ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มุมมองทางมานุษยวิทยากับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ญหาทุกอย่างจะแก้ไขได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หากรู้สาเหตุ เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและออกแบบเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ลดความยุ่งยากหรือระบบที่ทำให้การทำงานแก้ไขปัญหาล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน หรือ คนไร้บ้านที่เกิดจากภาวะติดเชื้อโควิด 19 เพราะไม่มีที่ให้พักรักษาตัวอยู่บ้านก็กลัวสมาชิกในบ้านจะติดกับตัวเอง ครั้นจะไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ไม่มีเตียงรักษา บางคนออกไปนอนนอกหมู่บ้าน ปลูกเพิงอยู่ริมคลอง บางคนถูกไล่ออกจากงาน บางคนเร่ร่อนหลับนอนริมถนน สวนสาธารณะ ป้ายรถเมล ใต้สะพานลอยและอื่นๆ
เมื่อเกิดการเสียชีวิตในพื้นที่สาธารณะ.. ปัญหาและองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะความตายของผู้คนมันถูกจัดการและยึดโยงกับระบบกฏหมาย การตายนอกเคหะสถาน ตายผิดธรรมชาติ ตายโดยถูกทำให้ตาย ตายเพราะโรคระบาด ฆ่าตัวตายและอื่นๆ ต้องมีผู้มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ชันสูตร นิติวิทยาศาสตร์ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตามระบบกฏหมายอาญาที่กำหนดวิธีปฎิบัติต่อการตายที่ผิดธรรมชาติ
การเคลื่อนย้ายศพไปเพื่อขันสูตรศพการตาย จึงเป็นอำนาจของตำรวจสืบสวน หาใช่เพียงเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาต่างๆที่จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันที่รวดเร็ว
ประเด็นสำคัญคือความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ต่างๆซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่นับเรื่องการรับวัคซีนที่มีคุณภาพ การมีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้เสียชีวิตที่คาดว่าจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด19 รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการจัดการศพ ที้งผ้าห่อศพ โลงศพ ถุงมือ ชุดป้องกัน ยาฆ่าเชื้อและอื่นๆ ที่เป็นต้นทุนทางการแพทย์
ภาพของคนที่เสียขีวิตข้างถนน ที่รอเจ้าหน้าที่เป็นระยะเวลายาวนานกว้าจะเคลื่อนย้ายศพได้ พร้อมไปกับบรรดาคนที่มุงดู ถ่ายคลิป คือสิ่งที่เกิดขึ้นชุกมากในหน้าสื่อ แต่มันคือสิ่งที่น่าจะต้องคิดพิจารณาให้ชัดเจน รอบด้าน โดยเฉพาะการมีกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนแบบไม่จำเป็น และไม่สอดรับกับสถานการณ์ที่ฉุกเฉินและมีมาตรการระดับเข้มข้นสูงสุด
***เดี๋ยวรายวิชาที่สอนเทอมนี้ ผมจะพยามให้นักศึกษาทำงานและคลิปที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในมิติต่างๆ ทางสังคมวัฒนธรรมออกมา เท่าที่เป็นไปได้ เพื่อนำเสนอปัญหาในมิติของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม
Cr.ภาพจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ มติชน และข่าวสด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...