ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเพศ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวทางเพศ (Sexual Story Telling)

          Ken Plummer (1995) ให้ความสนใจกับภาวะความทันสมัย(modernity)และแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม โดยเน้นไปที่บทบาทที่สำคัญของเรื่องเล่าและคำบรรยายทางเพศ (sexual stories and narrative) ที่เกิดขึ้นในยุคทันสมัย(modern)และยุคสมัยใหม่ตอนปลาย(late modern) โดยชี้ให้เห็นบทบาทของเรื่องเล่าและวาทกรรมที่สร้างความเข้าใจและประสบการณ์ของผู้คนเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถี(Plumme,1995:12) ที่ได้สร้างแบบแผนเกี่ยวกับชีวิตทางเพศ (The patterns of sexual life) พร้อมๆกับสภาวะที่มนุษย์ได้กลายเป็นผู้เล่าเรื่อง(story-telling beings) อันนำไปสู่การสร้างเรื่องราวและสร้างโลกทางเพศของพวกเขา 

โดยเรื่องเล่าทางเพศ มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมและการเมือง โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตน (self) และอัตลักษณ์ (identity)ทางเพศที่หลากหลาย ได้สะท้อนศักยภาพและความสามารถในการต่อสู้ต่อรองและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางสังคมในเรื่องเพศ  

กระบวนการบอกเล่าหรือเล่าเรื่อง ได้ทำหน้าที่เปิดเผย และสร้างให้เกิดความหลากหลายต่างๆ ทั้งโครงการใหม่ (new project) สิทธิของประชาชนใหม่ (new constituencies) ความเป็นไปได้ใหม่สำหรับอนาคต (new possiblilities for the future) โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับโอกาสที่เป็นไปได้ของชีวิตมนุษย์ (human life chances) ที่เกี่ยวโยงกับอารมณ์และความเป็นประชาธิปไตยในเรื่องทางเพศ (emotional and sexual democracy) .....

ในงานของ Ken Plummer ใช้คำว่าพลเมืองของความผูกพัน ( Intimate citizenship) โดยมองว่าชีวิตของผู้คนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความผูกพันใกล้ชิด ทั้งในแง่ความปรารถนา ความพึงพอใจและปฎิบัติการในเรื่องเพศที่ดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ ได้สร้างให้เกิดพื้นที่ใหม่ ข้อถกเถียงใหม่และเรื่องราวใหม่ๆในเรื่องเพศ..... 

เรื่องเล่าทางเพศจะทำหน้าที่แนะนำเกี่ยวกับชีวิตใหม่ ครอบครัวใหม่ วิถีทางของการคิดใหม่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ร่างกาย การแสดงออกและอัตลักษณ์ทางเพศ รวมทั้งรูปแบบใหม่ของสิ่งที่เรียกว่าความอีโรติก  อีกทั้งสภาวะของเรื่องเล่าทางเพศ มีลักษณะที่ประสานสอดคล้องกลมกลืนและมีความขัดแย้งในตัวเอง ในทุกๆเรื่องเล่าใหม่ที่ถูกเล่านั้นจะสะท้อนให้เห็นการปะทะต่อสู้ระหว่างสิ่งใหม่ เรื่องเล่าใหม่กับสิ่งเก่าหรือเรื่องเล่าเก่าอยู่ตลอดเวลา เช่นเรื่องเล่าเกี่ยวกับร่างกายใหม่ (tales of new bodies)  เป็นสิ่งที่ต่อต้านกับค่านิยมแบบจารีตและความเป็นธรรมชาติ หรือเรื่องเล่าใหม่ของเพศวิถีส่งผลให้เกิดความเคร่งเครียดอย่างเข้มข้นกับมาตรฐานดั้งเดิมของเพศวิถี เป็นต้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการเมืองของเรื่องเล่า ( Plummer,2003:39)......

