ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เขื่อน ต้นทุนที่ไม่คุ้มทุน โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ในช่วงเตรียมการสอน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมกับการพัฒนา... เห็นข่าวจากสื่อ เพื่อนแวดวงการพัฒนาเกี่ยวกับโครงการเรื่องน้ำและเขื่อน มีประเด็นที่น่าสนใจพานักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเรื่องการพัฒนา...

HIDDEN COST OF HYDROELECTRIC POWER DAM: ต้นทุนที่ซ่อนเร้นของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ

ต้นทุนที่ซ่อนเร้นของโครงการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า (HYDROELECTRIC  POWER DAM) ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราควรพิจาณาถึงแผนของการสร้างเขื่อนที่ผุดขึ้นทั่วโลกว่าคุ้มค่าหรือไม่

จำนวนแผนการสร้างเขื่อนที่มากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลกที่มีลักษณะเป็น Hydroelectric power dam บ่งชี้ยุทธศาสตร์หรือแผนงานของการจัดสร้างเขื่อนลักษณะแบบนี้ในที่ต่างๆทั่วโลก รวมทั้งแผนการสร้างเขื่อน 147 แห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำอะเมซอน ของทวีปอเมริกาใต้

การศึกษาใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องของเขื่อน ได้ทำให้เราได้พบความจริงเกี่ยวกับต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งที่ประเมินค่าได้ยากมากก่อนการก่อสร้างเขื่อน รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ทั้งในช่วงเวลา หรืออายุขัยของเขื่อน (The Lifetime cost of dam) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเขื่อนและการทำลายเขื่อนหลังสิ้นสุดโครงการ ผลกระทบที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของระบบนิเวศ ระบบอุทกศาสตร์ การไหลเวียนของน้ำ เกิดการชะลอและการต้านทานการไหลของน้ำที่ส่งผลต่อระบบนิเวศพันธุ์พืช พันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  รวมทั้งผลกระทบในเรื่องของการใช้น้ำเพื่อสร้างผลิตผลภาคการเกษตรที่เกิดจากการควบคุมและการจัดการทรัพยากรน้ำของผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ยังไม่นับถึงเรื่องของความโปร่งใส การทุจริตและการคอรัปชั่น ระหว่างรัฐบาลกับบริษัทที่ดำเนินการสร้างเขื่อนซึ่งมักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในประเทศกำลังพัฒนาหรือแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม

ดังนั้นการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environment impact assessments, EIAs) และการประเมินผลกระทบทางด้านสังคม (Social impact assessments, SIAs) รวมถึงการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพ (Health Impact assessments, HIAs) จะต้องมีน้ำหนักและข้อมูลที่มากเพียงพอสำหรับการบ่งชี้ถึงผลกระทบทางด้านลบของการสร้างเขื่อนหรือสามารถนำข้อมูลมาชี้ให้เห็นผลกระทบและความสำคัญของมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องรักษาไว้ ที่สามารถจะใช้ต่อต้านต่อรองกับการพัฒนาหรือโครงการสร้างเขื่อน ที่สำคัญกระบวนการเหล่านี้ ควรที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่และชุมชนที่มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่ผูกพันกับแหล่งทรัพยากรน้ำเหล่านี้เป็นผู้ตัดสินและกำหนดชะตากรรมด้วยตัวเอง

มีการคาดคะเนว่าจำนวน 3,700 เขื่อนที่ถูกสร้างไปแล้ว หรือกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงเขตลุ่มน้ำอะเมซอนที่กำลังจะมีการสร้างเขื่อนถึง 147 เขื่อน มักจะถูกโปรโมตในแง่ของความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การไม่สร้างผลกระทบกับสังคมและชุมชน และเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ในงานทบทวนการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ใน Proceeding of the National Academy of Sciences of the United States of America (PNAS) นักวิจัยได้โต้แย้งความจริงในเรื่องของต้นทุนในโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณต้นทุนที่เสียไป ต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก ทั้งในแง่ความเสี่ยงหรือภัยคุกคามในทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลกระทบที่ต่อเนื่องตามมาภายหลังของการสร้างเขื่อน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่าต้นทุนที่ซ่อนเร้น

จากข้อมูลที่สำรวจ มีการประมาณการว่าทั่วโลก ประชากรมากกว่า 472 ล้านคน ได้รับผลกระทบทางด้านลบต่อการสร้างเขื่อนมานานหลายทศวรรษ ทั้งในแง่ของทิศทางการไหลของกระแสน้ำ (Downstream) การพึ่งพาแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของผู้คนชุมชน เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  ทั้งเรื่องของการกีดกัน การลิดรอนและการลดทอนในเรื่องของความมั่นคงและความยั่งยืนในชีวิตและอาหาร รวมทั้งการได้รับความทุกข์ทรมานจากการสูญเสียทางวัฒนธรรมที่มิอาจประเมินค่าได้ ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนที่ชื่อว่า Tucurui Dam ในเขตลุ่มน้ำอะเมซอนของประเทศบราซิล ส่งผลให้ปริมาณปลาที่จับได้ในแม่น้ำลดลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ผู้คนกว่า 100,000 คน ที่อาศัยตามลำน้ำได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอาชีพประมง พื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อน รวมทั้งสูญเสียแหล่งทรัพยากรอื่นๆทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และความหลากหลายทางนิเวศวิทยาที่อยู่บริเวณแม่น้ำ

ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป มีจำนวนเขื่อนที่สร้างข้นเป็นจำนวนมาก เฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกามีการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนเขื่อมมากกว่า 60 เขื่อนในแต่ละปีที่ถูกทำลายทิ้งตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเขื่อนในแต่ละครั้ง ต้องใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า The lifespan of dam หรือช่วงเวลาของเขื่อนมีการจำกัดอย่างมาก อย่างเช่นเขื่อนที่กำลังจะสร้างในประเทศบราซิล เป้าหมายของการดำเนินโครงการมีระยะเวลาเพียง 30 ปีเท่านั้น เนื่องจากวัสดุที่ใช้สร้างเขื่อนมีอายุและความเสื่อมสภาพของตัวเอง ซึ่งอายุของเขื่อนหรือของโครงการ มีระยะเวลาน้อยมากเมื่อเทียบกับอายุของชุมชนที่ดำรงอยู่มานานนับเป็นร้อยเป็นพันปี

การสร้างเขื่อนยังนำสู่ความสูญเสียอย่างมหาศาลในชีวิตและทรัพย์สิน ในปีค.ศ. 1976 เขื่อนเทลตัน (The Telton Dam ) ในรัฐ Idaho  ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐต้องสูญเสียเงินมากกว่า 2 พันล้านบาทจากการซ่อมแซมความเสียหาย จากกรณีเขื่อนแตก และกรณีดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 4 คน  หรือในปีค.ศ. 2018 ประชาชนกว่า 40 คนเสียชีวิต และ 6,000 กว่าคน กลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยโดยการถล่มจากอุทกภัยครั้งใหญ่ ของเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย (XE-PIAN  XE-NAMNOY) ที่เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในเขตลุ่มน้ำโขงของประเทศลาว

ดังนั้นต้นทุนที่ซ่อนเร้น(Hidden Cost) มักไม่ถูกนำมาคิดในกระบวนการของการพัฒนาและการให้บริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คน ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลที่ออกแบบการให้บริการทางสุขภาพมาให้กับประชาชนเพื่อให้มีความทันสมัยและใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการรักษาโรค รวมทั้งมีแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญ ที่นำต้นทุนเหล่านี้มาใช้คำนวณอัตราค่าบริการต่างๆของโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันต้นทุนของผู้เข้ารับบริการ แต่ละคนมันย่อมไม่เท่ากันหรือเหมือนกัน  เช่น ระยะทางที่ต้องเดินทางจากบ้านมายังโรงพยาบาล ค่าน้ำมันรถหรือค่าจ้างรถโดยสารที่ใช้เดินทางมาโรงพยาบาล ระยะเวลาในการรอคอย การเข้าคิวรอ หรือแม้แต่ศักยภาพในการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีในการรักษา นี่คือทุนที่ชาวบ้านจะต้องจ่ายแต่ไม่ถูกนำมาคิดคำนวณอัตราค่าบริการทางสุขภาพ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของต้นทุนของผู้คนที่มีความแตกต่างกัน หากแต่ได้นำเอามาตรฐานเพียงด้านเดียว มาใช้ในการคิดคำนวณโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยเงื่อนไขอื่นๆประกอบ เช่นเดียวกับการสร้างเขื่อน ต้นทุนที่ซ่อนเร้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยถูกนำมาคิดวิเคราะห์ ในกระบวนการพัฒนาหรือโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อชุมชนเลย ซึ่งควรจะทบทวนและชี้ให้เห็นการสูญเสียประโยชน์หรือต้นทุนที่แท้จริงที่เกิดจากกระบวนการพัฒนา บทเรียนจากการศึกษาและผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนควรที่จะถูกนำมาใช้เป็นกรณีศึกษา  อย่างเร่งผลักดันโครงการเมกกะโปรเจคใหญ่ๆ เช่น โครงการโขง ชี มูล เลย แม่น้ำสงคราม ที่จะสร้างฝาย สร้างเขื่อนจำนวนมากขึ้นในปะเทศ  รวมทั้งการมองการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันในระดับประเทศ การเป็นคนที่ใช้ลำน้ำร่วมกัน การพัฒนาอย่างใดอย่างหนึ่งในพื้นที่หนึ่ง ย่อมมีผลกระทบกับพื้นที่อื่นๆด้วย เช่น การสร้างเขื่อนในจีน กับระดับน้ำแลกระแสน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อผู้คนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแก้ปัญหาจึงควรจะแก้ปัญหาในระดับภูมิภาค ไม่ใช่การแก้ปัญหาเพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่เฉพาะเท่านั้น รวมทั้งการทำให้เห็นต้นทุนซ่อนเร้น ต้นทุนที่ใช้ร่วมจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรนำมาใช้พิจารณาอย่างรอบด้าน


@ ที่มาของข้อมูลประกอบการเขียน: The hidden costs of hydro: We need to reconsider world’s dam plans  by Liz Kimbrough on 5 March 2019

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง