ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาพสนามเมืองจำปาสัก สปป.ลาว ความทรงจำที่มีค่า โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ปี2559 ผมเดินทางไป สปป.ลาว ข้ามจากด่านช่องเม็กเข้าสู่เขตปากเซ ไปสู่เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ด้วยอากาศที่หนาวเย็นทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งกาแฟ ที่รวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมประเพณี เส้นทางที่ยาวไกล ทุรกันดาร สุขศาลาหลังเล็ก ชีวิตของชนเผ่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทั้งละเว็นหรือยะรุ ยะเหิน ตะโอย ผู้ไท ที่มีการผสมผสานแต่งงานกัน รวมถึงอิทธิพลทางศาสนาที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อในการดำรงชีวิต สนามหนึ่งที่ท้าทายทุกอย่าง..

ประสบการณ์การทำงานภาคสนามชาติพันธุ์กับประเด็น สุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์....ผมไปอยู่ที่บ้านห้วยเต่าเป็นบ้าน ที่อยู่ในเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มบ้านที่3 โดยกลุ่มบ้านที่3 มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านคดใหญ่ บ้านห้วยเต่า บ้านหนองบอน บ้านหนองกา บ้านใหม่ไชยสมบูรณ์ บ้านพูดินอ่อน บ้านผักกูด โดยลักษณะของเส้นทางคมนาคมสู่หมู่บ้านเป็นสวนและไร่สลับกับบ้านเรือน โดยพืชส่วนใหญ่จะปลูกกาแฟเป็นหลัก นอกนั้นก็จะมีการปลูกมันสำปะหลังหรือข้าวโพดบ้างแต่เป็นส่วนน้อย ....
เส้นทางการเดินทางไปมาระหว่างหมู่บ้านค่อนข้างยากลำบาก เพราะถนนเป็นดินสลับหินภูเขา หินลูกรังสีแดง บางแห่งถูกฝนมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ และมีลักษณะเป็นเนินขึ้นลงสูงต่ำตลอดเส้นทาง บางแห่งค่อนข้างสูงชันและคดเคี้ยวมาก ทำให้ในฤดูฝนเข้าหมู่บ้านได้ค่อนข้างลำบาก ในชุมชนต่างๆ จะมีวัดประจำชุมชน บางชุมชนจะมีโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ เช่น โรงเรียนบ้านหนองบอน โรงเรียนบ้านพูดินอ่อน เป็นต้น...
ในอดีตบ้านห้วยเต่า มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้หนาแน่น มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขนาดสองสามคนโอบขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากเช่น สัก เต็ง รัง ประดู่และจำปาลาว รวมทั้งมีสัตว์ป่าจำพวก ช้าง หมี หมูป่า เสือ มีการใช้ช้างและม้า เป็นพาหนะในการเดินทาง คนที่เข้ามาอยู่ช่วงแรกคือชนเผ่าละเว็น เข้ามาอยู่ประมาณปีค.ศ. 1923-1924 ช่วงนั้นมีประมาณแค่ 20-30 ครัวเรือน ก่อนที่จะมีการอพยพโยกย้ายเข้ามาโดยกลุ่มลาวลุ่มและชาติพันธุ์ต่างๆ มีการผสมผสานแต่งงานกันระหว่างกลุ่มต่างๆ การถือครองที่ดินในสมัยก่อนจะใช้การหักร้างถางพง ตามแต่ว่าใครจะมีความสามารถในการจับจองที่ดินได้มากน้อยแตกต่างกัน ....
ประวัติศาสตร์ของชุมชนที่นี่สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับคนภายนอก สงคราม อุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย การช่วยเหลือของจีนและเวียดนาม รวมทั้งการเข้ามาของทหารต่างชาติ มีความสัมพันธ์กับการเติบโตของธุรกิจที่นี่ เช่น การปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะกาแฟที่ถูกนำมาเผยแพร่โดยคนอเมริกันในช่วงสงคราม ทดแทนการปลูกข้าวไร่เพื่อบริโภคของคนบนที่สูงที่กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกาแฟชั้นดีระดับโลก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นเขาและอยู่ในเขตที่ราบโบโลเวน (ความหมายเดิมคือพื้นที่ที่มีคนเผ่าละเวนอาศัยอยู่หรือคนลาวเรียกว่าบ่อนละเวน)ที่มีอากาศหนาวเย็นและฝนตกชุก ทำให้เหมาะแก่การผลิตกาแฟชั้นดี ระหว่างอยู่ในชุมชนจะเห็นลาวลุ่มและกลุ่มชาติพันธุ์ขมุเข้ามาทำเป็นแรงงานรับจ้างในชุมชนกันมาก ซึ่งจะรับงานเป็นช่วง เช่นดายหญ้า ใส่ปุ๋ย เก็บเม็ดกาแฟ เป็นต้น.....
ชุมชนห้วยเต่าจะประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ลาวลุ่ม ที่อพยพมาจากทางลุ่ม อาทิเช่น บ้านบาเจียง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในขณะพื้นที่เมืองปากช่อง กลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมก็คือละเวนหรือยะรุซึ่งถือเป็นชนกลุ่มใหญ่สุด นอกจากนี้ก็มีชนเผ่าอ๊องที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มมลาบรีหรือผีตองเหลือง และชนเผ่าตะโอ๊ย ชนเผ่าเหล่านี้แต่เดิมมีการนับถือผี แต่ในปัจจุบันมีการหันมานับถือพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์กันมากขึ้น มีเพียงคนรุ่นพ่อแม่ที่อายุเกิน 60 ปีบางคนที่ยังรักษาฮีตคองเดิมคือการนับถือผี ไม่เข้าวัด ยังคงมีการสังเวยเซ่นสรวงผีด้วยวัว ควาย หมูหรือไก่ต่อสิ่งที่เหนือธรรมชาติ รวมทั้งมีการแต่งงานระหว่างกลุ่มชนเผ่า ทำให้ความเชื่อดั้งเดิมลดน้อยลงไปจากในอดีต ....
****ประสบการณ์ดีที่ครั้งหนึ่งได้ไปใช้ชีวิต เรียนรู้วัฒนธรรมในช่วงเดือนนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว และไปอยู่หลายเดือน.. ทำให้อยากเขียนเรื่องชุมชนนี้เพื่อย้ำเตือนความทรงจำกับงานวิจัยดีๆที่ได้รับโอกาสให้ท้าทายทำงานสนามที่ยากมากในการเก็บข้อมูลในสปป.ลาว....มีโอกาสอยากไปอีกสักครั้ง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...