ถ้าผมมีเวลา ผมอยากจะเขียนหนังสือเรื่องเจดีย์ ลัทธิเจ้าวัด กับโลกในจิตนาการของคนกะเหรี่ยง และรวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับเรืองเจดีย์จากที่ต่างๆ ที่ตัวเองได้ลงไปสำรวจและเก็บเรื่องราวไว้ เลยลองร่างไอเดียไว้อีกเรืองหนี่ง
จากคำกล่าวที่ว่า ชาวกะเหรี่ยงคาดหวังถึงการกลับมาของพระอริยะกษัตริย์หรือพระศรีอริยะเมตไตร์ที่กล่าวอ้างถึงตลอดการสนทนากับผม และพวกเขามีความเชื่อว่าผู้มีบุญนี้ถูกส่งมาให้เป็นบุคคลสำคัญในวิธีคิดแบบจักรวาลวิทยา เกี่ยวกับกษัตริย์หรือผู้มีบุญหรือผู้ปลดปล่อยที่ใกล้จะมาถึง หรือเชื่อในพระโพธิสัตว์ ที่กะเหรี่ยงเรียกว่า mìn laùng
ชาวกะเหรี่ยงไม่ว่าที่ไหน ก็จะมีประเพณีความเชื่อที่ว่าพระเจ้ากำลังจะมาเยือนโลกนี้ในร่างมนุษย์ ผมอ้างอิงจากงานของ Mikael Gravers (2001) เรื่อง Cosmology, Prophets, and Rebellion Among the Buddhist Karen in Burma and Thailand เขาได้กล่าวถึงคำว่า ไจ๊ย์ ไคหรือไช หรือ”Chai’ คือคำที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามอญ มีความหมายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระพุทธเจ้า “sacred being,”หรือ “Buddha.”
ดังนั้นแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ต้องมีสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทน ที่สร้างในรูปของเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำจากต้นไม้ ไม้ไผ่ จากปูน จากดิน จากทราย ที่หาได้ในท้องถิ่น
เจดีย์มักสร้างขึ้นในมุมที่เงียบสงบหรือสูงสุดของหมู่บ้าน ไม่ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นที่ไหนก็ตาม ล้วนก็มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับชีวิตทางจิตวิญญาณของชาวบ้าน และเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมของพวกเขา ดังนั้นศาสนาและความเชื่อ เป็นสิ่งที่พวกเขาเชื่อมโยงกับสิ่งเหนือธรรมชาติและทำให้พวกเราเข้าใจและสัมผัสถึงชีวิตประจำวันของผู้คนกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิม กลุ่มชนเผ่าที่เปลี่ยนแปลง และคนเมืองสมัยใหม่ ที่ใดมีหมู่บ้านและชาวบ้านที่นับถือศาสนา นับถือผี หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ก็จะมีการสร้างสัญลักษณ์ ในรูปแบบเจดีย์ประจำหมู่บ้าน วัดประจำหมู่บ้าน หอผีประจำหมู่บ้าน และศาลประจำหมู่บ้าน อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางจิตวิญญาณและศาสนาเพื่อให้คนในพื้นที่ได้แสดงความเชื่อและการปฏิบัติของตน ที่นำพาผู้คนไปสู่ชีวิตแห่งความฝัน ความหวัง ความจริง ความดี และความงดงามสูงสุด
พื้นที่เจดีย์ถือเป็นสถานที่ที่ผสมผสานกิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ากับพิธีกรรมความเชื่อพื้นบ้าน และพิธีกรรมทางศาสนา เจดีย์เป็นโรงเรียนแบบดั้งเดิมที่สอนชาวบ้านเกี่ยวกับความรู้ คุณธรรม และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์งานฝีมือ ดังเช่นขาวกะเหรี่ยงในช่วงไหว้เจดีย์จะมาช่วยกันสร้างสะเดิ่ง เจดีย์ และการทำพวงมาลัยที่เรียกว่าทู้ค้งเพล๊ะกัน รวมถึงงานหัตถกรรม อื่นๆ เจดีย์จึงเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับความเชื่อ พุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผี และสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ศิลปะหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ชานพื้นเมืองได้อาศัยพึ่งพิงทางจิตวิญญาณขณะที่พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ เจดีย์จึงเป็นสถานที่จัดกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชน งานเทศกาล การละเล่นพื้นบ้าน และการแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่าในรูปแบบต่างๆ
