ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มนุษย์ไซบอร์กและมนุษย์ดั้งเดิม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

Cyborg และ Human Origin : มนุษย์ไซบอร์กและมนุษย์หุ่นยนต์ 

  คำว่า Cyborgs ถูกเชื้อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี (Technologies) และอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวืต (Organism)

Cyborg ผสมระหว่าง cybernetic (การศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างระบบควบคุมอัตโนมัติของสมองและระบบประสาท กับระบบควบคุทด้วยกลไกและกระแสไฟฟ้า) กับร่างกายอินทรีย์(Organism) ในความหลากหลาย รูปแบบที่แตกต่าง และวิถีทางที่ซับซ้อน

การปะทะกันภายใต้วิธีคิดแบบคู่แย้ง ที่แบ่งแยกออกเป็น มนุษย์ (Human) ที่หมายถึงมนุษย์โฮโมเซเปี้ยนเซเปี้ยน กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ทั้งวัตถุไร้ชีวิต พืช สัตว์ สัตว์ประหลาด ผี หรือมนุษย์ต่างดาว ทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การตั้งคำถามสำคัญว่า “มนุษย์คืออะไรกันแน่  อะไรคือความเป็นมนุษย์” 

สิ่งที่เรามองเห็นได้จากเทคโนโลยีแบะพวกไซบอร์ก ( Cyborgian technologies) คือส่วนหนึ่งของการจัดประเภทของมนุษย์ หรือพวกเขาเป็นสิ่งที่มากกว่าหรือเหนือกว่ามนุษย์หรือสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (เพราะพวกเขาผสมผสานกัน) ดังนั้นคำถามที่น่าสนใจคือเราควรจะรู้สึกกลัว (fear) หรือมีความหวัง (Hope) ต่อความก้าวหน้านี้  เนื่องจากมันทำให้เรากลายเป็น (Became) หรือ พสกเราก็รู้สึกและเข้าใจเกี่ยวกับ Cyborg ไปเรียบร้อยแล้วในโลกของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลที่เขื่อมโยงกับผลลัพธ์ของความก้าวหน้าเหล่านี้มากขึ้น

มานุษยวิทยาที่ศึกษาประเด็นทางศาสนาหรือเทววิทยาโดยเฉพาะความเชื่อแบบคริสเตียนตะวันตก  ที่เกี่ยวโยงกับการกำเนิดมนุษย์บนสวนของอีเดน(Eden and Genesis)  แต่สำหรับ Donna Harawey นั้น สิ่งที่เรียกว่า Cyborg นั้นไม่ได้ถูกสร้างในสวนของอีเดน คำถามสำคัญก็คือ วิธีคิดแบบ Cyborg  กำลังท้าทายรากฐานเชิงเทววิทยาและแนวคิดเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อที่ว่าอะไรคือสิ่งที่มนุษย์เป็นและถูกสร้างโดยพระเจ้า ....

   ดังนั้นไซบอร์ก ควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นวัตถุแห่งความกลัว ในอำนาจและความไม่รู้ของเราเกี่ยวกับมัน และความหวัง  มันคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับอนาคตของเราหรือเป็นสิ่งสร้างสรรค์สูงสุดของมนุษย์...

   ในแง่ของการศึกษาทางมานุษยวิทยา มันคือ การตั้งคำถามต่อความเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ที่มีรากฐานหรือมรดกจากคริสเตียน รวมทั้งความต้องการเอาชนะหรือพิชิตธรรมชาติ ภายใต้ความไม่มั่นคง ไม่ต่อเนื่องในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์คิดค้น คำถามเหล่านี้ท้าทายกับขอบเขตของระเบียบวิธี ที่นำไปสู่การท้าทายด้าภววิทยาของมนุษย์(ธรรมชาติของสิ่งที่ศึกษา)เช่น หมูที่มี DNA ของมนุษย์หรือการโคลนนิ่ง เป็นต้น ...

   ในขณะเดียวกัน มุมมองที่จะต้องสลัดทิ้งมโนทัศน์เกี่ยวกับคู่ตรงกันข้าม เทคโนโลยีอาจไม่ได้แยกขาดหรือตรงกันข้ามกับธรรมชาติ เพราะว่าทั้งเทคโนโลยีและธรรมชาติมีหลากหลายความหมายและถูกนำไปใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน บางครั้งเรายังพบคำว่า Nature of technology หรือธรรมชาติแห่งเทคโนโลยี หรือมนุษย์ก็ไม่ได้แยกออกจากสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์  มนุษย์ก็คือสัตว์จำพวกหนึ่ง คือสัตว์โลกเป็นต้น...

    เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า Cyborg เป็นลูกหลานหรือผลผลิตของยุคสงครามเย็น  (Cold War) เป็นส่วนหนึ่งของการทหาร(Militarism)หรือการพัฒนามนุษย์อวกาศ(astronautics) ในยุคเริ่มต้น คำว่า Posthuman หรือหลังจากมนุษย์ ได้กลายเป็นวิถีใหม่ของการให้ชื่อ(naming) และความเป็นไปได้อื่นๆที่เราไม่รู้ ( unknow possible) การบอกเล่าเรื่องราวอื่นๆ ภายใต้อัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงลื่นไหลของมนุษย์ที่เราสามารถประกอบสร้างหรือผนวกรวมกับเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับร่างกายและตัวตนของพวกเขา ไซบอร์กคือเรื่องของการผสมผสาน (hybridity) เรื่องแต่ง (fiction) และไม่ใช่เรื่องแต่ง (non-fiction) ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับความจริง ความจริงที่เป็นการผสมผสานส่วนประกอบของเรื่องเล่า เรื่องราวที่หลากหลาย..

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง