ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

EROTIC CAPITAL ทุนอีโรติก โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Catherine Hakim (2010)ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทุนทางกามรมณ์ (Erotic Capital) ที่มีการนำเสนอองค์ประกอบทั้งหมด 7 ลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับความคิดในเรื่องของแรงงานในเชิงอารมณ์(Emotion labour) โดยแนวคิดเกี่ยวกับทุนทางกามรมณ์หรือความใคร่ มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในวัฒนธรรมของเพศวิถีในสังคมสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ(affluent modern society) ซึ่งไม่ใช่แค่ตลาดของการจัดหาคู่หรือการแต่งงานเท่านั้น(mating and marriage market) แต่ยังมีความสำคัญอย่างมากในตลาดของแรงงาน สื่อสารมวลชน การเมือง โฆษณา กีฬาและศิลปะ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตประจำวันด้วย ซึ่งในมุมมองของHakim มองว่าผู้หญิงโดยทั่วไปมีทุนทางด้านกามรมณ์ (erotic capital) มากกว่าผู้ชาย โดยลักษณะ7 อย่างที่ถูกนำมาใช้พิจารณาเรื่องทุนทางด้านกามรมณ์คือ
1.ความสวยงาม(beauty)คือส่วนประกอบที่เป็นศูนย์กลางหลักที่ชัดเจน แม้ว่าความสวยงามจะสัมพันธ์กับวัฒนธรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องความสวยงามตามช่วงเวลาต่างๆที่สะท้อนให้เห็นว่าความสวยงามเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้าง เช่นในยุโรปตะวันตก นางแบบหรือแฟชั่นโมเดลที่สวยงามจะต้องผอมสูง ในบางสังคมของแอฟริกานิยมผู้หญิงที่มีรูปร่างใหญ่ที่มีลักษณะของการยั่วยวนในกาม หรือในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ผู้หญิงนัยน์ตาเล็กและริมฝีปากบางอวบอิ่มเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าสวยงามบอบบางอ่อนช้อย ในขณะที่สังคมสมัยใหม่เน้นอยู่ลักษณะที่มีเป้าหมายในลักษณะของภาพถ่าย(photogenic features) ที่ผู้ชายและผู้หญิงมีตาและปากใหญ่และใบหน้าเหมือนประติมากรรมหรือรูปปั้นแกะสลัก รวมทั้งลักษณะของสีผิวที่น่าดึงดูดใจและมีเสน่ห์
2. ความดึงดูดใจทางเพศ (Sexual attractiveness) ที่แบ่งแยกจากความสวยงามในยุคคลาสสิค ที่ขยายไปมากกว่าสิ่งที่ดึงดูดใจบนเรื่องร่างที่ปรากฏเพียงอย่างเดียว หรือความเซ็กส์ซี่ของร่างกาย(sexy body) ไปสู่การมีลักษณะดึงดูดใจทางเพศ(sex appeal)ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ(personality)และสไตล์(style) ความเป็นผู้หญิง ความเป็นผู้ชาย วิถีหรือแนวทางของการดำรงชีวิตในโลกและลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทั้งการเคลื่อนไหว การพูดหรือพฤตกรรมบางอย่าง คนที่อายุอ่อนเยาว์จะมีความดึงดูดทางเพศมากแต่มันสามารถค่อยๆหายไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งรสนิยมส่วนบุคคลมีความหลากหลาย ในโลกตะวันตก ผู้ชายจะสนใจเริ่มแรกกับหน้าอก สะโพกและขา ผู้ชายบางคนชอบผู้หญิงที่มีรูปร่างเล็ก ผอมบางหรือบางคนชอบผู้หญิงที่สง่างาม เช่นเดียวกับผู้หญิงบางคนที่ชอบผู้ชายที่มีกล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง บางคนก็ชอบรูปร่างผอมบาง สง่างามเป็นต้น
3. การกำหนดหรือยืนยันทางสังคม (definitely social) เช่น ความสุภาพนิ่มนวล ความมีเสน่ห์ ทักษะทางสังคม(social Skill)ในปฏิสัมพันธ์ ความสามารถที่จะทำให้คนบางคนชอบคุณ รู้สึกสบายและมีความสุข มีความต้องการที่จะรู้จักคุณ ต้องการมีความสัมพันธ์ มีความปรารถนาและความต้องการในตัวคุณ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสร้างมูลค่า
4. ความมีชีวิตชีวา (Liveliness) ที่เป็นการผสมผสานของความสมบูรณ์ทางกายภาพ(physical fitness) มีพลังทางสังคม (Social energy)และมีอารมณ์ขันที่ดี (good humour) ที่แสดงให้เห็นการใช้ชีวิตจำนวนมากของพวกเขาที่สามารถสร้างความดึงดูดใจอย่างมากกับคนอื่น ที่ความมีชีวิตชีวาทางวัฒนธรรมถูกแสดงออกผ่านทักษะของการเต้นรำ การขับร้องและกิจกรรมนันทนาการอย่างอื่น เช่น กีฬา เป็นต้น
5.ภาพตัวแทนทางสังคม (social representation) เช่นสไตล์ของการแต่งตัว การแต่งหน้า การใช้น้ำหอมการใส่เพชรทอง หรือการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอื่นๆ รูปแบบของทรงผมที่คนเหล่านี้ประดับ สวมใส่และตกแต่งเพื่อประกาศหรือแสดงให้เห็นสถานภาพทางสังคมของพวกเขารวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กับโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่
6. เพศวิถีของตัวเอง(Sexuality itself) มันคือศักยภาพหรือความสามารถทางเพศ (Sexual competence) พลังงาน (Energy) จินตนาการเกี่ยวกับกามรมณ์และความรักใคร่( erotic imagination ) การแสดงออกอย่างสนุกสนานเต็มที่(playfulness)และสิ่งอื่นๆที่จะสร้างความพึงพอใจทางเพศให้กับคู่ของความสัมพันธ์

7. ความอุดมสมบูรณ์และการให้ผลผลิตของพวกเธอ(Fertility) ในบางสังคมความอุดมสมบูรณ์ของร่างกายของผู้หญิงเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งเชื่อมโยงกับหน้าที่ในการผลิตซ้ำ การให้กำเนิดสมาชิก ที่สะท้อนผ่านความสมบูรณ์ของทารกและความสวยงาม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง