ผมจำได้ว่าวันแรก…ที่ลงเครื่องที่สนามบินเมืองเสียมราฐ ผมได้เจอรูปปั้นพระเจ้าสุริยะวรมันที่2 แบะรูปปั้นอีกองค์ที่มีความสำคัญคือยโศวรมันที่2 ที่สร้างเมืองยโสธปุระ
พระเจ้าสุริยะวรมัน พระองค์มีความศรัทธาในศาสนาฮินดูในลัทธิไวษณพนิกาย(นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ซึ่งแตกต่างจากกษัตริย์องค์อื่นที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) ทรงโปรดให้สร้างนครวัดเพื่อถวายพระวิษณุ นอกจากการสร้างปราสาทแล้ว พระเจ้าสุริยะวรมันยังเป็นกษัตริย์ที่ทำสงครามมากมาย ทำให้มีการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อบวงสรวงบูชาเทวดา และการออกแบบเมืองเพื่อเชื่อมโยงกับความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เทือกเขาพนมกุเลน ที่มีเทวสถาน มีรูปลึงค์ของพระศิวะเป็นพันๆ เมื่อเวลาน้ำไหลจากเทือกเขาพนมกุเลน ลงมาถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ แม่น้ำเสียมเรียบที่ไหลผ่านเมือง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาดังกล่าว มีความเชื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ในอดีตเมื่อถึงพิธีกรรมประจำปี คนในเมืองจะมาอาบนำ้ในแม่น้ำนี้เพื่อชำระบาปและสร้างความบริสุทธ์ ไม่น่าแปลกที่อิทธิพลแบบฮินดู เชื่อมโยงกับพิธีกรรมและชีวิตประจำวันนี้
ในช่วงเย็น ได้เดินทางช่องเรือไปที่บารายตะวันตก ปราสาทแม่บุญ ที่ขุดพบรูปนารายณ์บรรทมสินธ์ มีการเล่าว่านครวัดต้องหันหน้ามาที่นี่ ที่มีพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่เป็นศูนย์กลางและเขื่อมโยงกับการกวนเกษียรสมุทร ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเมืองเสียมเรียบคือเมืองที่เทพเจ้าได้บอกกล่าวว่าต้องสร้างความรุ่งเรื่องที่นี่ก่อนไปที่อื่น ที่นี่จึงมีปราสาทที่สำคัญมากมาย
ในพื่นที่แถบบารายตะวันตก น้ำจะไม่แห้ง เหมือนบางรายฝั่งตะวันออก ซึ่ฃถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่อย่างหนาแน่น และถือเป็นเมืองโบราณดั้งเดิมของกัมพูชา
ระหว่างทางผมได้ฟังเรื่องเล่าจากไกด์ท้องถิ่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับการเรียนในกัมพูชาจะมีสองรอบ รอบเช้าเริ่ม07.00 ถึง11.00 ช่วงบ่าย 13.00-17.00 น. แล้วแต่จะเลือกเรียน มีคำกล่าวเล่นๆว่าเป็นเพราะผู้นำไม่อยากให้เรียนมากเพราะกลีวคนจะฉลาดกว่า หรือรู้ทันรัฐ
คนที่ทำอาชีพบางอย่าง เช่นไกด์นำเที่ยวจะมีการจ่ายภาษีอาชีพหรือต่อใบอนุญาตการทำอาชีพ ที่จะต้องจ่ายให้รัฐบาล 2 ปี 120 ดอลลาร์ สำหรับคนเจ็บป่วยนิยมไปรักษาที่สุรินทร์ ขอนแก่น และอุบลราชธานีของไทย เพราะที่นี่ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐต้องจ่ายเงินถึงจะมีเตียง
การรักษาบางครั้งก็ไม่หาย ก็จะต้องพึ่งพาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน หมอรักษาให้ธาตุทั้ง4 มาอยู่รวมกัน ดิน น้ำ ลม ไฟ มีการสวด และดึงให้ธาตุทั้ง4 ขยับมาเท่ากัน ถ้าธาตุทั้ง4 ไม่ขยับมาเท่ากันก็หมดอายุ
ไกด์ชาวเขมรบอกผมว่าอาจารย์อยากพูดเขมรอาจารย์พูดคำราชาศัพท์ก็ได้แล้ว เช่น เสวย บรรทม บาท และอื่นๆ นอกจากนี้คำบาฃคำที่เขมรจะเรียกไม่เหมือนเรา เช่น เราเรียกพิพิธภัณฑ์ แต่เขมรจะเรียกว่าสาระมนตรี สาระแปลว่าความรู้ ของก็ได้ สาระมนตรีจึงเป็นที่เก็บรวบรวมความรู้ภูมิปัญญา พิพิธภัณฑ์ในความหมายบ้านเราคือที่เก็บของ..
อาจารย์ผู้รู้ด้านเขมรท่านหนึ่งบอกว่า ชื่อของเขมร ไม่ยาก ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น พนมเปญ ก็เรียกว่าภูเขายายเพ็ญ หรือเปญ พนมแปลว่าภูเขา มีเรื่องเล่าถึงยายเพ็ญผู้เลื่อมใสในการทำบุญ ได้สร้างศาลาบรรจุพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมา ให้คนกราบไหว้จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว
ความรู้จากประเทศเพื่อนบ้านช่วยเติมเต็มความรู้ของเรา และสืบค้นไปถึงประวัติศาสตร์รากเหง้าของเรา ผู้คน อาหาร ยารักษาโรค รวมถึงความเชื่อต่างๆ วันนี้เดินทางดูทั้งนครวัด นครธมรวมถึงปราสาทบายน
ผมสนใจเรื่งราวของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธศาสนาทั้งแบบหินยานและเถรวาท ที่มีการทุบทำลายรูปเคารพหรือเปลี่ยนแปลง ทำให้ผิดรูปลักษณ์บางอย่าง เช่นจากรูปพระกลายเป็นโยคึ หรือรูปดอกไม้ ตามความเชื่อของกษัตริย์แต่ละยุคที่สมาทานความเชื่อของตัวเองและบูชาเทพที่ตัวเองเคารพ รวมถึงเรื่งราววิถีชีวิต ความเชื่อทางวัฒนธรรม การสู้รบ การทำสงคราม ระหว่างชาวจามกับชาวเขมรและอื่นๆ การเดินทางไปสู้รบที่ต้องเอาครอบครัวไป รวมทั้งการหาอาหาร ภาพสิงสาราสัตว์ล้วนน่าสนใจนักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยาต้องวิเคราะห์
กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ลาว และเวียดนาม กัมพูชามีประชากรราว14 ล้าน คน คำว่าเขมร (Khmer) ใช้อ้างอิงถึงถึงประชาชนชาวกัมพูชา รวมถึงวัฒนธรรมและภาษา กัมพูชาถูกปกครองโดยฝรั่งเศสในช่วง1863-1953 โดยความเชื่อและศาสนาดั้งเดิมของกัมพูชา คือพุทธศาสนา ฮินดู และและอิสลาม รวมถึงการบูชาภูติผีวิญญาณ ที่เป็นสิ่งที่ปฎิบัติร่วมกัน ข้าวเป็นหัวใจสำคัญ คนกัมพูชาปลูกข้าวเป็นหลัก ข้าวที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี หรือการบำรุงมากนัก อาจให้ผลผลิตน้อยเมื่อเทียบกับไทยหรือเวียดนาม ข้าวจ้าวเป็นอาหารหลัก ส่วนข้าวเหนียวใช้ทำของหวาน ของหวานบางประเภท ข้าวถูกนำมาทำขนมเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา เช่น ขนมข้าวต้มมัดใหญ่แทนการบูชาลึงค์ และข้าวต้มมัดดเล็กแทนการบูชาโยนี มีการใช้ข้าวหมักเหล้า มีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้ข้าวเพื่อการบำรุงศาสนา ข้าวเปลือกหรือรำข้าวถูกใช้รองฐานปราสาทร่วมกับหินศิลาแลงและหินทราย เป็นต้น
ในแง่อาหาร ประเทศกัมพูชาถือว่าเป็นแหล่งผลิตด้านการเกษตรสำคัญในภูมิภาค โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งถือเป็นอาหารหลัก คำศัพท์ของชาวเขมร พูดว่าซีบาย (Sii Bay) หมายความว่ากินข้าว รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ทะเลสาบเขมร หรือโตนเลสาบ ที่มีทั้งปลาสด ปลาแห้ง อันเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ (ดังจารึกในปราสาทบายนและนครธมที่มีภาพเขียนคนกำลังปิ้งปลา หาอาหารจากป่า การต้มหมู เป็นต้น) รวมถึงภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่คล้ายปลาร้าบ้านเรา ที่เรียกว่า ปลาโฮก (Phahok)ที่มีกลิ่นอันเฉพาะและเป็นส่วนประกอบสำคัญของสำรับอาหารหรือเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารในจานของชาวกัมพูชาทั้งน้ำพริก ยำ ต้ม ไข่เจียวหรือน้ำจิ้ม
สิ่งที่น่าสนใจคือสไตล์หรือรูปแบบอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเช่น ลาว ไทย และเวียดนาม ดังเช่นอาหารเช้าที่ได้จากข้าวต้ม บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยวหรือเฝอ ในขณะที่อาหารกลางวันจะมีลักษณะเผ็ดร้อนที่ทำจากเนื้อและปลา มีซุปหรือต้มปลาร้อนและต้มส้ม(มีรสเปรี้ยว) รวมถึงซุปเนื้อหรือต้มปลาที่มีมะพร้าวและสับปะรดเป็นส่วนประกอบ ผัดไก่กับเนื้อและแกงเผ็ดก็เป็นที่นิยม ในขณะที่ผลไม้จะเป็นผลไม้ประเภทกล้วย มะพร้าว มะม่วง สับปะรด อินทผลัม ทุเรียน แตงโม เป็นต้น
ในส่วนของเครื่องดื่มชาก็เป็นที่นิยม อีกทั้งกาแฟอะเมซอนที่เข้ามาตีตลาดกัมพูชาและเบียร์อังกอร์ รวมถึงไวน์พื้นเมืองหรือเหล้าพื้นเมือง ทำจากตาลและข้าว นอกจากนี้ในปัจจุบัน กัมพูชายังมีอาหารข้างทางหรือStreet Food ที่สามารถพบอาหารที่หลากหลาย เช่น แมลงต่างๆ งู หอย เป็นต้น รวมถึงผลไม้พื้นเมือง ผลไม้ที่นำเข้าจากจีน เวียดนามและไทย ที่จะพบในแหล่งท่องเที่ยวข้างทางเสมอ
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น