ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มานุษยวิทยาทัศนา : ภาพถ่ายจากมุมมองของผู้ถ่าย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยทำโครงการกับโรงเรียนและชุมชนหลายโครงการ..

โครงการหนึ่งคือ มานุษยวิทยาทัศนา ที่พวกเราไปทำกิจกรรมมานุษยวิทยาผ่านสื่อสายตาที่ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านป่าหมาก อำเภอสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์ โดยให้เด็กในชุุมชนถ่ายรูปสิ่งที่ตัวเอง คิด เห็น สนใจและ อยากนำเสนอเกี่ยวกับตัวเอง ครอบครัวและชุมชนของตัวเอง โดยการให้กล้องถ่ายรูปแบบฟิล์มที่จำกัดจำนวนภาพ หลังจากนั้นก็ให้เด็กเลือกภาพที่ตัวเองอยากนำเสนอ จากภาพที่ถ่ายทั้งหมด เลือกมาและจัดนิทรรศการในชุมชน
ผมจำได้ว่านิทรรศการนี้จัดบริเวณทางเดินที่มีแม่น้ำลำธารกั้น มีสะพานไม้ไผ่พาดผ่าน พวกเราใช้เส้นเชือกขึงแล้วเอาภาพที่ล้างออกมาติด ให้คนในชุมชนที่เดินไปไร่นา มาซักผ้าอาบน้ำที่ลำห้วยได้ดูและชุม สุดท้ายเรากลับไปจัดนิมทรรศการที่กรุงเทพฯ และนำครูตชด.และเด็กกะเหรี่ยงมาบอกเล่าเรื่องราวถ่ายทอดให้คนเมืองฟัง พวกเราไปรับและไปส่งเด็กๆในชุมชนที่ไกลมาก ทั้งขึ้นเขาลงห้วย... ชุมชนที่นี่ ทุ่มหนึ่งจะมืดไปหมด พวกเราอาจารย์ นักศึกษานอนเต็นท์กลางลานจอดเฮลิคอปเตอร์ นั่งดูดาวกัน คุยกัน ท้องฟ้าดวงดาวดูใกล้กับพวกเรามาก ฟังเสียงนกและสัตว์ (มานุษยวิทยาโรแมนติก) ...ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์
ในวันและช่วงเวลานั้นจำได้ว่าภาควิชาฯเหลือคนน้อยมาก เพราะเป็นช่วงที่อาจารย์ไปเรียนต่อป.เอกกันเยอะมาก เหลืออาจารย์ในภาค เพียง 5 คนเท่านั้นเองที่เวียนกันสอนคนละอย่างต่ำ 3-4 วิชา แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องทำตามภาระกิจ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการ
ปล. ภาพทั้งหมดคือ ภาพที่เด็กๆถ่าย ซึ่งบ่งบอกตัวตนและความคิดของพวกเขา ทั้งในแง่วิถีชีวิต การทำไร่ ครอบครัวของพวกเขา ความทันสมัยที่เริ่มเข้ามา ทีวีเครื่องเดียวที่ใช้แบตเตอร์รี่เป็นพลังงาน ทุกคนมารวมกัน สัตว์เลี้ยงของพวกเขาหมูป่า อาชีพเสริม หาน้ำผึ้ง งานจักสาน ทอผ้า ความเชื่อ และอื่นๆ ฝีมือไม่เบาเลย นักถ่ายรูปสมัครเล่น...


































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...