ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มุมมองของJean Baudrillard กับการวิเคราะห์การบริโภคแบบโพสต์โมเดิร์น นัฐวุฒิ สิงห์กุล

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการบริโภคในสังคมสมัยใหม่ ที่เคลื่อนตัวจากการบริโภคสิ่งต่างๆเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น กินอาหารเพื่ออิ่มท้อง สวนเสื้อผ้าเพื่อให้ความอบอุ่น เป็นต้น แต่ในสังคมปัจจุบันการบริโภคมีความหมายมากกว่าการบริโภคเพื่อคุณค่าเชิงใช้สอย (Use Value) แต่เป็นการบริโภคเพื่อสร้างและสื่อความหมายบางสิ่งบางอย่าง เช่น สถานะของเรา ตัวตนของเรา รสนิยม ความชอบของเรา ภาพพจน์ของเราที่เรียกว่าการบริโภคเชิงสัญญะ(Sign value)
นักคิดชาวฝรั่งเศสอย่างJeans Baudrillard ตั้งคำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์และหาคำตอบแบบเดิมที่อยู่ภายใต้อิทธพลของความรู้ ความคิด ภาษาแบบมาร์กซิสต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตของสังคม การมองปัญหาเรื่องของการผลิตในสังคม ที่เริ่มวิตกและหวาดกลัวเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่จะไม่เพียงพอกับกาารบริโภคในช่วงศตวรรษที่18-19 จนกระทั่งศตวรรษที่20-21 ที่ความกลัวของมาร์กซ์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงอีกต่อไป เพราะพลังของระบบทุนนิยมและการผลิตก้าวหน้าอย่างสูงสุด จนนำไปสู่การผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ เกินความต้องการบริโภค ปัญหาจึงเคลื่อนจากการผลิตมาสู่การบริโภค ที่มองว่าแล้วจะบริโภคสินค้าที่ผลิตขึ้นมาอย่างมากมายอย่างไร การกระตุ้นให้คนต้องการบริโภคอย่างมากมายและรวดเร็ว รวมถึงการพยายามสร้างมูลค่าให้กับสินค้าที่บริโภค ผ่านการสร้างความแตกต่าง ระดับของสินค้า คุณภาพของสินค้า ของแท้ ของเทียม ของพรีเมี่ยม ของที่มีจำนวนจำกัด ของหายาก ของสะสมเป็นต้น
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของการพยายามสร้างตัวสินค้า(วัตถุ)เชื่อมโยงกับสัญญะของสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องของความหมาย คุณค่า สัญญะของสินค้าทำหน้าที่กำกับ กำหนด นำทางของเขตหรือพื้นที่ทางวัฒนธรรม (ชนชั้น รสนิยม คุณลักษณะและคุณภาพของผู้ใช้ ) ของการบริโภคสินค้า เช่น การถอดกางเกงยีนส์ขาบานมิ่้งไป ไม่ช่เพราะว่ามันไม่สามารถสวมใส่หรือขาดคุณค่าในเชิงใช้สอย แต่เนื่องจากว่ามูลค่าเชิงสัญลักษณ์ได้สิ้นสุดหรือหมดไป เพราะความล้าสมัย ตกยุค ดังนั้นเราจึงพบเห็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของแวดวงแฟชั้นที่รวดเร็วมากจนกระทั่งเราตามไม่ทัน ดังนั้นการบริโภคความหมายหรือการบริโภคเชิงสัญญะจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในระบบทุนนิยมที่พยายามแก้ปัญหาสินค้าที่ถูกผลิตออกมาอย่างมากมายเหลือคณานับ
แนวคิดในการวิเคราะห์แบบแผนหรือรุปแบบการบริโภคของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ที่เป็นเรื่องของการบริโภคเชิงสัญญะ  ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสินค้าในรูปแบบของการใช้สอยและความพึงพอใจ โดยสินค้าเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนใหป็นสัญญะก่อนที่จะถูกบริโภค ภาวใต้การใส่รหัสต่างๆทางวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อ ลำดับชั้น เกรดของสินค้า สินค้าส่งออกนำเข้า สินค้าเหล่านี้เชื่อมโยงกับศักดิ์ศรี เกียรติยศและสถานภาพ เช่นเดียวกับการจัดโครงสร้างทางสังคมของมนุษย์
การบริโภคในยุคปัจจุบันจึงไม่ใช่การบริโภคความเหมือนแต่เป็นการบริโภคความแตกต่าง (Logic of difference) ที่การบริโภคสินคา ทำใหู้้บริโภคมีเอกลักษณ์แตกต่างจากคนอื่นๆ ความหมายและหลากหลายของสัญญะนำไปสู่การบริโภคที่ไม่สิ้นสุดของมนุษย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง