นึกถึงตอนไปกัมพูชาในประเด็นเรื่องสุวรรณภูมิ ที่มำให้ตัวเองได้หันมาค้นคว้าและอ่านงานประวัติศาสตร์ในเรืองนี้มากขึ้น และยังเป็นประเด็นที่ทำให้คิดและตั้งคำถามมากขึ้น และกระตุ้นความใคร่รู้และชักนำให้อยากเดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งภาคพื้นทวีป หมู่เกาะคาบสมุทร …ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถ้ามีโอกาส
ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มถูกเชื่อมโยงกับชื่อเช่น “ดินแดนทองคำ” (Land of gold/ Suvaṇṇabhūmi /สุวรรณภูมิ), “กำแพงทองคำ” (Suvarṇakudya /สุวรรณกุฎา/Wall of Gold), “เกาะทองคำ” (Islands of Gold /สุวรรณทวีป/Suvarṇadvīpa) และ “คาบสมุทรทองคำ” (Golden Peninsula /Khersonese)
หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน คือแผนที่แกะสลักด้วยทองแดงที่มีชื่อว่า Vndecima Asiae Tabvla ซึ่งเป็นแผนที่ของปโตเลมีเกี่ยวกับอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บันทึกของปโตเลมีในศตวรรษที่ 2 ระบุว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “คาบสมุทรทองคำ” หรือ Golden Peninsula (Khersonese)
มีหลายทฤษฎีที่พยามอธิบายเรื่องที่มาของชื่อ สุวรรณภูมิ หนึ่งในทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมภูมิภาคนี้จึงถูกเชื่อมโยงกับทองคำ คือเหตุการณ์ราวปี 300 ก่อนคริสตกาล เกิดการหยุดชะงักในขบวนการค้า ที่จัดหาทองคำจากไซบีเรียผ่านเส้นทางสายไหมไปยังเอเชียใต้ (โดยเฉพาะจักรวรรดิมอริยะ(Mauryan empire) ซึ่งในช่วงรุ่งเรือง รวมถึงตอนเหนือและกลางของอินเดีย รวมทั้งบางส่วนของอิหร่าน ปากีสถาน และอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) นักรบเร่ร่อนได้ทำลายหลายเมืองในภูมิภาคมาร์จิอานาและอาเรีย (ในปัจจุบันคือ ตุรกีส่วนตะวันออกและอัฟกานิสถานตะวันตกตามลำดับ) ก่อนปี 290 ก่อนคริสตกาล
เส้นทางการค้านี้อยู่ในสภาวะนี้ จนกระทั่งช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิโรมันนามว่า นีโร (Nero ) อย่างไรก็ตาม ในข่วงนั้นมีความพยายามที่จะลดปริมาณทองคำในเหรียญเงินของโรมเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้เหรียญทองของโรมถูกยอมรับน้อยลงในการทำธุรกรรมทางการค้าในเอเชียใต้ ซึ่งถูกใช้เป็นทองคำแท่งที่บริสุทธิ์
การจัดหาทองคำไปยังเอเชียใต้ยังได้รับผลกระทบจากการควบคุมเงินตราและโลหะมีค่าในศตวรรษที่ 2 ขอฃปีคริสต์ศักราช ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian )ในรัชสมัย 69–79 ปีคริสต์ศักราช ได้ออกกฎระเบียบที่ห้ามการส่งออกโลหะมีค่าจากจักรวรรดิโรม จึงทำให้เกิดการขาดแคลนโลหะมีค่า เช่น ทองคำ ซึ่งอาจกระตุ้นให้ชาวเอเชียใต้ค้นหาแหล่งทองคำใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทดแทน
หรืออีกทฤษฎีหนึ่งคือ ความต้องการสินค้าหรูหราที่เพิ่มขึ้นได้กระตุ้นให้ชาวเอเชียใต้สำรวจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน แต่ทฤษฎีนี้ยังไม่ได้รับการสำรวจอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาถึงบทบาทของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดหาทองคำอย่างกระตือรือร้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในหลายด้านของห่วงโซ่คุณค่าและมูลค่าของการค้าทองคำในดินแดนแถบนี้
การค้าในทะเลโบราณระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ก่อนศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นว่ามีการส่งผ่านสินค้าที่เป็นรูปธรรมระหว่างสองภูมิภาคนี้อย่างเป็นสองทาง ผลของปาล์มจากต้นหมาก ผลไม้ เช่น ส้มโอ มะม่วง และกล้วย รวมถึงไม้จันทน์ ถูกขนส่งไปทางตะวันตกสู่บางส่วนของเอเชียใต้และแอฟริกาในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในขณะเดียวกัน เครื่องปั้นดินเผาแบบอินเดียที่มีลวดลายแบบรูเล็ต (Rouletted Ware)ซึ่งมีลักษณะเด่นคือการใช้ลูกกลิ้งที่มีลวดลายติดอยู่ เมื่อลูกกลิ้งนี้ถูกกลิ้งบนผิวของเครื่องปั้น จะสร้างลวดลายที่มีความสม่ำเสมอและเป็นเอกลักษณ์บนพื้นผิว ที่ใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่ม ได้ถูกค้นพบในหลายพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น คาบสมุทรมลายู ไทย เวียดนาม ชวา และบาหลี ในช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล การค้าทองคำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงน่าจะเริ่มต้นจากการพึ่งพาเครือข่ายการค้าที่มีอยู่แล้ว