ท่ามกลางการกระแสโลกาภิวัตน์ ความทันสมัย การบุกรุกของคนภายนอกและผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาหลายทิศทางจากภายนอก เจดีย์ในแต่ละหมู่บ้านจึงเป็นเสมือนฐานที่มั่น เพื่อปกป้องและอนุรักษ์ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตัวเอง ดังตะเห็นได้จากธรรมเนียมการสร้างเจดีย์และสิ่งตกแต่งเจดีย์ ทำกันมาอย่างยาวนาน มีการศึกษาและหลักฐานให้เราสืบค้นมากมายถึงความเชื่อดังกล่าว
ดังตัวอย่าง ประเพณีของชาวล้านนาที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อเดินไปตามถนนในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีประเพณีที่น่าสนใจและปฏิบัติกันในบริเวณวัดแต่ละแห่ง ได้แก่ การทำเจดีย์ทราย และการถวายธง “ตุง” ประเพณีเหล่านี้มีอายุย้อนกลับไปหลายศตวรรษ และถึงแม้จะได้รับการปรับให้เข้ากับยุคปัจจุบันแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งการทำเจดีย์ทรายในวัดเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาในอาณาจักร ตามความเชื่อในท้องถิ่น ผู้คนนำทรายกลับมาที่วัดเพื่อชดเชยทรายที่พวกเขาอาจสะสมไว้ใต้รองเท้าโดยไม่ได้ตั้งใจในปีที่ผ่านมา ต่อมาวัดจะใช้ทรายนี้ตลอดทั้งปีในการก่อสร้างที่หลากหลาย
ในช่วงต่อมา การทำเจดีย์ทรายเป็นกิจกรรมยอดนิยมในหมู่คนหนุ่มสาวในจังหวัดเชียงใหม่ ทรายถูกนำมาจากแม่น้ำปิงซึ่งในขณะนั้นแห้งมากจนผู้คนสามารถเดินจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้ เยาวชนหญิงที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ปรากฏตัวในที่สาธารณะก็ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมทรายได้ หลังจากสาดน้ำกันในแม่น้ำปิงแล้วก็จะรวบรวมทรายในชามเงินหรือถังเงินแล้วนำไปที่วัดใกล้เคียง ในบริเวณวัดจะมีการสร้างเจดีย์เล็กๆ ต่อมาได้กลายมาเป็นเจดีย์ทรายขนาดใหญ่องค์เดียว
ในช่วงศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ตุงหรือธงที่ใช้ในพิธีกรรมเหล่านี้จะถูกวางบนเจดีย์ทราย ตุงเป็นธงแนวตั้งที่ใช้ในพิธีทำบุญทางพุทธศาสนาเพื่อกำหนดเขตแดนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีพิธีทางพุทธศาสนาใดที่จะถือว่าสมบูรณ์ได้หากไม่มีตุง ในเชียงใหม่ มีการใช้ตุงประเภทต่างๆ ในโอกาสต่างๆ เช่น ขบวนพาเหรด พิธีทางพุทธศาสนา งานศพ และงานเทศกาล ซึ่งอาจทำจากกระดาษ ผ้า ใบตาล ไม้ หรือเหล็กชุบสังกะสี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตุงที่นิยมใช้ประกอบพิธีในวัดมากที่สุดคือ “ตุงสายหมู” และ “ตุงเดี่ยว” ทำด้วยกระดาษรูปสามเหลี่ยม บางแผ่นเรียบ บางแผ่นมีสีสัน และบางแผ่นประดับด้วยสัญลักษณ์ของสัตว์ตาม 12 นักษัตร และนำไปวางบนยอดและรอบเจดีย์ทราย