            สิ่งที่น่าสนใจคือการทำความเข้าใจเพศวิถีในปัจจุบัน จะต้องทำความเข้าใจบริบทที่มีความหลากหลายเนื่องจากการให้ความหมาย(meaning)เกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ถูกอธิบายไปยังเรื่องของความผูกพัน (intimacy) เรื่องของกามรมณ์ (Erotic) และความซับซ้อนของความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งให้ภาพของวัฒนธรรมอีโรติกของสังคมที่แตกต่าง (Jeffrey week ,2003:6) 

เพศวิถีจึงเป็นสิ่งที่ถูกจัดการและถูกทำให้เป็นเรื่องของวัฒนธรรมในวิถีที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ การสะท้อนเรื่องเล่าทางเพศ (Sexual Stories) สะท้อนให้เห็นการสร้างองค์ประธานในเรื่องเพศใหม่ (New sexual subject)ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

            สังคมสมัยใหม่สะท้อนเรื่องราวของเพศวิถีที่มีความหลากหลาย ทั้งการสร้างการมณ์ด้วยตนเอง(autoeroticism) ที่สัมพันธ์กับการเติบโตของธุรกิจหนังโป๊ สิ่งพิมพ์โป๊เปลือยต่างๆ รวมถึงธุรกิจ sex toy หรือแม้กระทั่งการเกิดขึ้นของ cybersex ผ่านการแชท ไลน์ การสนทนาในเรื่องเพศผ่านพื้นที่ออนไลน์ การเขียนประสบการณ์ความตื่นเต้น (excitement) และการผจญภัย (adventure)ในชีวิตทางเพศของตัวเอง รวมถึงการซื้อขายบริการทางเพศทางออนไลน์ หรือการใช้ mobile-eroticism ในกิจกรรมทางเพศเช่น เซ็กส์โฟน หรือการแชร์ภาพ กดไลค์ เขียนเล่าประสบการณ์ ส่งสติ๊กเกอร์ และแสดงอารมณ์ทางเพศวิถีผ่านพื้นที่เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมทั้งการเติบโตของเพศเชิงพาณิชย์(commercial sex) ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและปฎิบัติการทางเพศของผู้คนในสังคม

เรื่องของเพศวิถีที่ได้สร้างประสบการณ์ทั้งที่แท้จริง (authentic)และไม่จริง(unreal) กระแสของโพสต์โมเดิร์น เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับเพศวิถีในลักษณะของการเป็นผัสสะที่ล่องลอยอย่างอิสระ (free-floating sensation) ที่สามารถจะเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงได้อย่างง่ายดายกับเรื่องราว วัตถุ สสาร ร่างกาย กิจกรรมและอารมณ์ที่หลากหลาย (Bauman 1991:26) สิ่งเหล่านี้ได้สร้างให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆและเรื่องเล่าใหม่ๆในวิถีชีวิตของผู้คนเกี่ยวกับเรื่องของเพศวิถี ที่มีทางเลือก(choice) มีความหลากหลาย(variety) มีภาวะชั่วคราว(transient) นำไปสู่ความพึงพอใจของมนุษย์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา (renewable pleasure)

            เรื่องเล่าสมัยใหม่เกี่ยวกับเพศวิถี (Modern narrative of sexuality) วางอยู่บนความเป็นเหตุเป็นผล (causal) ความต่อเนื่องอย่างเป็นเส้นตรง (linear) ที่สร้างเรื่องของเซ็กส์เช่นเดียวกับความจริงที่ชัดเจน แน่นอนและตายตัวและรอการค้นพบอย่างง่ายดาย  (Plummer,1995:132) แต่สำหรับเรื่องเล่าแบบโพสต์โมเดิร์น (Postmodern narrative)  เรื่องของเพศวิถีจะถูกเชื่อมโยงสัมพันธ์กับความไม่แน่นอน (uncertainly)  ความซับซ้อน มีลักษณะของการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา มีลักษณะเป็นวิถีทางของความปรารถนา ความต้องการของตัวเอง  และเป็นการพึ่งพาอยู่บนการหยิบยืมอัตลักษณ์ ตัวตนจากสื่อต่างๆ ที่แสดงออกมาอย่างหลากหลายและใช้รูปแบบวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันในเรื่องของเพศวิถี


อ้างอิง

Plummer,Ken. (1995). Telling Sexual Storries, Power,Change and Social Worlds.London : Routedge.

 Plummer,Ken.    (2003). Intimate Citizenship. University of Washington Press.pp.192.


Week ,Jeffrey (2003). Sexualities and Society A reader .UK 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง