ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2024

มานุษยยิทยาว่าด้วยการสูญหาย (An Anthropology of Disappearance) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มานุษยวิทยาว่าด้วยการสูญหาย (An Anthropology of Disappearance) การศึกษาประเด็นนี้มีงานของนักมานุษยวิทยาที่น่าสนใจหลายท่าน โดยเฉพาะนักมานุษยวิทยาที่อยู่ในบริบทของประเทศที่ถูกกดขี่ และมีประสบการณ์ที่ถูกดขี่ และสัมผัสกับการสูญหายของผู้คนในวัฒนธรรมของตัวเอง อาทิเช่น Laura Huttunen เป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัย Tampere ประเทศฟินแลนด์ ในปี 2556-2557 เธอดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นไปที่คำถามเกี่ยวกับบุคคลสูญหายและหายตัวไปในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ในปี 2561-2565 เธอเป็นผู้นำโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่การหายตัวไปในบริบทการย้ายถิ่น หนังสือ An Anthropology of Disappearance โดย Laura Huttunen สำรวจปรากฏการณ์ของการหายตัวไปในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง การบังคับหายตัว และความรุนแรงทางการเมือง หนังสือเล่มนี้นำเสนอกรณีศึกษาจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สงคราม การกดขี่ทางการเมือง และการอพยพย้ายถิ่นฐาน โดยวิเคราะห์ว่าการหายตัวไปส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างไร สิ่งที่น่าสนใจคือ Huttunen นำเสนอแนวคิดว่าการหายตัวไป...

เจดีย์และสะเดิ่ง ของชาวกะเหรี่ยง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ถ้าผมมีเวลา ผมอยากจะเขียนหนังสือเรื่องเจดีย์ ลัทธิเจ้าวัด กับโลกในจิตนาการของคนกะเหรี่ยง และรวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับเรืองเจดีย์จากที่ต่างๆ ที่ตัวเองได้ลงไปสำรวจและเก็บเรื่องราวไว้ เลยลองร่างไอเดียไว้อีกเรืองหนี่ง จากคำกล่าวที่ว่า ชาวกะเหรี่ยงคาดหวังถึงการกลับมาของพระอริยะกษัตริย์หรือพระศรีอริยะเมตไตร์ที่กล่าวอ้างถึงตลอดการสนทนากับผม และพวกเขามีความเชื่อว่าผู้มีบุญนี้ถูกส่งมาให้เป็นบุคคลสำคัญในวิธีคิดแบบจักรวาลวิทยา เกี่ยวกับกษัตริย์หรือผู้มีบุญหรือผู้ปลดปล่อยที่ใกล้จะมาถึง หรือเชื่อในพระโพธิสัตว์ ที่กะเหรี่ยงเรียกว่า mìn laùng ชาวกะเหรี่ยงไม่ว่าที่ไหน ก็จะมีประเพณีความเชื่อที่ว่าพระเจ้ากำลังจะมาเยือนโลกนี้ในร่างมนุษย์ ผมอ้างอิงจากงานของ Mikael Gravers (2001) เรื่อง Cosmology, Prophets, and Rebellion Among the Buddhist Karen in Burma and Thailand เขาได้กล่าวถึงคำว่า ไจ๊ย์ ไคหรือไช หรือ”Chai’ คือคำที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามอญ มีความหมายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระพุทธเจ้า “sacred being,”หรือ “Buddha.” ดังนั้นแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ต้องมีสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทน ที่สร้างในรูปของเ...

หนังสือ Money in an Unequal World: Keith Hart and His Memory Bank

The age of money Between agrarian civilization and the machine revolution The unfinished middle-class revolution A political economy of the internet A humanist approach to markets and money The future of money Towards an anthropology of the world market ยุคของเงิน ระหว่างอารยธรรมเกษตรกรรมกับการปฏิวัติเครื่องจักร การปฏิวัติชนชั้นกลางที่ยังไม่เสร็จสิ้น เศรษฐศาสตร์การเมืองของอินเทอร์เน็ต แนวทางมนุษยนิยมต่อตลาดและเงิน อนาคตของเงิน ไปสู่มานุษยวิทยาของตลาดโลก จำได้ว่าได้หนังสือเล่มหนึ่งมาจากงานสัปดาห์หนังสือเมื่อหลายปีที่แล้ว เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ถือเป็นหนังสือที่สำรวจบทบาทของเงินในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกัน หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith Hart นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจนอกระบบและการเงินส่วนบุคคล ในเล่มนี้ Hart วิเคราะห์ถึงวิธีที่เงินทำงานอยู่ในโลกที่มีความไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในสังคมที่คนทั่วไปไม่ได้เข้าถึงสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม Hart แนะนำแนวคิดเรื่อง "Memory Bank" ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครือ...

มานุษยวิทยาอาหาร โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิด Anthropology of Food คือการศึกษาอาหารในบริบททางวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเน้นความเข้าใจว่าอาหารไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่รับประทานเพื่อการยังชีพเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม โดยสาระสำคัญของ Anthropology of Food คือ 1. วัฒนธรรมอาหาร (Food Culture) การศึกษาว่าอาหารมีบทบาทอย่างไรในการกำหนดและสะท้อนอัตลักษณ์ของกลุ่มคน รวมถึงวิธีที่อาหารถูกใช้เพื่อสร้างความหมายและการแสดงออกทางวัฒนธรรม 2. การแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange) อาหารมักเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนทางสังคม เช่น การแบ่งปันอาหารในครอบครัวหรือชุมชน ซึ่งช่วยสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน 3. อำนาจและการเมือง (Power and Politics) การศึกษาอาหารสามารถเปิดเผยโครงสร้างอำนาจและความไม่เท่าเทียมในสังคม เช่น การควบคุมทรัพยากรอาหาร การเข้าถึงอาหารที่ไม่เท่าเทียมกัน และการเมืองของการผลิตและการบริโภคอาหาร 4. เศรษฐกิจและการบริโภค (Economy and Consumption) วิเคราะห์วิธีที่ระบบเศรษฐกิจมีผลต่อการผลิตและการบริโภคอาหาร และผลกระทบของระบบเ...

วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจ ในหนังสือ Economic Lives: How Culture Shapes the Economy ของ Viviana A. Zelizer

ผมคิดว่าก็คงเป็นเพราะผมต้องการหาอะไรมาเติมเนื้อหาในblog ตัวเอง ที่เป็นพื้นที่ของการเขียนอิสระ เลยต้องขนเอาสิ่งที่เก็บไว้มาเผยแพร่..ตอนนี้กำลังอินกับวิชาที่ชอบสอน แต่ไม่ค่อยได้เปิดสอนเลย เพราะมีวิชาที่ต้องรับผิดชอบเยอะอยู่แล้ว หนังสือ Economic Lives: How Culture Shapes the Economy โดย Viviana A. Zelizer เป็นหนังสือที่สำรวจวิธีที่วัฒนธรรมและเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง Zelizer ใช้แนวทางเชิงมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาในการอธิบายว่าเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการหรือเรื่องของตัวเลขและการคำนวณ แต่ยังเป็นพื้นที่ที่วัฒนธรรม ความหมาย และความสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญมากในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ผทคิดว่าสาระสำคัญและแนวคิดของหนังสือที่น่าสนใจคือมุมมองต่อไปนี้ 1. เศรษฐกิจไม่แยกขาดจากวัฒนธรรม Zelizer ได้โต้แย้งแนวคิดแบบดั้งเดิมที่มองว่าเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเป็นสองสิ่งที่แยกจากกัน เธอแสดงให้เห็นว่าการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจมักถูกกำหนดโดยบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น การให้ของขวัญ การซื้อขายสินค้า หรือการทำงาน มัก...

แนะนำหนังสือ The Gift ของ Marcel Mauss โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างนั่งรถไม่มีอะไรทำ เพราะ 19.00 น.แล้วยังไม่ถึงบ้าน หนังสือนี้แหละดีที่สุด หนังสือ The Gift: Forms and Functions of Exchange in Archaic Societies โดย Marcel Mauss ผมถือเป็นหนังสือคลาสสิกเล่มหนึ่งของนักเรียน มานุษยวิทยา ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนของขวัญในสังคมโบราณ และบทบาทของของขวัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม Mauss เสนอแนวคิดที่ว่าของขวัญไม่ได้เป็นเพียงวัตถุทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์และพันธะทางสังคมอีกด้วย นับเป็นหนึ่งในงานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษามานุษยวิทยาเศรษฐกิจ The Gift: Forms and Functions of Exchange in Archaic Societies โดย Marcel Mauss ถือเป็นงานศึกษาทางมานุษยวิทยาที่สำคัญ ซึ่งมีสาระสำคัญที่น่าสนใจดังนี้ 1. แนวคิดเรื่องของขวัญและการแลกเปลี่ยนในสังคมโบราณ โดย Mauss สำรวจวิธีการแลกเปลี่ยนที่ไม่ใช่เพียงการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมและศีลธรรม ของขวัญในบริบทนี้ไม่ใช่เพียงสิ่งของที่มีค่า แต่เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ทางสังคมและพันธะทางศีลธรรมที่ผู้ให้และผู้รับมีต่อกัน 2. หลักการของการให้และการรับ โดยMauss ...