สิ่งที่น่าสนใจที่ผมพบเกี่ยวกับเจดีย์ของที่ต่างๆคือ การสร้างเจดีย์จากดินและไม้ ก็เห็นได้อย่างชัดเจน ของกลุ่มชาวกะเหรี่ยงและพม่าในจังหวัดหวัดตาก ที่บ้านปะน้อยปู่ ที่สร้างเจดีย์บนเขา มีการขนดินมาทำเป็นทรงเจดีย์ โดยมีการเอาไม้มาวางโครงเจดีย์และใช้ดินเหนียวโบกทับ รวมถึงการสลักไม้ทั้งต้นทำเป็นยอดเจดีย์ ที่เชื่อมโยงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เบื้องบนและใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน
ธรรมเนียมการสร้างเจดีย์สูง หรือสิ่งก่อสร้างบนที่สูง มีมาตามคติคยามเขื่อดังเดิมของพุทธ และฮินดู ที่เชื่อในศูนย์กลางของจักรวาล กับที่สถิตของเทพที่ยิ่งใหญ่อย่างเช่น พระศิวะที่ประทับ ณ เขาไกรลาศ เขมรเลยมีธรรมเนียมการสร้างสิ่งก่อสร้าง ปราสาทบนพนม หรือภูเขา เช่น พนมกุเลน ที่เชื่อว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้า หรือสมมติเทพในร่างมนุษย์ บางพื้นที่ที่เป็นที่ราบ ก็จะใข้วิธีการถมดินให้สูง สร้างฐานปราสาทที่สูงเพื่อใช้แทนความเป็นภูเขา และเชื่อว่าสิ่งนี้จะยิ่งใหญ่ มีอำนาจและเป็นอมตะเช่นเดียวกับเทพเจ้าหรือพระเจ้า บางแห่งจึงสร้างถวายกับวิญญาณกษัตริย์ บรรพบุรุษ และบรรจุร่างหรืออัฐิของกษัตริย์
ในขณะที่เจดีย์ของกลุ่มชาติพันธ์บางกลุ่ม ใช้เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงพวกเขากับเทพสูงสุดที่พวกเขาเชื่อถือ และสร้างขึ้นเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นเพื่อคุ้มครองให้ชีวิตปลอดภัยและบันดาลให้พืชผลที่ปลูกมีความสมบูรณ์
ในการมองปรากฏการณ์นี้ หากเราใช้มุมมองในทางมานุษยวิทยาการเมือง เข่น หากมองไปที่การสร้างเจดีย์จำนวนมากในเมียนมาร์ ก็จะนึกถึงานศึกษาของสเติร์นซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการวิจัยเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองในพม่าตั้งแต่ยุคอาณานิคมถึงหลังอาณานิคม ที่ชนกลุ่มน้อยต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการเมียนมาร์ มองว่าขบวนการเหล่านี้เป็นขบวนการในยุคมิลเลนเนียลและเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจของกลุ่มชาติพันธุ์ต่อระเบียบสังคมบางอย่างที่ละเลยหรือกดขี่พวกเขาในปัจจุบัน (Stern 1968: 297) เช่นเดียวกับนักวิชาการที่ชื่อ Adas (1979) เรียกคนเหล่านี้ว่า Millenarian เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มุมมองแบบยูโทเปียที่เชื่อมโยงกับโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดมุมมองที่ปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์และเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงมนทางโลกมากขึ้น นั่นก็คิอการผสมผสานกัน ในเรื่องการสร้างขอบเขต พื้นที่แห่งสันติภาพและศีลธรรมในโลกอุดมคติ กับโลกภายนอกซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันสำหรับการเคลื่อนไหวทางความเชื่อและทางสังคม หากไม่มีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ ยุคใหม่ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง
ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในพม่าคือ ชาวกะเหรี่ยงไม่ได้แยกมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และศาสนาความเชื่อในโลกออกจากกัน ความวุ่นวายทางสังคมหลังจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษ (พ.ศ. 2367-2429) แสดงให้เห็นว่าระเบียบทางสังคมและศีลธรรมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและถูกเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขให้ดีขึ้น
