ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2024

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีความสัมพันธ์กับทรัพยากรดิน แผ่นดิน ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Land ethic หรือจริยธรรมแห่งผืนดิน ที่เชื่อมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มนุษย์คนใดจะมีศีลธรรมจรืยธรรมที่ดีได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์ผู้นั้นสามารถมองเห็น รับรู้ เข้าใจ และสัมผัส รวมถึงชื่นชม รักและศรัทธาในธรรมชาติ ความถูกต้องชอบธรรม จึงสัมพันธ์กับความคิดว่าด้วยการอนุรักษ์ การสร้างความยั่งยืน ความมั่นคงความสมบูรณ์และความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงจึงมีสถานะของผู้ให้กำเนิดหรือผู้ก่อเกิดวางรากฐานทางวัฒนธรรมและการดำรงชีพ ผู้หญิงให้ความสำคัญต่อธรรมชาติ เคารพ นอบน้อม ที่สำคัญธรรมชาติและทรัพยากรคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมและสังคมของผู้หญิง.. ความพิเศษของความคิดนี้ คือปฎิสัมพันธ์ของผู้หญิงกับสิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนผ่านชีวิตประจำวัน การประกอบพิธีกรรม ทัศนคติมุมมองของผู้หญิงต่อสิ่งแวดล้อม ที่มองแบบเชื่อมโยง สัมพันธ์และเป็นองค์รวม ที่หากมองเชื่อมโยงกับระบบทนนิยม เราจะเห็นอำนาจแบบครอบงำ อำนาจในลักษณะชายเป็นใ...

การต่อต้านและการปฏิเสธงานชาติพันธุ์วรรณนา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ในปี ค.ศ. 1995 Sherry Ortner ได้ตีพิมพ์บทความใน วารสาร CSSH เรื่อง Resistance and the problem of ethnographic refusal เขาได้ทบทวนและสำรวจแนวโน้มทางวิชาการในเชิงการต่อต้านที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ซึ่งนักวิชาการเหล่านี้ส่วนหนึ่งกำลังละทิ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของชุมชนท้องถิ่น การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์สิ่งที่อยู่ภายนอกชุมชน อำนาจที่เข้ามาปะทะ ลัทธิจักรวรรดินิยม รัฐและทุนนิยมเศรษฐกิจโลก เป็นต้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานศึกษานั้นได้นำไปสู่สิ่งที่ Ortner อ้างว่างานวิขาการเหล่านั้นเป็นงานที่ผิวเผินและไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจทางการเมืองที่มีความซับซ้อน ดังที่เธอบอกว่า “การศึกษาเชิงการต่อต้านนั้นถือว่าเบาบางมากเพราะพวกเขา(ผู้ศึกษา ผู้วิจัย นักวิชาการ) ดูเบาบางในเชิงชาติพันธุ์วิทยา เบาบางในเรื่องการเมืองภายในของกลุ่มที่ถูกครอบงำ เบาบางในเรื่องความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของกลุ่มเหล่านั้น, บางเบาในเรื่องความเป็นตัวตน ความตั้งใจ, ความปรารถนา, ความกลัวและความเป็นของผู้กระทำการหรือ ผู้แสดงที่มีส่วนร่วมในละครบทนี้ (1995: 190) การสืบย้อนไปถึงงานทางมานุษยวิทยาของ Talal Asa...

มานุษยวิทยาว่าด้วยการแต่งกาย (Anthropology of Dress and Fashion) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างนั่งรถ ผมคิดถึงเรื่องราวในคลาสบอดี้ …แล้วในชั้นเรียนมีนักศึกษาสนใจเรื่ิองรองเท้าและเสื้อผ้าแนววินเทจ จะทำมุมมองไหนดี นอกจากการสะสม การบริโภค มันเห็นมิติอื่นๆไหม ผมบอกว่า เราสามารถใช้มิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมมามองได้ ..เลยแนะนำหนังสือ Anthropology of Dress and fashion และAnthropology of used clothing and vintage clothing… มีข้อมูลระบุว่าจำนวนเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับที่พลเมืองยุโรปแต่ละคนสะสมเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และ 87% ของสินค้านั้นมักถูกเผาหรือฝังกลบ ซึ่งมาจากการย่อยสลายช้า ที่เชื่อมโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมานานหลายทศวรรษ จำนวนน้อยกว่า 1% เท่านั้นที่ถูกใช้อีกครั้ง การรีไซเคิลและการนำซากสิ่งทอกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์เป็นสองวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ดังเข่นในรายงานล่าสุดโดยคณะกรรมการรัฐสภายุโรปที่รับผิดชอบแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจที่บอกว่า “ การใช้เสื้อผ้ามือสอง สะท้อนวิธีที่ผู้คนกำจัดเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้การนำกลับมาใช้และขายใหม่แทนที่จะบริจาคเหมือนที่ผ่านมา“…. มีการประมาณการกันว่าในปี 2030 ตลาดแฟชั่นมือส...

