ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มองปรัชญาของLevinas ใบหน้าการใส่หน้ากากในช่วงโควิด โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล




 ความเจริญงอกงามของชุมชน ต้องการปัจเจกบุคคลที่เคารพกับสิทธิเสรีภาพของคนอื่นแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้พวกเขาเข้าใจและกระทำสิ่งต่างๆบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและความรับผิดชอบต่อจึงเป็นเช่นเดียวกับความซื่อตรงการจัดการยุติธรรมและคุณค่าของการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

สิ่งที่น่าสนใจในศตวรรษที่ 20 เกี่ยวกับคำอธิบายในเรื่องของความรับผิดชอบถูกพบในงานของนักปรัชญาฝรั่งเศสที่ชื่อเอ็มมานูเอ็ล เลวีนาส Emmanuel Levinasสำหรับเขาใบหน้าคือสิ่งพื้นฐานเริ่มต้น(the face is primary) ที่จัดวางความรับผิดชอบในใบหน้า และเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในแง่สิทธิของตัวเอง(own right) ในขณะเดียวกันประเด็นดังกล่าวนี้ก็นำมาซึ่งเสียงสะท้อนและการถกเถียงในช่วงการระบาดของโรคเมื่อผู้คนจะต้องสวมใส่หน้ากากก่อนที่จะเข้าไปในพื้นที่สาธารณะ

       Levinas เกิดในประเทศลิธัวเนีย ในช่วงปีช่วงปี 1906 และครอบครัวของเขาได้รับผลกระทบจากภาวะไร้ที่อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศสและเยอรมัน และได้ตีพิมพ์งานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับนักปรัชญาที่ชื่อHusserl ในปี 1930 และเขาได้กลายเป็นพลเมืองของประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี 1939  เขาเข้าร่วมกับกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและถูกจับไปเป็นเฉลยและใช้ชีวิตในคุกของค่ายทหารในช่วงสงครามหลังสิ้นสุดสงครามเขาทำงานทางด้านการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสรวมทั้งมหาวิลัยปารีส

เขาพัฒนาแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์และความรับผิดชอบ ภายใต้ความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นจากการเผชิญหน้าแบบ Face to face

    Levinas มองว่าความเป็นหนึ่งเดียวทางจริยธรรมที่อยู่เหนือภววิทยา(ธรรมชาติของสิ่งที่ถูกรู้เป็นสิ่งที่จะต้องถูกต้องตามลักษณะ ใบหน้าของอีกฝ่าย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงหรือความเป็นอื่นของอีกฝ่ายตามที่ใบหน้า หมายถึงใบหน้าเป็นสิ่งที่เรายอมรับก่อนที่จะใช้เหตุผลในการตัดสินหรือความเชื่อเกี่ยวกับตัวของเขา 

  เขาเสนอว่าใบหน้าคือสถานที่ที่เราจะพบกับความเปราะบางของคนอื่น อย่างเช่นอันตรายการถูกคุกคาม หรือการละทิ้งทอดทิ้งคนอื่นกับความทุกข์ทรมานของพวกเขา เมื่ิเรามองหน้าผู้อื่นเราก็จะพบความแรารถนาของคนอื่นๆใบหน้าจึงเป็นเสมือนที่ทำให้เกิดคำถามและคำตอบ ที่สร้างความสนใจ ความใส่ใจในชีวิตของคนอื่น และสร้างความรู้สึกที่เราจะต้องรับผิดชอบ(Responsibility) ต่อชีวิตของเขา ดังเช่น ความรักที่เชื่อมโยงกับหน้าตาและการใช้ร่างกายในการมีปฎิสัมพันธ์และความต้องการเข้าไปมีส่วนในชีวิตของคนคนนั้นในแง่ของความรับผิดชอบ นี่คือทัศนะเกี่ยวกับความรักแบบLevinas ดังนั้นชีวิตของมนุษย์ล้วนเกี่ยวข้องและเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของคนอื่น ที่สร้างความรู้สึกและรับผิดชอบต่อชีวิตคนอื่นเช่นเดียวกับการยอมรับในใบหน้าของคนอื่น

   Levinas โต้แย้งว่ามันไม่ใช่การละเมิดเกี่ยวกับสิทธิเบื้องต้นแต่มันเกี่ยวโยงกับการตัดสินพิจารณาเกี่ยวกับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของคนอื่นดังเช่น ทหารรู้ว่าตัวพวกเขาต้องทำให้คุ้นชินกับการฆ่าที่มันสามารถช่วยทำให้มองเห็นศัตรูเช่นเดียวกับสิ่งที่ไร้ใบหน้า (faceless) โดยไม่ต้องมองว่าเขาเป็นผู้หญิง คนแก่หรือเด็ก วิธีการที่ดีที่สุดคือการมองไม่เห็นหรือลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

   เรื่องของใบหน้ามันกลายเป็นสิ่งที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของบุคคลและความรับผิดชอบในเชิงศีลธรรมที่จำเป็นจะต้องไม่ถูกลดทอนความสำคัญในปฏิสัมพันธ์แบบเห็นหน้าค่าตา(face time face)

ตัวอย่างคำอธิบายเกี่ยวกับอาชญากร การควบคุมความเสี่ยง การห้ามสวมหน้ากากหรือปกปิดใบหน้าเมื่อเข้าไปในธนาคารเพราะมันยากต่อการบ่งชี้หรือจดจำอัตลักษณ์ของบุคคล รวมถึงความพยายามซ่อนเร้นตัวเองและปกป้องตัวเองจากความรับผิดชอบในเชิงศีลธรรมของสังคม ดังนั้นตัวหน้ากากจึงไม่ใช่แค่วัตถุของการปกป้อง ปิดบังอำพรางแต่ยังทำหน้าที่เป็นเสมือนข้อความที่สื่อความหมายบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่งๆ และมีอำนาจในการชัดนำมห้เกิดข้อสงสัยในตัวบุคคล อารมณ์และคสามรู้สึกของคนคนนั้นที่ปิดบังใบหน้า

   การใส่หน้ากากในช่วงโควิดที่ทำให้เห็นเฉพาะดวงตา แต่ปิดจมูก คาง แก้ม ริมฝีปากที่จะสามารถจะลดทอนการเชื่อมโยงกับอายุ เชื้อชาติ เพศลงไปได้

การแพร่กระจายของการสวมหน้ากากสนับสนุนการโน้มน้าวทางสังคมมากกว่าและ ทำให้คนจะต้องระมัดระวังตัวเองพร้อมกับการกลัวคนอื่นๆไปพร้อมกัน ภายใต้สิ่งที่เรียกว่าความรับผิดชอบต่อคนอื่น

   การลดทอนของการปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภายใต้การรักษาระยะห่าง ทำให้ การเจอกันพบกันในพื้นที่ออนไลน์และปฎิบัติการของการสวมหน้ากาก ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นในช่วงของสุานการณ์โควิด แม้ว่าเราจำเป็นต้องเห็นหน้าของบุคคลอื่นในความสัมพันธ์แบบปกติ แต่ในสถานการณ์พิเศษ การปกปิดบาส่วนของใบหน้า ภายใต้การละบาดคือการลดทอนความเสี่ยงและเป็นความรับผิดชอบของสังคม นี่คือสิ่งที่เราวามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์และถกเถียงกับปรัชญาของLevinas ได้

หากไม่มีพระเจ้าที่นำทางบอกเราว่าต้องทำอะไรเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอย่างไรจงมองไปที่ใบหน้าของอีกฝ่ายเมื่อคุณมองไปที่ใบหน้าของคนอื่นคุณจะเห็นบางอย่างที่คล้ายกับใบหน้าของคุณ นั่นคือคำตอบ

  บริบททางความคิดของLevinasเกี่ยวพันกับชีวิตในช่วงสงครามล้างเผ่าพันธ์ุ คนเริ่มต้งคำถามต่อพระเจ้า ในความโหดร้ายของสงคราม ที่ผู้คนเข่นฆ่ากันแบบไม่มองหน้ากัน ไม่มองไปที่ใบหน้า อารมณ์ความรู้สึก ความเป็นเชื้อชาติหากคุณมองเข้าไป คุณจะเห็นตัวคุณ ความเป็นมนุษย์ของเขาและคุณ  ใบหน้าของเขาและคุณในฐานะมนุษย์ คุณจะไม่เอาเปรียบขูดรีดและทำร้ายพวกเขา..ในปัจจุบันเราอาจต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ ที่เป็นคำตอบของสิ่ที่เรียกว่าความรับผิดชอบของสังคมภายใต้การใส่แมสค์หรือหน้ากากเพื่อป้องกันโควิด...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง