ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2021

โควิดกับมุมมองของนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นักมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาการแพทย์ทำอะไรภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว? ผมคิดสิ่งที่นักมานุษยวิทยาทำ และผมในฐานะนักมานุษยวิทยาควรทำคือการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ผ่านการสังเกต การเข้าไปมีประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม การเขียนอธิบายพรรณนาข้อมูลจากสนาม ทั้งประสบการณ์ ทัศนะ มุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ แสวงหาวิธีที่จะนำข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในสถานการณ์เหล่านี้มาเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจและเสนอมุมมองต่อปัญหาดังกล่าว การระบาดใหญ่ของCovid 19 ทั่วโลกและการระบาดจะเป็นระลอก 3 ระลอก 4 ของสังคมไทย ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม การใช้ชีวิต อารมณ์ความรู้สึก ความหวาดกลัว ที่เกี่ยวโยงกับสภาวะของการสูญเสียคนที่รัก สูญเสียวิถีชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคมบางอย่าง การทำงานแบบเดิม การใช้ชีวิตที่เคยอยู่อย่างอิสระ ความเสี่ยงในการทำงานการใช้ชีวิตและความรู้สึกถึงปลอดภัยของตัวเอง รวมถึงการแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่หลากหลายในการจัดการกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทั้งในแง่ของภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาสากล รวมถึงการมองลง...

มุมมองต่อเรื่องวัคซีนโควิด ในสายตานักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ว่ าด้วยเรื่องวัคซีน...เราฉีดเพื่อใคร เราไม่ได้แค่พูดเรื่องความรู้แต่มันคือเรื่องของความรู้สึกด้วย.. การระบาดใหญ่ของ COVID-19 เมื่อเปรียบเทียบกับการแพร่ระบาดครั้งก่อนๆของโลก ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกกลัว และวิตกกังวล (Blakey & Abramowitz 2017; Wheaton et al 2012) Holingue et al แสดงให้เห็นในการศึกษากลุ่มประชากรของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา พบว่าความกลัวและความวิตกกังวลในการติดเชื้อและเสียชีวิตจาก COVID-19 นั้นสัมพันธ์กับความทุกข์ทางจิตที่เพิ่มขึ้น (Holingue et al 2020) นอกจากนี้ มาตรการป้องกันสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดำเนินการเฉพาะบุคคลเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้เพิ่มความน่าจะเป็นที่จะเกิดความทุกข์ทางจิตใจ การหมกมุ่นกับการล้างมือ ฉีดเจลแอลกอฮอล์ รวมถึงการจองวัคซีน(Holingue et al 2020) ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ผู้คนใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อรับความรู้และข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรค รวมถึงโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โซเชียลมีเดีย เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ นักวิทยาศาสตร์ รัฐบาล ฯลฯ (Ali et al 2020) เนื่องจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวสาม...

หมอลำภายใต้วิถีใหม่: มหรสพบนพื้นที่ออนไลน์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

  หมอลำภายใต้วิถีใหม่: มหรสพบนพื้นที่ออนไลน์*** ภายใต้สถานการณ์โควิด หลายคนเครียด หลายคนตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก แต่ในความยากลำบากนั้น ชีวิตของผู้คนก็ยังต้องดำเนินต่อไป การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในอาชีพคือสิ่งสำคัญที่สุด อย่างเช่นหมอลำ ศิลปะพื้นบ้านของภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในช่วงเทศกาลสำคัญ การม่วนหน้าฮ้าน เต้นรำ ฟ้อนรำ คงไม่สามารถทำได้ในช่วงสถานการณ์โควิด การปรับตัวจากพื้นที่ออฟไลน์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ไปสู่พื้นที่ออนไลน์ ที่เรียกว่า “ลำเพลินออนไลน์” จึงเป็นกลยุทธ์ของการแก้ปัญหาและเอาตัวรอดที่สำคัญ ของวงสาวน้อยเพชรบ้านแพง ที่มีหนุ่มโจ ยมนิล เป็นผู้บริหารหรือหัวหน้าวง เพื่อดูแลชีวิตของสมาชิกในวงในช่วงที่ว่างงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดมินิคอนเสิร์ต การจัดรายการแมวล่าพาเพลิน การเล่นตลก และการจัดคอนเสิร์ตเต็มวงผ่านออนไลน์ ที่มีศิลปินภาคอีสานที่มีชื่อเสียง หรือเครือข่ายหมอลำผลัเปลี่ยนกันมาให้ความบันเทิวและเสียงหัวเราะของผู้ชมในวิกฤตแบบนี้ สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของหมอลำเพลินคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงคือ การรู้จักใช้โลกเขี่ยลให้เป็นประโยชน์ ด้วยการสร้างเพจ สาว...

ว่าด้วยเรื่องอำนาจ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ทำไมพวกเราต้องการอำนาจ และ.. ทำไมพวกเราจึงต้องกลัวอำนาจ อำนาจมันเข้าไปจัดวางแนวทางในชีวิตส่วนตัวและชีวิตสาธารณะของเราอย่างไร หนังสือเล่มนี้สำรวจธรรมเนียมปฎิบัติดั้งเดิมและสังคมร่วมสมัยเกี่ยวกับบทบาทของอำนาจในลักษณะที่เป็นการยินยอม(consenting) เช่น การตกลงปลงใจในการแต่งงาน อำนาจที่เป็นธรรมชาติ(natural)  เข่น พ่อแม่กับลูกในการอบรมเลี้ยงดู และอำนาจที่ไม่ได้ยอมรับอย่างสมัครใจ(involuntary) แต่ต้องมาสัมพันธ์กันภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง เช่น การเป็นนายจ้างลูกจ้างในระบบการจ้างงานเป็นต้น    หนังสือเล่มนี้เปิดเผยให้เห็นอำนาจที่หลากหลาย ทั้งระบบชายเป็นใหญ่(patriarchy) และการมีอิสระหรือปกครองตัวเอง (autonomy) Sennett Richard ได้สำรวจสายสัมพันธ์ที่ผู้คนขบถต่อผู้มีอำนาจที่กำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆในสังคม โดยแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งต่างๆในประวัตืศาสตร์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและความขัดแย้งที่มีการแสดงออกในสำนักงาน ในโรงงานและในรัฐบาล ตลอดจนในระดับครอบครัว ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นอย่างไร โดยใช้ตัวอย่างจากงานทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และวรรณคดี เขาจึงคาดการณ์อย่างชัดเจนว่า ...

ว่าด้วยขน ผม และเพศ : สิทธิในเนื้อตัวร่างกายกับเรื่องธรรมดาในชีวิต โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  ***ว่าด้วยขน ผม และเพศ : สิทธิในเนื้อตัวร่างกายกับเรื่องธรรมดาในชีวิต ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ขนตามร่างกายได้กลายเป็นข้อห้ามสำหรับผู้หญิงอย่างรวดเร็ว ข้อมูลเชิงประจักษ์ของการวิจัยทางสังคมวิทยาและการแพทย์เปิดเผยว่าผู้หญิงส่วนใหญ่กำจัดขนตามร่างกายส่วนใหญ่ตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้ โดยทั่วไปแล้วขนตามร่างกายจะเป็นเครื่องหมายที่กำหนดขอบเขตที่สำคัญระหว่างคนกับสัตว์ ชาย-หญิง และผู้ใหญ่-เด็ก การกำจัดหรือการปฏิเสธที่จะเอาขนตามร่างกายจะทำให้ร่างกายของผู้หญิงอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของขอบเขตดังกล่าว ซึ่งก็คือด้านมนุษย์และด้านผู้หญิงที่เชื่อมโยงกับวาทกรรมความงามในอุดมคติแบบใหม่ ที่จะต้องใช้เทคนิคในการควบคุม การยักย้ายถ่ายเท และปรับปรุงตนเอง ในขั้นแรกเราอาจจะตั้งคำถาม 1.เกี่ยวกับการมีอยู่และรูปแบบของการกำจัดขนตามร่างกายเป็นอย่างไร 2. เหตุผลทางวัฒนธรรมสำหรับการพัฒนาอุดมคติเชิงบรรทัดฐานของร่างกายผู้หญิงที่ทำไมต้องไม่มีขน เพราะการมีขนหรือไม่มีขนตามร่างกายทำหน้าที่สะท้อนให้เห็นข้อห้ามในสังคม ร่างกายที่ไม่มีขนจะสื่อถึงความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์แบบ ทว่าร่างกายที่ไม่มีขนอาจดูสมบูรณ์แบบ และสะท้อนความงา...

ประชาชนธรรมดา : ความไร้อำนาจที่มีอำนาจในการจัดการกับปัญหาโควิด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

  *ประชาชนธรรมดา : ความไร้อำนาจที่มีอำนาจในการจัดการกับปัญหาโควิด*** คำถามสำคัญคือ สถานการณ์โควิดสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมือง(Geopolitics) ของอำนาจและความรู้เกี่ยวข้องกับโรค coronavirus 2019 (COVID-19) อย่างไร การถือกำเนิดของโควิด-19 ได้ยกระดับของการแข่งขันด้านอำนาจและความรู้ทั่วทุกพื้นที่ของโลกจากโลกทางเหนือสู่โลกทางใต้อย่างไร... ภายในเวลาไม่กี่ปี ประเด็น ของCOVID-19 ได้กลายเป็นหัวข้อที่มีการเขียนถึงมากที่สุดทั่วโลก ทั้งประเด็นเฉพาะโควิด-19 การถือกำเนิดของ COVID-19 ประสบการณ์ส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ไม่ป่วยที่ใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด อีกทั้งยังได้แนะนำเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่น "การล็อกดาวน์ระดับชาติ" และ "การเว้นระยะห่างทางสังคม" อาจกล่าวได้ว่าโควิด-19 ได้เข้าโจมตีจุดศูนย์กลางของการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่พัวพันกับสถานการณ์ที่เลวร้าย อันส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและในที่สาธารณะ โลกสมัยใหม่ที่เรารู้จักกลับหัวกลับหางจากเมื่อก่อนที่เราพูดถึงโลกาภิวัตน์หรือการข้า...