ชาวกะเหรี่ยงบางคนเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์เพื่อที่จะได้รับความรู้ อำนาจ และความคุ้มครอง และชาวกะเหรี่ยงที่เป็นคริสเตียนบางคนก็ต่อสู้กับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาพุทธ ในกระบวนการนี้ ศาสนาได้ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากชุมชนกะเหรี่ยงในท้องถิ่น และในขณะเดียวกัน อัตลักษณ์ทางศาสนาก็ทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองด้วยเช่นกัน
การปฏิบัติทางศาสนาหลายระดับ หลายชั้นในหมู่ชาวกะเหรี่ยงท้องถิ่นบนที่ราบของรัฐกะเหรี่ยงในประเทศพม่า ภายใต้บริบทของพลวัตทางสังคมและการเมืองที่ใหญ่กว่าเรื่องของพุทธศาสนาในพม่า ภายใต้ปรากฏการณ์ที่กลุ่มชาติพันธุ์มีการปฏิบัติทางศาสนาแบบผสมผสาน โดยเฉพาะในหมู่ชาวกะเหรี่ยงชาวพุทธ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่และอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ถูกโต้แย้งและต่อรองกันอย่างไร รบมถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวพุทธในด้านหนึ่ง และชาวพุทธในฐานะชนกลุ่มน้อยบนที่ราบลุ่มซึ่งสอดคล้องกับรัฐในอีกด้านหนึ่ง ที่ทำให้เห็นการต่อรองกับมุมมองที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นส่วนใหญ่ ที่สัมพันธ์กับความเขื่อในวิญญาณที่เรียกว่า Taki และการปฏิบัติบูชาเจดีย์ที่เรียกว่าดูแว”Duwae”
โลกภายในหรือโซนของ yathe และโบงโค้ว์ (boung kho )เป็นขอบเขตของบุญ ความไม่รุนแรง และศีลธรรม ที่ค่อนข้างร่มเย็น สะอาด และกลมกลืน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ขอบเขตอันศักดิ์สิทธิ์ ตรงกลางมีเจดีย์(Pagoda) และซายัต( zayat )โลกภายนอกถูกควบคุมโดยพลังทำลายล้าง มันร้อนและขัดแย้งไม่ลงรอยกัน จุดนี้เองที่สิ่งที่เรียกว่า mìn laùng มีความสามารถในการเข้าแทรกแซง และเขาต้องต่อสู้เพื่อขยายขอบเขตด้านในจากรุกรานภายนอก ก่อนที่พระศรีอริยะ(Ariya) จะลงมาเยือน การทำลายล้างจะลดพื้นที่อันเงียบสงบลงเหลือเพียงพื้นที่เล็กๆ ถ้าเราแปลสัญลักษณ์นี้ไปสู่การปฏิบัติทางโลกของชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้ เราก็จะพบว่าชาวมอญและพม่า จะใช้แบบจำลองทางจักรวาลวิทยาเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลง วิกฤตการณ์ และความทันสมัย ในช่วงเวลาแห่งวิกฤตเช่นกัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศาสนาหรือความเชื่อในลัทธิเจ้าวัด เจดีย์ ด้ายเหลือง ที่เรียกว่า ลู้บ่อง ( Lu Baung ) ในช่วงหนึ่งกลายเป็นเรื่องยากมากที่จะรักษาไว้เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ นับแต่ช่วงทศวรรษ 1970 พื้นที่ป่าขนาดใหญ่หายไป และหลายหมู่บ้านสูญเสียการควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ที่พวกเขาเคยทำการเกษตร การสร้างเขื่อนศรีนครินทร์เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม การประกาศพื้นที่ป่า 16,000 เฮคเตอร์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และกลุ่มชสติพันธุในหลายหมู่บ้านหลายแห่งต้องอพยพออกไปและกลายเป็นคนพลัดถิ่น
ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในช่วงทศวรรษ 1970 และชาวกะเหรี่ยงต้องทนทุกข์ทรมานจากสงครามทางความคิดซึ่งสิ้นสุดลงในปี 1982 หมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในป่าถูกบังคับให้ละทิ้งเกษตรกรรมแบบหมุนเวียนและลดพื้นที่เพาะปลูกของพวกเขา ในช่วงปี พ.ศ. 2543 หมู่บ้านที่ยังนับถือลัทธิเจ้าวัดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ถูกบังคับให้ย้ายออกโดยกรมป่าไม้และกองทัพ ซึ่งทำลายอาคารทางศาสนาและเจดีย์ของพวกเขา ..หลังจากที่ข่าวของพวกเขาได้รับความสนใจจากสื่อ ในที่สุดพวกเขาก็ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อได้ แต่ก็ยังคงถูกกระทำจากนโยบายรัฐอย่างต่อเนื่อง ในบางหมู่บ้านก็ยอมละทิ้งศาสนาของตนและหวังพึ่งพระภิกษุทางพุทธศาสนาให้เป็นผู้นำ บางพื้นที่คนรุ่นใหม่ต่อต้านกฎเกณฑ์ทางความเชื่อเดิม โดยอ้างว่าล้าสมัยและขัดขวางการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตสมัยใหม่และทำให้พวกเขาคงสภาพความยากจนไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ. 2543 มีลัทธิพิธีไหว้เจดีย์หลู่บงขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่กะเหรี่ยงโปว์ จังหวัดอุทัยธานี โดยมีชาวกะเหรี่ยงเข้ามาร่วมจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ห่างไกลมาร่วมงานกันอย่างมากมาย
ชาวกะเหรี่ยงในบริเวณนี้เกือบจะละทิ้งพิธีกรรมลู้บอง และการเปลี่ยนแปลงจากการที่เหลือโบวคู้ว์เพียงคนเดียวที่จะประกอบพิธีกรรมไหว้เจดีย์ได้ กลายมาเป็นการอุบัติขึ้นของเจ้าวัดในพื้นที่ต่างๆที่เคยสูญหายไปและกลับมารื้อฟื้นพิธีกรรมและวัฒนธรรมของตัวเอง ดังนั้นการดำรงอยู่ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความทรงจำทางสังคมของแบบจำลองจักรวาลวิทยาของชาวกะเหรี่ยงจึงยังคงอยู่และสามารถระดมผู้คนให้ร่วมกันต่อต้านหรือชะลอการเปลี่ยนแปลงและสกัดความลุ่มหลงในโลกสมัยใหม่ ( Comaroff 1997) นี่อาจเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูอัตลักษณ์ ความพยายามที่จะฟื้นการควบคุมทางศีลธรรมและจิตวิญญาณโดยสื่อสารไปยังโลก "ภายนอก" และคนภายนอก
ผมได้ไปสำรวจชุมขนกะเหรี่ยงหลายแห่ง เช่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานี รวมถึงนครสวรรค์ ทำให้เห็น การรักษาสัญลักษณ์ความเชื่อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง เข่น การนับถือเจดีย์ การผูกข้อมือ และการมีเจ้าวัด แม่ย่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ แม้ว่าบางส่วนจะเขื่อมโยงตัวเองกับพุทธศาสนาและคริตส์ศาสนา แต่พื้นที่จิตวิญญาณเหล่านี้ก็เปิดพื้นที่ให้คนข้างนอก คนที่เชื่อในศาสนาที่แตกต่างเข้ามาร่วม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และเข้าใจความคิด ตัวตนของขาวกะเหรี่ยงมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ที่ปรากฏในพื้นที่เจดีย์ เช่น นกในเสา ที่มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น นกการะเวก นกทู้กะเด่วไป๋ หงส์ และอื่นๆ
***ขอบคุณภาพเก่าจาก Mikael Gravers (2001) ในเรื่อง Cosmology, Prophets, and Rebellion Among the Buddhist Karen in Burma and Thailand ที่ทำให้เห็นภาพพิธีไหว้เจดีย์เมือ เกือบ 30 ปีที่แล้วครับ
ภาพจากการลงสนาม อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ตาก และชุมชนกะเหรี่ยงที่ต่างๆ
*** ขอบคุณภาพจากคุณหน่อยรัตนา ภูเหม็น
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น