ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนะนำหนังสืออีโรติก ชาติพันธุ์ เศรษฐกิจ เพศวิถี เงิน...ในเคนย่า นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 หนังสือเรื่อง Ethno-erotic Economies: Sexuality, Money, and Belonging in Kenya (2020)

หนังสือเล่มนี้ George Paul Mieu เป็นผู้เขียนและพยายามทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงระหว่างชนบทกับเมือง ท้องถิ่นกับโลก ภายใต้วัฒนธรรมการท่องเที่ยว ความแปลกตาของคนตะวันตกกับโลกของชนพื้นเมืองในแอฟริกา การเชื่อมโยงของภัยแล้งในท้องถิ่น กับกระแสความวุ่นวายของการค้า การท่องเที่ยว ทุนนิยมในโลกที่ถาโถมเข้ามา..
ความเป็นนักรบของหมู่บ้าน Samburu ที่เรียกว่า moran ที่ทำหน้าที่และแสดงบทบาทของร้องเพลงเต้นรำในพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านคืองานแต่งงาน ทางภาคเหนือของประเทศเคนย่า โดยเด็กหนุ่มอายุ15-30ปี จะเข้าสู่พิธีMoran โดยจะต้องผ่านพิธีกรรมแรกรับโดยการขลิบปลายอวัยวะเพศเสียก่อน ที่จะเข้าสู่พิธีที่เรียกว่า Moran ในคำเรียกของชนเผ่ามาไซ (Maasai ) คำนี้แปลว่านักรบ (Warrior) ในช่วงเปลี่ยนผ่านพวกเขาจะถูกแยกให้อยู่รวมกันบริเวณพุ่มไม้ เพื่อซึมซับความเป็นชายและความเข้มแข็ง พร้อมไปกับการซึมซับประเพณีท้องถิ่น...
ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยว ทำให้เคนย่า เปิดรับกับการเติบโต ของการบริโภคความแปลกตาและน่าตื่นเต้นของชนพื้นเมืองทั้งในแง่การแต่งกาย การร้องเพลง การเต้นรำหรือการสู้รบ เด็กหนุ่มเหล่านี้เดินออกจากหมู่บ้านสู่เมือง จัดแสดงตามโรงแรม ผับหรือในบาร์บริเวณชายหาด เช่นเดียวกับชนพื้นเมืองเคนย่าอื่นๆ ที่เคลื่อนย้ายไปแสดงกายกรรมในสวนสัตว์ซาฟารีในซีกโลกต่างๆ
สิ่งที่น่าสนใจคือจินตนาการที่เปลี่ยนแปลง จากผู้ชายผิวขาว กับผู้หญิงแอฟริกันในช่วงยุคอาณานิคม มาสู่ผู้ชายพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์นักรบเผ่ามาไซในหมู่บ้าน Sambura ที่เป็นที่หลงใหลของบรรดาผู้หญิงผิวขาวตะวันตกในยุคหลังอาณานิคม ที่สร้างความสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน หลายคนได้แต่งงานกัน ซึ่งทำให้เห็นการปะทะกันของโลกกับท้องถิ่น การเติบโตของตลาดทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และเพศวิถี...
คนหนุ่มเหล่านี้ตั้งใจที่จะสร้างและบ่มเพาะจินตนาการทางร่างกายและเพศ เช่นเดียวกับผู้ชายแอฟริกันที่มีความเข้มแข็งในทางเพศ เพื่อดึงดูดใจผู้หญิงตะวันตก ในบางครั้งความสัมพันธ์ก็เกิดขึ้นชั่วคราวเพียงข้ามคืน ในขณะที่บางคนก็พัฒนาความสัมพันธ์ในระยะยาว....
งานนี้เด่นที่ให้ภาพวิถีขีวิตของคนชนบทเคนย่า ระบบการผลิต การเลี้ยงสัตว์ เพศสภาพ ระบบเครือญาติ พิธีกรรม อารมณ์เสน่หาผูกพันและแนวคิดเรื่องความชรา สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่นเมื่อคนหนุ่มเหล่านี้ จากการเก็บเกี่ยวความมั่งคั่งในเมือง กลับสู่ชนบทในฐานะเจ้าหนี้หรือนายทุนที่มีอำนาจเหนือคนอื่นในชุมชนและสร้างระบบอุปถัมภ์ พวกเขาใช้ทุนที่ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของตัวเองในท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงการตอบคำถามในประเด็น ของชาติพันธุ์ เศรษฐกิจแบบอิโรติก เงินและความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ ที่ทำให้เห็นความซับซ้อนของความผูกพันกับความเป็นชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงกันและก่อร่างสร้างทางเดินของการค้าจากโลกสู่ท้องถิ่นในโลกยุคหลังอาณานิคม...
รูปแบบของเซ็กส์ที่ไม่เคยมีมาก่อน และการนอกขนบจารีต กับวงจรการเงินและการให้แนวทางใหม่ของการถือสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติ นี่คือโอกาสใหม่ของSambaru Moran ในการแสดงความโอ้อวดและใช้กล้ามเนื้อและความเป็นชายสำหรับการสร้างเงิน สร้างรายได้บนชายหาดของเคนย่า พร้อมกับบทละครต่อมาในการกลับบ้านเกิด...
การเดินทางจากบ้านเกิดของ ผู้ชายนักรบชาว Samburu หรือเรียกว่าMoran ที่เดินทางไปยังชายฝั่งของเคนย่า พร้อมความหวังจากดอกผลกำไรของการท่องเที่ยวตามชายหาด ที่ได้รับขัยชนะจากความเสน่หาและการสนับสนุนทางการเงินของผู้หญิงยุโรปและผิวขาวอเมริกัน ทีทำให้เห็นปฎิสัมพันธ์ของผู้หญิงในโลกทุนนิยมกับผู้ชายพื้นเมืองท้องถิ่น ภายใค้กระบวนการที่ทำให้เป็นสินค้าของเพศวิถีของชาวนักรบMoran พื้นเมือง เรื่องเล่าของผู้ชายMoran ทำให้เราเห็นการเขื่อมโยงท้องถิ่น ชาติ ระบบเศรษฐกิจโลกและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม...
สิ่งที่น่าสนใจคือการให้ภาพความตึงเครียดของขุมชนท้องถิ่น เด็กหนุ่มรุ่นใหม่ทีมีอิสระเสรีภาพในเรื่องเพศ และต่อรองกับผู้อาวุโสที่พยายามรักษาและดำรงอำนาจเอาไว้ ที่ซึ่งเศรษฐกิจและเสรีภาพทางเพศที่นักรบMoran สนุกสนานบริเวณชายหาด เป็นสิ่งที่ถูกจำกัดและถูกดูแคลนในบ้านเกิดของพวกเขา พวกเขาอ้างอิงกับการบูรณาการที่เข้มข้นกับกระแสเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของโลก ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผูกติดกับธรรมเนียมประเพณีของบ้านเกิด ที่ทำให้เห็นอัตลักษณ์ความเป็นMoran ที่ถกย่องย่องชื่นชม (Desirable) กับการถูกดูถูกเยาะเย้ย(Derided)....
ผู้ชายนักรบMoran แสวงหาความั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ที่ถูกบ่มเพาะภายใต้ความปรารถนาเพื่อผลักดันไปสู่การได้รับการยอมรับและกลายเป็นสมาชิกที่สำคัญของชุมชน อย่างไรก็ตามความสำเร็จที่ใหญ่กว่าในการนำเงินกลับบ้านเกิดก็คือการที่ ผู้ที่อ่อนแอกว่า(Moran ในเคนย่า) ได้อวดอ้างถึงความสามารถผนวกรวมชาวSambaru เข้ากับสังคมโลก(ตะวันตก)ได้ในกระแสของการเปลี่ยนแปลง...






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง