นึกถึงสนามที่บ้านโนนตูม ตำบลตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ …วิถีของชุมชนเกษตรกรรม
บุญผะเหวด เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นบุญประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนสี่(เดือนมีนาคม)ของทุกปี เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยประเพณีดังกล่าว เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าว ที่พวกเขาจะนำผลผลิตที่ได้มาทำข้าวต้ม ขนมจีน ข้าวเกรียบ และข้าวสารเพื่อถวายพระและเป็นกัณฑ์เทศน์
รวมทั้งเชื่อมโยงกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับตำนานชาดกในเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องของทานบารมี มีการเชิญพระอุปครุฑและการแห่พระเวสสันดร(ผ้าเขียนภาพชาดกทั้ง13กัณฑ์) จากหนองน้ำในหมู่บ้านเข้าไปในวัด ในประเพณีดังกล่าวจะมีการเทศน์มหาชาติทั้งหมด 13 กัณฑ์ พันพระคาถา และมีการเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน ตั้งแต่เช้าจนถึงมืด และมีการแห่กันหลอน (ต้นเงิน) เพื่อถวายวัด ภายในวัดจะมีการประดับประดาธรรมมาศน์สำหรับให้พระขึ้นเทศน์กัณฑ์ต่างๆ ด้วยกล้วย อ้อย ดอกไม้ ดอกโน และสิ่งประดับต่างๆ เช่น ปลาตะเพียนสาน นกสาน ใยแมงมุม พวงมาลัย กระดาษสีที่ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชุมชน ที่เป็นการสร้างความสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของคนในชุมชน และสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนผ่านการเข้ามาร่วมกิจกรรม
สนามที่นี่ประมาณปีพ.ศ. 2553 ภาพจากกล้องถ่ายรูป ได้มองเห็นวิถีงาม ถิ่นวัฒนธรรมอีสาน ผ่านไป10 กว่าปี ผมว่าชุมขนเปลี่ยนไปมากจากเดิม ทั้งการทำเกษตรที่น้อยลง ในชุมชมมีแต่คนแก่กับเด็ก อุตสาหกรรมและโครงการพัฒนาใหม่ๆที่เข้ามาในชุมชน การศึกษาแค่เพียงประเพณีวัฒนธรรมที่ยังดำรงอยู่อย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจความซับซ้อนในปัจจุบัน
ผมคิดว่าในอนาคตประเด็นการศึกษาเรื่องผัสสะและเรื่องอารมณ์ รวมถึงความเป็นอัตวิสัยของมนุษย์น่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในพื้นที่ของการศึกษาวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ยิ่งในช่วงยุคการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ที่ผ่านมา มันได้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม กับภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ของผู้คนต่อสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น เสียง ไอ เสียงจาม การนั่งติดกัน การเห็นคนไม่ใส่หน้ากาก การสัมผัสวัตถุสาธารณะ การอฟังเสียงบอกอุณหภูมิของร่างกายว่ามีไข้หรือไม่มีไข้ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนก็เล่นกับผัสสะและอารมณ์ของเราทั้งสิ้น ทั้งเรื่องของการรับรู้ ความรู้สึก ต่อความกลัว ความขยะแขยง ความน่ารังเกียจ ความรู้สึกปลอดภัย ไม่ปลอดภัย ความรู้สึกเสี่ยง หรือไม่เสี่ยงและอื่นๆ....
ยังไม่นับเรื่องอื่นๆในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในปัจจุบัน ที่มักจะถูกอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบทุนนิยม การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม การผลักคนบางกลุ่มให้เป็นชายขอบ หรือกระบวนการทำลายสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม แต่ก็ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องอารมณ์และผัสสะมากขึ้น เช่น เสียงสัญญาณเตือนระเบิดเหมือง เสียงระเบิดเหมือน ฝุ่นฟุ้งที่กระจายในอากาศ ภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปจากตาเนื้อที่เห็น แม่น้ำเปลี่ยนสีดำจากระบบอุตสาหกรรม กลิ่นเหม็นจากโรงงานสุรา โรงงานอ้อย โรงมันสำปะหลังหรือโรงงานกระดาษ ได้ส่งผลกระทบต่อความคิด ความรู้สึกของผู้คนรวมถึงความเจ็บป่วยทางสุขภาพ.....
ประเด็นทางมานุษยวิทยามีให้ทำตลอด หลากหลายและลื่นไหล เราอาจดึงบางเรื่องที่ถูกละเลยมองข้าม กลับเข้ามาในพื้นที่ศึกษาเช่นเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก หรือศึกษาในพื้นที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งพื้นที่ออฟไลน์ ออนไลน์ ตัวตนของผู้วิจัยที่เข้าไปข้างใน ออกมาข้างนอก การรับรู้และศึกษาประสบการณ์ของผู้อื่น หรือการสร้างความรู้ ผ่านการมีประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่น การศึกษาเชิงวิพากษ์ การสะท้อนย้อนคิดต่อตัวเอง ต่อคนอื่น ต่อสนาม ต่องานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณนา รวมถึงสะท้อนคิดเกี่ยวกับอารมณ์ในงานสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณา รวมถึงการมองประเด็นในเชิงแนวคิดทฤษฎีต่างๆให้ชัดเจน เช่น การมองความทุกข์ทางสังคม ผ่านการให้ความหมายของผู้คน การทำความเข้าใจต่อบริบทเงื่อนไขที่ประกอบสร้างความทุกข์และการรับรู้ต่อความทุกข์ของผู้คน การมองว่าสิ่งเหล่านี้คือภาพแสดงทางวัฒนธรรมของความทุกข์ทรมานของมนุษย์ในสังคม.....
ความท้าทายคือเราจะเอาปรากฏการณ์ แนวคิด ทฤษฎี ประเด็นปัญหาหรือสิ่งที่เรารับรู้จากการอ่าน การสังเคราะห์งาน ออกมาให้เกิดเป็นข้อถกเถียงใหม่ๆที่น่าสนใจและสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างไร...งานหลายชิ้นไม่สามารถชี้ให้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน เพราะขาดการทบทวนวรรณกรรมที่มากพอ
งานทางมานุษยวิทยา ผมคิดว่าถ้าเราอ่านมากพอและเข้าใจกับสิ่งที่อ่าน เราสามารถวิพากษ์กับแนวคิดและตัวงานศึกษาต่างๆได้ทั้งหมด ทำให้ได้เปิดมุมมอง เห็นจุดแข็งจุดอ่อนในงานนั้นๆ ที่สำคัญอย่าเพิ่งเชื่อและคล้อยตามกับสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เพราะสิ่งที่ถูกศึกษา อาจเป็นความจริงเพียงบางส่วน ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด แต่เราควรตั้งคำถามและวิพากษ์ความรู้ความจริงที่เรารับรู้นั้น อย่างรอบด้านแหลมคม และในขณะเดียวกันการเข้าไปปฎิสัมพันธ์กับสนามอย่างยาวนาน ต่อเนื่องก็จะเป็นแหล่งอ้างอิงกับการอธิบายที่น่าเชื่อและเป็นพลังอธิบายที่มีสีสรรค์และน่าสนใจ..ผมเชื่อมั่นว่าพวกเราสามารถทำได้
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น