มองการเป็นหนี้ในมุมมองบวก …ผ่านเลนส์มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ แนะนำหนังสือ นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มองการเป็นหนี้ในมุมมองบวก …ผ่านเลนส์มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ .. ถ้าว่าด้วยมุมมองเกี่ยวกับเรื่องหนี้สิน หนังสือ Debt: The First 5,000 Years โดย David Graeber เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าจะใช้สอนในวิชามานุษยวิทยาเศรษฐกิจในเทอมหน้า สำหรับนักเรียนทางทานุษยวิทยา Graeber พาพวกเราย้อนกลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ของหนี้ (debt) ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงยุคปัจจุบัน โดยเขาเสนอแนวคิดที่แตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และมองว่าหนี้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ทางสังคมและอำนาจ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นตัวอย่างที่ดีของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองและสังคม โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ของการเป็นหนี้ Graeber ทำการทบทวนประวัติศาสตร์ของการเป็นหนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากการศึกษาการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในสังคมดึกดำบรรพ์ การเปลี่ยนแปลงจากระบบการแลกเปลี่ยนแบบไม่เป็นทางการไปสู่การใช้เงินและการเป็นหนี้อย่างเป็นระบบ โดยเขาเสนอว่าการเป็นหนี้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและการพัฒนาอารยธรรมมนุษย์ 2.การวิพากษ์วิจารณ์ระบบเงินต...

เซ็กส์และไซเบอร์ : ผลประโยชน์ ความพึงพอใจและเพศวิถีบนชุมชนออนไลน์ นัฐวุฒิ สิงห์กุล

สำหรับผมการนั่งเขียนงานบทความคือความสุขและใช้เวลา พละกำลังเยอะมากในระยะเวลาหลายเดือน ผมมีร่างบทความเก็บไว้เยอะจำนวนหนึ่ง บางร่างยังไม่สมบูรณ์ บางร่างหยุดนิ่ง บางร่างเกือบเสร็จ แต่ผมไม่ลืมจะนำมาขัดเกลาและอัพเดทข้อมูลใหม่ๆเสมอ .. ณ จุดหนึ่งการรอคอยการตีพิมพ์ในวารสารใช้เวลานานมากไม่ว่าจะtci หรือ scopus บางครั้งสิ่งที่ผมคิด ผมอยากถ่ายทอดให้ทันช่วงเวลาที่ทันสมัย. ..Blog จึงเป็นพื้นที่หนึ่ง ที่ผมใช้ลงสิ่งที่อยากเขียน ในวงกว้างและเนื้อหาในนี้ก็ถูกใช้อ้างอิงในวารสาร งานวิจัย ในชุดแบบเรียนของคนอื่นๆเยอะเสียด้วย มีคนเริ่มติดตามอ่านมากขึ้น ทำให้ผมมีแรงที่จะพัฒนาและเกลาบทความเพื่อส่งตีพิมพ์อย่างเป็นทางการเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง..อย่างบางส่วนของร่างบทความชิ้นนี้ที่เคยนำเสนอในเวทีมนุษย์ในโลกดิจิทัล ด้วยระบบความก้าวหน้าทางวิชาการที่ถูกใครบางคนกำหนดทำให้ผมไม่มีทางเลือกมากนักในการเติบโตวิชาการในแนวทางของตัวเอง.. ****เซ็กส์และไซเบอร์ : ผลประโยชน์ ความพึงพอใจและเพศวิถีบนชุมชนออนไลน์*** ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้เกิดการไหลเวียนของผู้คน สื่อ เทคโนโลยี การเงินและความคิด รวมถึงสิ่งที่เรียกว...

สนามทางมานุษยวิทยา นัฐวุฒิ สิงห์กุล

นึกถึงสนามที่บ้านโนนตูม ตำบลตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ …วิถีของชุมชนเกษตรกรรม บุญผะเหวด เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นบุญประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนสี่(เดือนมีนาคม)ของทุกปี เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยประเพณีดังกล่าว เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าว ที่พวกเขาจะนำผลผลิตที่ได้มาทำข้าวต้ม ขนมจีน ข้าวเกรียบ และข้าวสารเพื่อถวายพระและเป็นกัณฑ์เทศน์ รวมทั้งเชื่อมโยงกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับตำนานชาดกในเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องของทานบารมี มีการเชิญพระอุปครุฑและการแห่พระเวสสันดร(ผ้าเขียนภาพชาดกทั้ง13กัณฑ์) จากหนองน้ำในหมู่บ้านเข้าไปในวัด ในประเพณีดังกล่าวจะมีการเทศน์มหาชาติทั้งหมด 13 กัณฑ์ พันพระคาถา และมีการเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน ตั้งแต่เช้าจนถึงมืด และมีการแห่กันหลอน (ต้นเงิน) เพื่อถวายวัด ภายในวัดจะมีการประดับประดาธรรมมาศน์สำหรับให้พระขึ้นเทศน์กัณฑ์ต่างๆ ด้วยกล้วย อ้อย ดอกไม้ ดอกโน และสิ่งประดับต่างๆ เช่น ปลาตะเพียนสาน นกสาน ใยแมงมุม พว...

อาหารกับชาติพันธ์ุ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

อาหารชาติพันธุ์คืออะไร? ในทางมานุษยวิทยา อาหารไม่ใช่แค่สิ่งที่เรากิน แต่มีความเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรม พิธีกรรม การปฎิบัติที่มีความเฉพาะบริบทสังคม ตั้งแต่กินอะไร ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนกิน กินตอนไหน กินอย่างไร อย่างเช่น อาหารสำหรับผู้หญิงคลอดลูก อาหารสำหรับเครือญาติใกล้ชิด เครือญาติไกลๆ อย่างเช่นเผ่ากะตู้ในลาว เวลามีลูกเขยมาเยี่ยมบ้านแม่ยายตามธรรมเนียมจะต้องเลี้ยงด้วยชิ้นไก่หรือชิ้นปลา แต่ถ้าแม่ยายไปเยี่ยมบ้านลูกเขย จะต้องได้กินชิ้นหมู ชิ้นวัว ชิ้นควาย (คนลาวเวลาเรียกเนื้อ เขาจะเรียกว่าชิ้น เช่น เนื้อย่าง ก็เรียกชิ้นดาด เป็นต้ืน) และของเหล่านี้จะเป็นของฝากกลับบ้านด้วย ทุกวันนี้ หลายคนมักจะกินเพื่อความบันเทิง ความอร่อย ความสุขมากกว่ากินเพื่อความอยู่รอดอย่างที่เคยเป็นมา แต่ในขณะเดียวกัน คนบางกลุ่ม ไม่ว่าพวกเขาจะกินอะไรก็ตาม พวกเขาก็ยังต้องการกินอาหารที่มีเรื่องราวเบื้องหลังอยู่เสมอ อาหารชาติพันธุ์สามารถช่วยให้เราเข้าใจว่าอาหารเชื่อมโยงกับระบบการผลิตในท้องถิ่น สภาพแวดล้อมระบบนิเวศด้านอาหาร วัฒนธรรมและประเพณี ความผูกพันทางสังคม ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ตลอดจนวิถีชีวิตและเ...

เอเลี่ยนสปีชี่ส์ กับมุมมองทางมานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา เอเลี่ยนสปีชี่ส์ และสิ่งแวดล้อม ปลาต่างประเทศ ต่างสายพันธุ์ที่นำเข้ามาในประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ครอบคลุมเกือบ 20% ของความหลากหลายของปลาทั้งหมดในธรรมชาติ เนื่องจากความสามารถในการทนต่อสภาวะที่กว้างขึ้นและธรรมชาติทั่วไป บางชนิดของปลาต่างประเทศ หรือต่างสปีชี่ส์ ได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาที่หลากหลาย ปลาบางชนิดที่นำเข้ามาได้ตั้งรกรากอยู่ในแหล่งน้ำเปิดรวมถึงแม่น้ำ ชานน้ำ และอ่างเก็บน้ำ ในขณะที่บางชนิดกำลังอยู่ในกระบวนการตั้งรกราก ลงหลักปักฐานในแหล่งน้ำเปิดและน้ำปิดที่เสื่อมโทรม ที่ส่งผลต่อการทำลายทรัพยากรประมงในแม่น้ำอย่างไม่เลือกทำให้เกิดการลดลงของปลาที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรากฏตัวของปลาต่างประเทศ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการปรากฏตัวของสายพันธุ์ต่างประเทศกำลังเพิ่มขึ้น ได้แก่ หน่วยเพาะเลี้ยงปลาที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลายส่วนของประเทศ ขอบเขตที่เปราะบาง การเพาะเลี้ยงปลาต่างประเทศในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเกิดน้ำท่วม การขยายตัวของการประมงและการค้าปลาสวยงาม การกำจัดสายพันธุ์ที่นำเข้ามานั้นมักจะยากหรือเป็นไปไม่ได้เมื่อมันได้ตั้งรกรากในแหล่งน้ำเปิด ...

เทึ่ยวกัมพูชา

ผมจำได้ว่าวันแรก…ที่ลงเครื่องที่สนามบินเมืองเสียมราฐ ผมได้เจอรูปปั้นพระเจ้าสุริยะวรมันที่2 แบะรูปปั้นอีกองค์ที่มีความสำคัญคือยโศวรมันที่2 ที่สร้างเมืองยโสธปุระ พระเจ้าสุริยะวรมัน พระองค์มีความศรัทธาในศาสนาฮินดูในลัทธิไวษณพนิกาย(นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ซึ่งแตกต่างจากกษัตริย์องค์อื่นที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) ทรงโปรดให้สร้างนครวัดเพื่อถวายพระวิษณุ นอกจากการสร้างปราสาทแล้ว พระเจ้าสุริยะวรมันยังเป็นกษัตริย์ที่ทำสงครามมากมาย ทำให้มีการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อบวงสรวงบูชาเทวดา และการออกแบบเมืองเพื่อเชื่อมโยงกับความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เทือกเขาพนมกุเลน ที่มีเทวสถาน มีรูปลึงค์ของพระศิวะเป็นพันๆ เมื่อเวลาน้ำไหลจากเทือกเขาพนมกุเลน ลงมาถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ แม่น้ำเสียมเรียบที่ไหลผ่านเมือง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาดังกล่าว มีความเชื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ในอดีตเมื่อถึงพิธีกรรมประจำปี คนในเมืองจะมาอาบนำ้ในแม่น้ำนี้เพื่อชำระบาปและสร้างความบริสุทธ์ ไม่น่าแปลกที่อิทธิพลแบบฮินดู เชื่อมโยงกับพิธีกรรมและชีวิตประจำวันนี้ ในช่วงเย็น ได้เดินทางช่องเรือไปที่บารายตะวันตก ปราสาทแม่บุญ ที่ขุดพบรูปนารายณ...

สุวรรณภูมิ ในทัศนะทางวิชาการ

นึกถึงตอนไปกัมพูชาในประเด็นเรื่องสุวรรณภูมิ ที่มำให้ตัวเองได้หันมาค้นคว้าและอ่านงานประวัติศาสตร์ในเรืองนี้มากขึ้น และยังเป็นประเด็นที่ทำให้คิดและตั้งคำถามมากขึ้น และกระตุ้นความใคร่รู้และชักนำให้อยากเดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งภาคพื้นทวีป หมู่เกาะคาบสมุทร …ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถ้ามีโอกาส ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มถูกเชื่อมโยงกับชื่อเช่น “ดินแดนทองคำ” (Land of gold/ Suvaṇṇabhūmi /สุวรรณภูมิ), “กำแพงทองคำ” (Suvarṇakudya /สุวรรณกุฎา/Wall of Gold), “เกาะทองคำ” (Islands of Gold /สุวรรณทวีป/Suvarṇadvīpa) และ “คาบสมุทรทองคำ” (Golden Peninsula /Khersonese) หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน คือแผนที่แกะสลักด้วยทองแดงที่มีชื่อว่า Vndecima Asiae Tabvla ซึ่งเป็นแผนที่ของปโตเลมีเกี่ยวกับอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บันทึกของปโตเลมีในศตวรรษที่ 2 ระบุว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “คาบสมุทรทองคำ” หรือ Golden Peninsula (Khersonese) มีหลายทฤษฎีที่พยามอธิบายเรื่องที่มาของชื่อ สุวรรณภูมิ หนึ่งในทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมภูมิภาคนี้จึงถูกเชื่อมโยงกับทองคำ คือเหตุการณ์ร...