ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่าด้วยเรื่องอำนาจ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ทำไมพวกเราต้องการอำนาจ และ..

ทำไมพวกเราจึงต้องกลัวอำนาจ

อำนาจมันเข้าไปจัดวางแนวทางในชีวิตส่วนตัวและชีวิตสาธารณะของเราอย่างไร

หนังสือเล่มนี้สำรวจธรรมเนียมปฎิบัติดั้งเดิมและสังคมร่วมสมัยเกี่ยวกับบทบาทของอำนาจในลักษณะที่เป็นการยินยอม(consenting) เช่น การตกลงปลงใจในการแต่งงาน อำนาจที่เป็นธรรมชาติ(natural)  เข่น พ่อแม่กับลูกในการอบรมเลี้ยงดู และอำนาจที่ไม่ได้ยอมรับอย่างสมัครใจ(involuntary) แต่ต้องมาสัมพันธ์กันภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง เช่น การเป็นนายจ้างลูกจ้างในระบบการจ้างงานเป็นต้น

   หนังสือเล่มนี้เปิดเผยให้เห็นอำนาจที่หลากหลาย ทั้งระบบชายเป็นใหญ่(patriarchy) และการมีอิสระหรือปกครองตัวเอง (autonomy)

Sennett Richard ได้สำรวจสายสัมพันธ์ที่ผู้คนขบถต่อผู้มีอำนาจที่กำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆในสังคม โดยแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งต่างๆในประวัตืศาสตร์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและความขัดแย้งที่มีการแสดงออกในสำนักงาน ในโรงงานและในรัฐบาล ตลอดจนในระดับครอบครัว ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นอย่างไร โดยใช้ตัวอย่างจากงานทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และวรรณคดี เขาจึงคาดการณ์อย่างชัดเจนว่า พวกเราจะฟื้นฟูบทบาทของผู้มีอำนาจตามอุดมคติที่ดีและมีเหตุผลได้อย่างไร

    นอกจากนี้เขาแสดงให้เห็นว่าความต้องการอำนาจสำหรับพวกเรา มีไม่น้อยกว่าความต้องการอยากต่อต้านอำนาจ อีกทั้งอำนาจยังได้รับการหล่อหลอม ที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตลอดจนลักษณะจิตใจ นิสัยของมนุษย์

  ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ช่วยให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างอำนาจในลักษณะที่เป็น Authority กับ Power โดยเฉพาะอำนาจกับสิ่งที่จำเป็นต่อการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง สมมติว่าคุณได้รับอำนาจจากตำแหน่ง แต่กลับไม่ได้ถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจในตำแหน่งนั้นอย่างแท้จริง (เช่น คุณไม่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหรือคุณไม่มีประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนั้น) หรือในทางกลับกัน คุณอาจมีความเชี่ยวชาญและความรู้ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งหน้าที่นั้น แต่ตำแหน่งนั้นไม่ได้สร้างให้คุณมีอำนาจที่เพียงพอหรือมีทักษะอื่นๆที่ช่วยเติมเต็มตำแหน่งหรือรับรองการใช้อำนาจในตำแหน่งนั้นได้อย่างเต็มที่ (ขาดความสามารถพิเศษ การสร้างความจูงใจหรือแรงโน้มน้าว หรือขาดทักษะในการสื่อสาร หรือ แบ่งแยกอำนาจไปยังตำแหน่งอื่น) หนังสือเล่มนี้จึงน่าสนใจมากในการมองภาวะของผู้นำในสังคมร่วมสมัย

  ขอเวลา...จิบกาแฟ อ่านหนังสือนี้อย่างละเมียดละไมในยามว่างๆ.. เสียดายอย่างเดียวที่ไม่มีสถานที่ช่วยให้การอ่านมีอรรถรสตามพวกนิยมแนวโรแมนติก และลัทธิสายลมแสงแดดอย่างผม..น้ำตก ทะเล ภูเขา ป่าไม้..ผมเป็นแค่คนคนหนึ่งที่มีความสุขกับการจับหินก้อนเล็กไม่ได้อยากยกภูเขาทั้งลูก..



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...