ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อำนาจที่สัมพันธ์กับร่างกาย: การกลับมามองปัจเจกบุคคล ผ่านศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตตา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

อำนาจที่สัมพันธ์กับร่างกาย: การกลับมามองปัจเจกบุคคล ผ่านศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตตา
ฟูโกเชื่อมโยงเรื่องของอำนาจเข้ากับร่างกาย โดยเฉพาะอำนาจที่กระทำกับร่างกายในระดับจุลภาค (Micro-physic of power หรือ Bio-power) นอกเหนือจากการมองอำนาจในระดับมหภาคที่เป็นเรื่องของบทบาทของอำนาจในการครอบงำในโดยปัจเจกบุคคลและสถาบันทางสังคม แต่อำนาจนั้นปฏิบัติการอยู่ทุกหนแห่งในสังคมรวมถึงร่างกายของมนุษย์ด้วย ความคิดดังกล่าวปรากฏในงานของมิเชลฟูโก ในเรื่อง Discipline and punishment ในเรื่องของร่างกายที่ว่านอนสอนง่าย  (Docile Body) ที่พยายามโต้แย้งความคิดว่าคนเราสามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้ แต่จริงๆแล้วร่างกายของคนเราอาจจะถูกควบคุมโดยไม่รู้ตัวด้วยภายใต้การยอมรับความรู้ ความจริงของวาทกรรมชุดใดชุดหนึ่ง จนตกยู่ภายใต้อำนาจของวาทกรรมชุดนั้น ดังเช่น วาทกรรมว่าด้วยร่างกายเป็นสินค้าในระบบทุนนิยม ทำให้มนุษย์เชื่อว่า ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของทุนหรือระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดได้ ดังนั้นร่างกายดังกล่าวต้องยอมสยบยอมต่ออำนาจทุนและอำนาจเงิน กลายเป็นร่างกายที่ว่านอนสอนง่ายและร่างกายที่ตกอยู่ภายใต้บงการของระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ที่การขายเรือนร่างของผู้หญิงกลายเป็นสินค้าและการเคลื่อนตัวจากความเป็นโสเภณี(Prostitute)เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบอาชีพการขายบริการทางเพศ (Sex worker)
ดังนั้นกระบวนการกลายเป็นร่างกายใต้บงการ จึงเป็นการยอมรับความรู้ ความจริงจากวาทกรรมชุดต่างๆที่ได้สร้างความคิดและความหมายเกี่ยวกับร่างกายตัวเองของมนุษย์ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายจิตใจของตัวเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นความซับซ้อนของวาทกรรมชุดต่างๆที่เข้ามาประกอบสร้าง ผ่านเทคนิควิทยาการของวาทกรรม ที่ทำให้วาทกรรมต่างๆสามารถประสานสอดคล้องกันเพื่อเป้าหมายบางอย่างและนำไปสู่ปฏิบัติการของวาทกรรมและการจัดการกับร่างกายและตัวตนของตัวเอง เช่น วาทกรรมที่เกี่ยวกับการขายเรือนร่างให้เป็นสินค้าในระบบทุนนิยม เมื่อมองผ่านร่างกายของผู้หญิงแรงงานข้ามชาติลาว ก็จะเห็นชุดของวาทกรรมหรือความรู้ ความจริงชุดต่างๆที่ซ้อนทับกันอยู่ เช่น วาทกรรมว่าด้วยความกตัญญู วาทกรรมว่าด้วยความเป็นลูกสาว  วาทกรรมว่าด้วยความเป็นผู้หญิง วาทกรรมว่าด้วยการพัฒนาและความยากจน วาทกรรมว่าด้วยทุนนิยม การเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยม ร่างกายคือแรงงาน คือสิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าในระบบตลาด ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ก้าวเข้ามาสู่อาชีพขายบริการ งานในช่วงนี้ของฟูโกจึงสะท้อนให้เห็นความคิดของเขาที่มองว่า อำนาจไม่ใช่สมบัติที่ใครสามารถจะผูกขาดเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวได้ แต่อำนาจอยู่ในสายสัมพันธ์ที่สามารถสถาปนาความรู้ ความจริง ตำแหน่งแห่งที่ ปฎิบัติการที่ควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือชีวิตประจำวันของผู้คนที่กระทำผ่านเทคนิคของอำนาจ (Technology of power) ที่กระทำผ่านร่างกายของมนุษย์ในฐานะของผู้ถูกกระทำ
งานในช่วงต่อมาของมิเชลฟูโก เริ่มหันมามองสิ่งที่เรียกว่า การปกครองทางชีวญาณ (Govermentality)พร้อมกับการเติบโตของรัฐสมัยใหม่ ที่ไม่ใช่รูปแบบการปกครองโดยใช้กำลังหรืออำนาจบีบบังคับดังเช่นในอดีต ซึ่งเป็นการใช้อำนาจผ่านสถาบันภายนอกตัวคน แต่ในปัจจุบันอำนาจบังคับดังกล่าวทำงาอยู่ภายในตัวคน การปกครองที่ทำงานด้วยตัวเอง ผ่านความจริง ความรู้ที่มนุษย์ยอมรับโดยชอบธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นการพยายามแยกความคิดออกจากเรื่องของโครงสร้างและสถาบันและหันกลับมาสู่การให้ความสนใจกับระบอบของความรู้ความจริงกับตัวของอัตบุคคลมากขึ้น ดังนั้นในแง่มุมนี้ของฟูโก เขายายามที่จะชี้ให้เห็นว่า อำนาจไม่ได้สมบูรณ์แต่มีความขัดแย้งอยู่ด้วย มันมีการต่อต้านต่อรองขัดขืนตลอดเวลา  ตัวตนของมนุษย์ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับเพียงอย่างเดียว แต่ตัวตนของมนุษย์ยังสามารถสร้างตัวตนของตัวเองแบบใหม่ขึ้นมาได้ด้วยซึ่งตัวตนดังกล่าวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกควบคุมกำกับ ซึ่งฟูโกยเรียกว่า การเป็นนายตัวเอง (Self Mastery) ดังเช่น อัตลักษณ์และเพศวิถีที่สัมพันธ์กับการนิยามตัวตนของตัวเอง ซึ่งการเป็นนายตัวเองปรากฏผ่านอัตลักษณ์และเพศวิถีที่ปฏิบัติ ดังเช่น การเข้ามาสู่อาชีพการขายบริการทางเพศของผู้หญิงลาว อาจจะเป็นการพยายามบอกว่า เขาเลือกที่จะทำอาชีพแบบนี้ ซึ่งคนอาจมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปกติ ไม่สอดคล้องกับศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม พวกเขาไม่ได้ถูกครอบงำด้วยกระแสบริโภคนิยมหรือทุนนิยมแต่พวกเขาสามารถที่จะดำรงตัวตนอยู่ได้โดยไม่ถูกกำกับหรือบังคับอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบ การขายร่างกายของพวกเขาจึงอาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนให้เป็นสินค้า แต่เป็นสุนทรียะของการดำรงชีวิต เป็นศิลปะหรือกลยุทธ์ของการใช้ชีวิตการเอาตัวรอดในสังคมแบบทุนนิยมในโลกยุคปัจจุบัน
อาจสรุปได้ว่าฟูโกได้มีการเคลื่อนตัวหรือเปลี่ยนแปลงทางความคิด จากรากฐานการหาความรู้จากวิธีการโบราณคดีของความรู้ (Archaeology of knowledge)มาสู่สาแหรกหรือวงศาวิทยาของความรู้ (Genealogy) ที่เชื่อมโยงความรู้กับเรื่องของอำนาจ แล้วสุดท้ายเขาก็กลับมาสู่เรื่องของการต่อต้านขัดขืน และเทคโนโลยีของการสร้างตัวตน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเป็นซับเจ็คหรือตัวตน ไม่ใช่ตัวตนในฐานะพื้นที่ของปฏิบัติการของการกระทำและกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวตนที่มีอิสระ ตัวตนที่เป็นนายตัวเอง (mastery)โดยเฉพาะในเรื่องของเพศวิถี ดังที่ฟูโกบอกว่า เราไม่สามารถปฏิเสธ ประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัย เพื่อทำความเข้าใจว่า ในยุคสมัยต่างๆมนุษย์ถูกประกอบสร้างและประกอบสร้างตัวเองอย่างไร รวมทั้งการปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการ

ดังนั้นวาทกรรม ความรู้และอำนาจจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดตัวตนหรือซับเจ็ค ในการศึกษาประเด็นเรื่องแม่ญิงลาวที่เข้ามาขายบริการทางเพศในประเทศไทยจึงต้องทำความเข้าใจกระบวนการการประกอบสร้างให้เกิดตัวตนของผู้หญิงขายบริการข้ามแดนชาวลาว ที่เชื่อมโยงกับวาทกรรมและความรู้ที่ซ้อนทับระหว่างตัวตนทางชาติพันธุ์ความเป็นคนลาว ความเป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ในลาว ตัวตนของความเป็นผู้หญิง เป็นแม่หรือเป็นลูกสาว ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์ ในเชิงพื้นที่และเวลาที่ก่อให้เกิดการปรากฏของความรู้และวาทกรรมที่เกี่ยวกับผู้หญิงและนำไปสู่ปฎิบัติการทางอำนาจที่เข้ามาจัดการกับตัวตนบทบาทหน้าที่ของความเป็นผู้หญิงลาว ในยุคสมัยต่างๆที่สร้างระบอบของความจริง เช่น ในก่อนยุคสังคมนิยม ยุคสังคมนิยมและยุคประชาธิปไตย รวมทั้งวาทกรรมการพัฒนาชุดต่างๆที่เข้ามาประกอบสร้าง จัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้กับผู้ชาย ผู้หญิง ผู้หญิงลาวในเมือง ผู้หญิงลาวในชนบท ผู้หญิงลาวมีการศึกษา ผู้หญิงลาวไร้การศึกษาหรือแม้กระทั่งผู้หญิงชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในสังคมลาว รวมทั้งเชื่อมโยงกับกระบวนการข้ามพรมแดนในกระแสโลกาภิวัตน์ ระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมที่ประกอบสร้างความเป็นผู้หญิงลาวแบบจารีต กับผู้หญิงลาวสมัยใหม่อันนำไปสู่การตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจขายบริการทางเพศและการมีเพศวิถีในรูปแบบของตัวเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง