ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2021

มองปรัชญาของLevinas ใบหน้าการใส่หน้ากากในช่วงโควิด โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  ความเจริญงอกงามของชุมชน   ต้องการปัจเจกบุคคลที่เคารพกับสิทธิเสรีภาพของคนอื่นแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้พวกเขาเข้าใจและกระทำสิ่งต่างๆบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและความรับผิดชอบต่อจึงเป็นเช่นเดียวกับความซื่อตรงการจัดการยุติธรรมและคุณค่าของการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สิ่งที่น่าสนใจในศตวรรษที่  20  เกี่ยวกับคำอธิบายในเรื่องของความรับผิดชอบถูกพบในงานของนักปรัชญาฝรั่งเศสที่ชื่อเอ็มมานูเอ็ล   เลวีนาส  Emmanuel Levinas สำหรับเขาใบหน้าคือสิ่งพื้นฐานเริ่มต้น (the face is primary)  ที่จัดวางความรับผิดชอบในใบหน้า   และเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในแง่สิทธิของตัวเอง (own right)  ในขณะเดียวกันประเด็นดังกล่าวนี้ก็นำมาซึ่งเสียงสะท้อนและการถกเถียงในช่วงการระบาดของโรคเมื่อผู้คนจะต้องสวมใส่หน้ากากก่อนที่จะเข้าไปในพื้นที่สาธารณะ          Levinas  เกิดในประเทศลิธัวเนีย   ในช่วงปีช่วงปี  1906  และครอบครัวของเขาได้รับผลกระทบจากภาวะไร้ที่อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาได้ศึกษาในมหาวิทยาลัย ของฝรั่งเศสและเยอรมัน   แล...

เขื่อน ต้นทุนที่ไม่คุ้มทุน โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ในช่วงเตรียมการสอน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมกับการพัฒนา... เห็นข่าวจากสื่อ เพื่อนแวดวงการพัฒนาเกี่ยวกับโครงการเรื่องน้ำและเขื่อน มีประเด็นที่น่าสนใจพานักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นเรื่องการพัฒนา... HIDDEN COST OF HYDROELECTRIC POWER DAM: ต้นทุนที่ซ่อนเร้นของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ต้นทุนที่ซ่อนเร้นของโครงการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า (HYDROELECTRIC  POWER DAM) ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราควรพิจาณาถึงแผนของการสร้างเขื่อนที่ผุดขึ้นทั่วโลกว่าคุ้มค่าหรือไม่ จำนวนแผนการสร้างเขื่อนที่มากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลกที่มีลักษณะเป็น Hydroelectric power dam บ่งชี้ยุทธศาสตร์หรือแผนงานของการจัดสร้างเขื่อนลักษณะแบบนี้ในที่ต่างๆทั่วโลก รวมทั้งแผนการสร้างเขื่อน 147 แห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำอะเมซอน ของทวีปอเมริกาใต้ การศึกษาใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องของเขื่อน ได้ทำให้เราได้พบความจริงเกี่ยวกับต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งที่ประเมินค่าได้ยากมากก่อนการก่อสร้างเขื่อน รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ทั้งในช่วงเวลา หรืออายุขัยของเขื่อน (T...

ความจริงของชนเผ่า ความจริงของนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เรื่องน่าอับอายของชนเผ่าในอูกันดา  ที่ถูกเข้าใจผิดมามากกว่า 40 ปี ...จนถูกศึกษาและทำให้เห็นความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง เขียนโดย Carly Cassella ชื่อ Uganda is infamous ‘selfish’ tribe has been misunderstood for almost 40 year .  ชนเผ่า IK ในอูกันด้าเป็นชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนหุบเขาเล็กๆ ชื่อ KIDEPO ชื่อเสียงของเมืองนี้เป็นที่รู้กันดีของประเทศว่ามีข้อจำกัดของการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆและความแห้งแล้ง ในปี 1960 นักมานุษยวิทยา ชื่อ Colin Turnbull ได้ตีพิมพ์หนังสือที่บรรยายเกี่ยวกับชนพื้นเมืองIK และเน้นย้ำ ประทับตราหรือชี้ให้เห็นลักษณะพิเศษของชนพื้นเมืองนี้คือ ความไม่เป็นมิตร ความไม่รู้จักแบ่งปัน ความเห็นแก่ตัว และชนพื้นเมืองนี้ถูกตั้งฉายาว่า the loveless people หรือชนเผ่าที่ไร้หัวใจ  ในความจริงชนเผ่านี้ ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างมาก ภายใต้ภาวะของการดิ้นรนต่อสู้ต่อความอดอยากและความแห้งแล้ง ที่มากกว่าชุมชนอื่นๆข้างเคียง Turnbull ได้เข้ามาวิจัยชุมชนในช่วงปี 1960-1967 และเสนอสมมติฐานว่า ชนเผ่า IK บ่มเพาะความเป็นปัจเจนชนนิยมตั้งแต่เด็กจนถึงบั้นปลายชีวิต พวกเขาละทิ้งเด็ก...

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเพศ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  เรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวทางเพศ  (Sexual Story Telling)             Ken Plummer (1995)  ให้ความสนใจกับภาวะความทันสมัย (modernity) และแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม   โดยเน้นไปที่บทบาทที่สำคัญของเรื่องเล่าและคำบรรยายทางเพศ  (sexual stories and narrative)  ที่เกิดขึ้นในยุคทันสมัย (modern) และยุคสมัยใหม่ตอนปลาย (late modern)  โดยชี้ให้เห็นบทบาทของเรื่องเล่าและวาทกรรมที่สร้างความเข้าใจและประสบการณ์ของผู้คนเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถี (Plumme,1995:12)  ที่ได้สร้างแบบแผนเกี่ยวกับชีวิตทางเพศ  (The patterns of sexual life)  พร้อมๆกับสภาวะที่มนุษย์ได้กลายเป็นผู้เล่าเรื่อง (story-telling beings)  อันนำไปสู่การสร้างเรื่องราวและสร้างโลกทางเพศของพวกเขา   โดยเรื่องเล่าทางเพศ   มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมและการเมือง   โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตน  (self)  และอัตลักษณ์  (identity) ทางเพศที่หลากหลาย   ได้สะท้อนศักยภาพและความสามารถในการต่อสู้ต่อรองและนำไปสู่การเปลี่ยนแป...

วัว ผู้ชาย ศักดิ์ศรี และหัวขโมย โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ชนเผ่าบาร่า (BARA) :การชิงวัวกับเส้นแบ่งบางๆของความเป็นลูกผู้ชายกับหัวขโมย  สะท้อนให้เห็นการปะทะกันระหว่างประเพณี กฏศีลธรรมและกฏหมาย ซึ่งเราอาจจะทำความเข้าใจผ่านมุมมองทางสังคมและศีลธรรมของเรา แต่ในทางตรงข้ามนั้น ชนเผ่าบาร่าในประเทศมาดากัสการ์นั้นอาจคิดหรือมีมุมมองที่แตกต่างจากเราก็ได้ .....ประวัติศาสตร์มาดากัสการ์..... สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (Republic of Madagascar) เป็นประเทศเกาะที่ตั้งอยู่บนมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่นอกชายฝั่งของแอฟริกาใกล้กับประเทศโมแซมบิก เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความหลากหลายทางด้านทรัพยากรทางกายภาพและชีวภาพรวมถึงภาษาและวัฒนธรรมของชมเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ประกอบด้วยชาวมาลากาซี ชาวบารา ชาวเมรินา ชาวเบตซิเลโอ ชาวซึมีเฮติและชาวสะลากาวะ จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า หมู่เกาะมาดาร์กัสการ์มีคนมาอาศัยอยู่กว่า 200 ปีมาแล้ว เริ่มแรกเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิม ก่อนที่จะมีชนกลุ่มอื่นๆ กลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามมา คือ ชาวแอฟริกันและอินโดนีเซียในช่วงศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของดิเอโก เดียซ์ นักเดินเรือและนักบุกเบิก...

พิธีกรรม สัญลักษณ์ และ Victor Turner โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  พิธีกรรมวิเคราะห์แบบ  Victor turner  ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก  Arnold Van Gennep  ที่มองภาวะภายในของจักรวาลที่ถูกจัดการให้มีลักษณะของการเปลี่ยนผ่านหมุนเวียนของช่วงเวลา  (Periodicity)  ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์   จะทำอะไร   จะปลูกอะไร   ชีวิตของมนุษย์ก็เหมือนกับภาวะของธรรมชาติ   ทั้งตัวปัจเจกชนและกลุ่มสังคม ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงสัมพันธ์ไม่มีส่วนใดที่สามารถแยกขาดได้อย่างอิสระ   โดยพิธีกรรมดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น  3  ระยะคือ 1.rite of separation  หรือขั้นของการแยกตัว   ถือว่าเป็นส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวเองจากสถานภาพเดิม   ผ่านพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์  (purification rites)  เช่น   การโกนผม   การกรีดบนเนื้อตัวร่างกาย   รวมถึงการตัด   การสร้างรอยแผลเป็น   การขลิบ  (scarification or cutting)  ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง 2.rite of transition  เป็นส่วนของพิธีกรรมที่ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพ   โดยบุคคลที่ร่วมในพิธีกรรมจะมีก...

มนุษย์ไซบอร์กและมนุษย์ดั้งเดิม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

Cyborg และ Human Origin : มนุษย์ไซบอร์กและมนุษย์หุ่นยนต์    คำว่า Cyborgs ถูกเชื้อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี (Technologies) และอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวืต (Organism) Cyborg ผสมระหว่าง cybernetic (การศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่างระบบควบคุมอัตโนมัติของสมองและระบบประสาท กับระบบควบคุทด้วยกลไกและกระแสไฟฟ้า) กับร่างกายอินทรีย์(Organism) ในความหลากหลาย รูปแบบที่แตกต่าง และวิถีทางที่ซับซ้อน การปะทะกันภายใต้วิธีคิดแบบคู่แย้ง ที่แบ่งแยกออกเป็น มนุษย์ (Human) ที่หมายถึงมนุษย์โฮโมเซเปี้ยนเซเปี้ยน กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ทั้งวัตถุไร้ชีวิต พืช สัตว์ สัตว์ประหลาด ผี หรือมนุษย์ต่างดาว ทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การตั้งคำถามสำคัญว่า “มนุษย์คืออะไรกันแน่  อะไรคือความเป็นมนุษย์”  สิ่งที่เรามองเห็นได้จากเทคโนโลยีแบะพวกไซบอร์ก ( Cyborgian technologies) คือส่วนหนึ่งของการจัดประเภทของมนุษย์ หรือพวกเขาเป็นสิ่งที่มากกว่าหรือเหนือกว่ามนุษย์หรือสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (เพราะพวกเขาผสมผสานกัน) ดังนั้นคำถามที่น่าสนใจคือเราควรจะรู้สึกกลัว (fear) หรือมีความหวัง (Hope) ต่อความก้าวหน้านี้  เนื่องจาก...

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

ทบทวนแนวคิดเรื่องผู้สูงอายุกับบ้าน ในมิติทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ก ารอ่านงานเก่าตัวเอง เพิ่มสถานการณ์ใหม่ และเอาความคิดร่วมสมัยมาวิเคราะห์ ผ่านบ้านไทดำ ห้องผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษ ผีพ่อแม่ ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงเชิงนโยบาย ในเรื่อง “บ้านกับผู้สูงอายุ” กับนโยบายรัฐสวัสดิการ อาจต้องเริ่มต้นจาก “บ้าน”ความหมายของมันคืออะไรบ้างในภาวะของระบบทุนนิยมที่สร้างความหมายของบ้านกลายเป็นวัตถุหรือสินทรัพย์ บ้านอาจจะเกี่ยวโยงกับอารมณ์ความรู้สึก ความอบอุ่น ความรัก ความสุข หรืออื่นๆ ตามการรับรู้และประสบการณ์ชีวิตและบริบทต่างๆที่เปลี่ยนผ่านตัวตน ความคิดและสร้างความหมายต่อเรื่องบ้าน.. ในระบบทุนนิยม การมีชีวิตที่ดีสัมพันธ์กับเรื่องเงินและการดำรงชีวิต คุณภาพชีวิตเท่ากับการมีเงินใช้ วิธีคิดดังกล่าวได้ต่อเติมและสร้างความหมายต่อเรื่องบ้าน ลดทอนและจำกัดความหมายของบ้านที่หลากหลาย โดยเฉพาะความหมายในเชิงวัฒนธรรม ความหมายในเชิงนามธรรม ความคิด การรับรู้ อารมณ์และความรู้สึก เช่น บ้านกับอำนาจในความเป็นเข้าของ บ้านคือครอบครัว บ้านคือความสัมพันธ์ บ้านคือจิตวิญญาณ บ้านคือมูลมังของพ่อแม่ บ้านเป็นพื้นที่ของบรรพบุรุษ บ้านคือศูนย์กลางของโคตรวงศ์ และอื่นๆ ส่วนเหล่านี้คือเรื่อง...