลุ่มทีมงานรายย่อยๆ ที่สร้างฐานผู้ชมที่ชื่นชอบและสนับสนุนผลงานของทีมงานแต่ละคน เปลี่ยนแปลงจากคำว่า”มิตรหมอแคนแฟนหมอลำ” “พ่อยกแม่ยกหมอลำ” เข้ามาสู่สิ่งที่เรียกว่า “แฟนคลับ” หรือ FC ที่เชื่อมโยงกับตัวผู้แสดงและผู้ชม ที่มีปฎิสัมพันธ์กัน ที่เคลื่อนจากเวทีออฟไลน์โลดแล่นเข้าสู่โลกออนไลน์
คำว่าหมอลำยูทูบเบอร์ คือสิ่งที่พูดได้อย่างเต็มปาก การเปิดช่องยูทูปให้กับศิลปินของคณะบำเพลินสาวน้อยเพชรบ้านแพง ไม่ว่าจะเป็น คอนวอย หางเครื่อง ตลก หมอลำ ที่สร้างจำนวนยอดของการกดไลน์ กดแชร์ การมีโฆษณาเข้า ภายใต้ นามสกุลของช่อง ที่ลงท้ายว่าลำเพลิน official เช่น ยายแหลมลำเพลินออฟฟิคเชี่ยล ยายจื้นลำเพลินออฟฟิคเชี่ยล เขมกมลชัย ลำเพลินออฟฟิคเชี่ยล หรือแอนอรดีลำเพลินออหฟิคเชี่ยล เป็นต้น ที่มีการปล่อยคลิปทุกสัปดาห์ มีไลฟ์สด ถ่ายทอดหมอลำออนไลน์ มีการทำเพลง ปล่อยเพลงใหม่ ของค่ายเพลง ลำเพลินอินดี้เรดคอร์ด เป็นต้น
การปรับตัวช่วงโควิด ผ่านการใช้พื้นที่Social network
มีการถ่ายทอดความรู้สู่เครือข่ายหมอลำ ทำให้หมอลำต่างๆมีช่องของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเสียงอีสาน หมอลำนามวิหค ระเบียบวาทะศิลป์ เป็นต้น รวมทั้งการแสดงที่เปลี่ยนจากแค่เรื่องงานบุญ งานบวช งานรื่นเริงประจำปี ผ้าป่ากฐิน ไปจนถึงเปิดวิกที่ต่างจังหวัด ไปจนถึงการแสดงที่เมืองนอก ตามร้านอาหารไทยไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมัน และอื่นๆ การไปแสดงในร้าน อาหาร ในผับตอนกลางคืน แล้วแต่เจ้าภาพจะจ้าง ที่ทำให้พื้นที่ของหมอลำขยายไปสู่ชนชั้นต่างๆในสังคมมากขึ้น
หมอลำในสมัยก่อน นำเสนอผลงานผ่านกระบวนการถ่ายหน้าเวที ถ่ายบันทึกการแสดงสดลงวีดีโอซีดี แต่ไม่มีใครเห็นวิถีชีวิตเบื้องหลัง กินนอนยังไง ซ้อมยังไง นอนที่ไหน อาบน้ำเข้าห้องน้ำยังไง เดินทางยังไง ตั้งเวทียังไง เวลา ไม่ได้แสดงหมอลำไปทำมาหากินอะไร เข่น ทำบั้งไฟแข่ง หาปลา ปลูกมัน เลี้ยงวัว ขายอาหารและอื่นๆ ทำให้มี content มี story นำเสนอที่หลากหลายและต่อเนื่อง และทำให้คนรู้เรื่องราวมากขึ้น ทุกคนในวงถ่ายเอง ไลฟ์สดเอง มีแฟนคลับของตัวเองทั้งในและต่างประเทศ
รวมทั้งการแตกตัวทางธุรกิจอื่นๆที่ขยายจากการแสดงหมอลำเพลินอย่างเดียวมาสู่การขายสินค้า กาแฟสะเดิด ครีมทาหน้า แบะอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับฐานของแฟนคลับ
ปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนแปลงไปมาก สถานการณ์หรือภาวะวิกฤต อาจปิดโอกาสของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจสร้างโอกาสให้กับคนอีกหลายๆคน หรือการเตอบโตของกิจกรรทางธุรกิจบันเทิงหลายอย่าง ทำให้ผมนึกถึงงานวิจัยที่ตัวเองเคยทำกับอาจารย์พัฒนา กิตติอาษา และอาจารย์สุริยา สมุทคุปติ์ และทีมงานอื่นๆ ในเรื่องหมอลำซิ่ง ที่แตกต่างจากหมอลำในยุคปัจจุบัน ที่ขับเคลื่อนไปกับโลกของโซเชี่ยลมีเดีย ผู้นที่มีปฎิสัมพันธ์กับนพื้นที่ออนไลน์ ที่ไม่ใช่แค่ขอเพลง แต่นำเสนอหรือแนะนำเนื้อหา content ที่อยากให้ทำ แนะนำการแสดงบนเวที และอื่นๆ เพื่อพัฒนาและสืบสานผศิลปะพื้นบ้านรวมทั้งสร้างความสุขให้กับผู้ชมในสถานการณ์โควิด
“ข่อยติดตามเบิ่งเจ้าอยู่เด้อ พอได้หัวนำหมู่เจ้าอยู่ ช่องหมู่เจ้าให้ข่อยคลายเครียดทุกมื้อ”
จากผมเอฟซีคนหนึ่ง...




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...