ในบันทึกของ Bū Zayd al-Sīrāfī) ในศตวรรษที่ 9–10 ได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางเกี่ยวกับจีนและอินเดียในหนังสือ Akhbār al Ṣīn wa-l-Hind ซึ่งเล่าเรื่องราวของทองคำที่ถูกสะสมในสมัยของกษัตริย์ชวาและการแจกจ่ายทองคำเหล่านั้นให้แก่ประชาชนหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดความรุ่งเรืองของกษัตริย์ โดยผู้ดูแลของกษัตริย์จะนำแท่งทองคำมาวางลงในบ่อน้ำซึ่งติดกับพระราชวัง เมื่อระดับน้ำขึ้น น้ำจะท่วมแท่งทองคำและแท่งทองคำอื่น ๆ ที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ เมื่อระดับน้ำลดลง น้ำจะซึมออกและเปิดเผยแท่งทองคำเหล่านั้นให้เห็น พวกมันจะเปล่งประกายเมื่อถูกแสงแดด และกษัตริย์สามารถเฝ้าดูพวกมันได้เมื่อเขานั่งอยู่ในห้องที่มองเห็น การทำเช่นนี้ดำเนินต่อไปทุกวันตราบเท่าที่กษัตริย์องค์นั้นยังมีชีวิตอยู่ หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ แท่งทองคำจะถูกนับ กระจาย และแบ่งปันให้กับสมาชิกในพระราชวงศ์ ชาย หญิง และเด็ก รวมถึงผู้บัญชาการทหารและทาส ตามลำดับชั้นและตามขนบธรรมเนียมที่ยอมรับสำหรับผู้รับแต่ละประเภท ทองคำที่เหลือหลังจากนั้นจะถูกแจกจ่ายให้กับคนจนและผู้ขัดสน จนมีคำกล่าวว่า “ยิ่งกษัตริย์ปกครองนานมากเท่าไหร่และยิ่งมีแท่งทองคำมากเท่าไหร่ที่เขาทิ้งไว้หลังจากสิ้นพระชนม์ ความรุ่งเรืองของพระองค์ในสายตาประชาชนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ในบันทึกของเอกสารจีนเช่น Wang Dayuan ได้บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับคนป่าบนเกาะ(Island Barbarians ) และ Fei Xin กล่าวถึงทองคำว่าเป็นทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกสารเหล่านี้กล่าวถึงที่นั่งของขุนนางในอาณาจักร เจนล่าหรือเจนละ (Zhenla) ซึ่งปัจจุบันคือบางส่วนของกัมพูชา ไทย และลาว ว่าทำจากทองคำ ทุกคนใช้ถาดชาทองคำ รวมถึงจานและถ้วยที่ทำจากทองคำ รถพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ทำจากทองคำและทองคำถูกยอมรับเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
สำหรับผมแล้ว ผมว่าเวลาเราพูดถึงสุวรรณภูมิ เราต้องไม่ลืมว่าสุวรรณภูมิไม่ใช่แค่พื้นที่ ช่วงเวลา หรือเพียงวัตถุที่สะท้อนร่องรอยของประวัติศาสตร์ เท่านั้น แต่จุดที่เชื่อมโยงสุวรรณภูมิคือวัฒนธรรม ทั้งภาษา ความเชื่อ วิถีชีวิต ที่มีร่วมกันมากกว่า ที่เรียกว่าวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ที่ไม่มีใครอ้างความเป็นเจ้าของหรือผูกขาดวนที่มาหรือความดั้งเดิมเก่าแก่
สุวรรณภูมิ เป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ วัตถุ และผู้คน เวลานึกถึงสุวรรณภูมินอกจากคำถามที่ว่าสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน หน้าตาสุวรรณภูมิเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับที่อื่นๆที่ร่วมสมัยเดียวกัน หรือประเทศไทยอยู่ส่วนไหนของสุวรรณภูมิ ใครเป็นจุดเริ่มต้นของสุวรรณภูมิ
ผมมองว่า สุวรรณภูมิ เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัย ผู้คนในสุวรรณภูมิมีการปะทะสังสรรค์กันอย่างหลากหลาย ทั้งด้านศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธศาสนา และการค้า ทั้งผ้าไหม ข้าว ทองคำ เกลือ และสินค้าท้องถิ่นอื่นๆ ผู้คนในปัจจุบันผู้คนมีสำนึกต่อสุวรรณภูมิอย่างไร ใครคือผู้คนในสุวรรณภูมิ หรือผู้คนในสุวรรณภูมิมีใครบ้าง
ดังนั้นเมื่อนึกถึง สุวรรณภูมิในปัจจุบันคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีทั้งความแตกต่างหลากหลายของผู้คน มีความขัดแย้ง มีความร่วมมือ มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ดินแดนสุวรรณภูมิอาจไม่ใช่ดินแดนของทองคำ แต่อาจเป็นพื้นที่ของความเจริญรุ่งเรืองทสงวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ข้าว ปลาอาหาร หรือเกลือ เป็นต้น
ดินแดนสุวรรณภูมิจึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ดินแดนนี้มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งทองคำ หรือแผ่นดินทอง" ซึ่งสะท้อนถึงความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคในอดีต
ดังนั้น ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหลักฐานที่ชี้บ่งถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตผ่านเอกสารบันทึกโบราณทั้งจากนักเดินทางชางจีน และนักเดินทางชาวตะวันตก (มาร์โคโปโล) ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และงานศิลปะต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและการค้าขายระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้
ใครสนใจลองอ่านงาน The Archaeology of Early Southeast Asia ของ Charles Higham (1990) ที่มีการสำรวจการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของดินแดนสุวรรณภูมิ หรืองาน Southeast Asia in the Early Modern Era: Trade, Power, and Belief ของ Anthony Reid (1993) เป็นหนังสือที่สำรวจประวัติศาสตร์การค้าและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบทบาทของสุวรรณภูมิในยุคนี
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น