The Three Ecologies ของ Guattari โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

Guattari’S The Three Ecologies ความพยามของ Guattari คือการเชื่อมโยงระบบนิเวศสามส่วน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และจิตใจ เข้ากับชุดของความสัมพันธ์ที่เขาเรียกว่า Ecosophy ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องการเคลื่อนไหว ระบบนิเวศเชิงลึก (Deep ecology) แบบที่ไม่รู้ตัว " หรือEcosophyของ Arnold Naess ซึ่งเขาเขียนว่า “…มีเพียงการเชื่อมโยงทางจริยธรรมและการเมืองเท่านั้น ซึ่งผมเรียกว่า Ecosophy ระหว่างความสำคัญของความสัมพันธ์ทางนิเวศทั้งสามด้าน คือสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ทางสังคม และความเป็นอัตวิสัยของมนุษย์ เท่านั้นที่จะให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับอันตรายทางนิเวศที่เผชิญหน้าเราอยู่ “ (หน้า 27) เป้าหมายในการวิพากษ์วิจารณ์ของ Guattari คือสิ่งที่เขาเรียกว่าระบบทุนนิยมโลกแบบบูรณาการ (Integrated World Capitalism หรือคำย่อว่า IWC) ซึ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์หลายครั้ง ได้นำเราไปสู่ขอบเขตแห่งหายนะทางระบบนิเวศ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของโลกซึ่งดึงเอาผู้คนจำนวนมากไป รวมถึงคนรุ่นต่อไปที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัว นั่นคือ ทุนนิยมโลกบูรณาการ ดังที่ Pindar และ Sutton...

สุวรรณภูมิในมุมมองทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมว่าเวลาเราพูดถึงสุวรรณภูมิ เราต้องไม่ลืมว่าสุวรรณภูมิไม่ใช่แค่พื้นที่ ช่วงเวลา หรือเพียงวัตถุที่สะท้อนร่องรอยของประวัติศาสตร์ เท่านั้น แต่จุดที่เชื่อมโยงสุวรรณภูมิคือวัฒนธรรม ทั้งภาษา ศาสนา ความเชื่อและ วิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงกับคนกลุ่มอื่นๆ สุวรรณภูมิ เป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ วัตถุ และผู้คน เวลาพํดถึงสุวรรณภูมินอกจากคำถามที่ว่าสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน หน้าตาสุวรรณภูมิเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับที่อื่นๆที่ร่วมสมัยเดียวกัน หรือประเทศไทยอยู่ส่วนไหนของสุวรรณภูมิ ผมมองว่า สุวรรณภูมิ เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัย ผู้คนในสุวรรณภูมิมีการปะทะสังสรรค์กันอย่างหลากหลาย ทั้งด้านศาสนาและการค้า ผู้คนในปัจจุบันผู้คนมีสำนึกต่อสุวรรณภูมิอย่างไร ใครคือผู้คนในสุวรรณภูมิ หรือผู้คนในสุวรรณภูมิมีใครบ้าง สุวรรณภูมิ ในปัจจุบันคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีทั้งความแตกต่างหลากหลายของผู้คน มีความขัดแย้ง มีความร่วมมือ มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดินแดนสุวรรณภูมิอาจไม่ใช่ดินแดนของทองคำ แต่อาจเป็นพื้นที่ของความเจริญรุ่งเรืองทสงวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ข้าว ปลาอาหาร ...

มานุษยวิทยากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภาพภูมิอากาศ (Anthropology of Climate Change) ตอนที่ 1 โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมกำลังเริ่มร่างไอเดีย การเขียนบทความชิ้นนี้ (ต้องขอบคุณเพื่อนผมคนหนึ่งที่ได้กระตุ้นให้เขียนและเปิดประเด็น) จริงๆผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้เอาไว้ 3 ตอน ตอนแรกเป็นการรีวิวแนวคิดเบื้องต้นในเรื่องมานุษยวิทยากับประเด็น Climate Change ความสำคัญและความจำตอนเป็น ตอนที่2 เกี่ยวกับตัวอย่างงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Anthropology of climate change และตอนสุดท้ายผมจะลองประยุกต์ความคิดนี้กับงานภาคสนามชุมชนกะเหรี่ยงที่ตัวเองศึกษา **ตอนแรก …แนวคิด มุมมองเรื่องมานุษยวิทยาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ….*** จากกรณีที่ผู้คนในหมู่บ้าน Dhye ในเทือกเขาหิมาลัยในเนปาล ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 12,000 ฟุต พวกเขาต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตมาอย่างยาวนาน แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และพื้นที่ที่ชาวบ้านปลูกพืชผลก็แห้งแล้งและแห้งแล้ง…ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรวมตัวกันเพื่อตัดสินใจว่าควรอยู่หรือย้าย 17 จาก 26 ครอบครัวตัดสินใจออกจากหมู่บ้าน… Tsering Larkke Gurung หญิงขาวบ้าน Dhye ได้สะท้อนความรู้สึกไว้ในบทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ The New York Times ที...

มานุษยวิทยากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ตอนที่ 2) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตอนสอง: ทบทวนงานศึกษาและกรณีศึกษาผ่านเลนส์มานุษยวิทยาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักมานุษยวิทยามองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมกันระดับโลกและความหลากหลายของผู้คนและท้องถิ่น รวมทั้งต้องเข้าใจว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ในหลายระดับที่แฝงฝังอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น และมีการแตกแขนงแผ่ขยายออกไปทั่วโลก ศาสตร์ทางมานุษยวิทยาสามารถแสดงให้เห็นว่าเหตุใดการดำเนินการทางการเมืองเพื่อบรรเทาหรือระงับยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงค่อนข้างเงียบเหงาซบเซาและมักไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 การอภิปรายเรื่องนี้ได้เปลี่ยนไปสู่การศึกษาวิกฤตการณ์ทางนิเวศ ซึ่งในเวลานั้นมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและการสร้างมลพิษมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ดังที่ Gregory Bateson (1972) ได้ระบุถึงปัจจัย 3 ประการที่ขับเคลื่อนวิกฤตการณ์เหล่านี้ให้เข้มข้นมากขึ้นประกอบด้วย ประการแรก คือผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำลายล้างของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การผลิตยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ประการที่สอง คือ การเพิ่มจำนวนประชากรนำไปส...

สนามและบันทึกสนามทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมนั่งจด นั่งทำอะไรในสนาม..หรือออกจากสนามก็มานั่งทบทวนเรื่องราวที่จำได้ แต่เขียนไม่หมด ต้องมาเติมเพิ่มเสริมความรู้ที่ยังไม่เข้าใจ เข้าใจไม่ชัด หรือคอนเฟิร์มข้อมูลสนามอยู่เรื่อยๆ บางส่วนยังไม่มีข้อมูลต้องกลับไปถามใหม่ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปร่วมสังเกตการณ์พิธีกรรม .. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ถือเป็นส่วนสำคัญที่เป็นเสมือนชุดเครื่องมือระเบียบวิธีวิทยาของนักมานุษยวิทยา แนวการปฏิบัตินี้ช่วยให้นักชาติพันธุ์วิทยา(Ethnology) นักชาติพันธุ์วรรณนา (ethnographer) หรือนักมานุษยวิทยา (Anthropologist) สามารถพัฒนาการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคู่สนทนาหรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญในสนาม ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทั้งแบบมีส่วนร่วมแบะไม่มีส่วนร่วม รวมถึงการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นที่สำคัญที่สุดสำหรับนักมานุษยวิทยา Fieldnotes ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยให้เราจัดทำเอกสารและจัดระเบียบข้อมูลที่เรารวบรวมไว้ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งในช่วงเข้าไปในสนามและภายหลังจากการได้เข้าไปพูดคุยและสังเกตการณ์(participant observation)หรือเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมในช่วงเวลา ในบริบทที่แตกต่างกัน ...

การเมืองเรื่องร่างกาย (Body politics) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมต้องให้เวลาอ่านงานมากขึ้น เพื่อเติมความรู้ให้ตัวเอง วันนี้ระหว่างอ่านงานเตรียมสอนสับปดาห์หน้า Body politics การเมืองเรื่องร่างกาย เป็นงานที่ให้นักศึกษาอ่านเปเปอร์ชิ้นที่สองมาคุยและเขียนงานส่ง (ชิ้นแรก Physical, anatomy and culture body ) ผมก็ได้ประโยชน์จากการอ่านและเอามาใช้พัฒนาเอกสารการสอนทางวิชาการของตัวเองด้วย … มิเชลฟูโก้ ใช้คำว่า Biopower หรือชีวะอำนาจ (อำนาจที่เข้าไปแทรกซึมเข้าไปในชีวะร่างกายของมนุษย์) มันคือระบบการครอบงำของการควบคุมทางสังคม… ในสังคมตะวันตกสมัยใหม่ ภายใต้การเสื่อมถอยของกลไกแห่งการควบคุม ดังเช่นพลังอำนาจของทหารหรือกองทัพ( Military Force)และการเพิ่มขึ้นของการควบคุมทางสังคม ที่นำไปสู่การสร้างระเบียบวินัย (self- discipline ) ของปัจเจกบุคคล อำนาจที่ฟูโก้มอง มีความขัดแย้งและแตกต่างจากการมองอำนาจแบบเดิมที่เป็นเรื่องของการครอบงำ แบบบีบบังคับและกดขี่ (Repressive) รวมถึงการครอบครองและผูกขาดอำนาจที่ศูนย์กลาง อำนาจจากบนลนล่าง เพราะอำนาจแบบนี้ทำให้คนกลัว แบะคนต่อต้าน มากกว่าที่จะยอมศิโรราบ ทำอย่างไรจะทำให้อำนาจเข้าไปในวิถีคิด และการปฏิบัติโดยสมัครใจ หรือยินยอมพร้อม...

มานุษยวิทยากับปรัชญาว่าด้วยการทำความเข้าใจมนุษย์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมชอบวิชาปรัชญามากเคยเรียนในตอนป.ตรีและป.เอก และเคยคิดอยากจะเปิดวิขา ที่ว่าด้วยการถกถึงความเป็นมนุษย์ ผมมองว่าปรัชญาเป็นที่รู้จักในฐานะศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวงและเป็นเสมือนพื้นฐานของความรู้ทั้งหมด ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะปรัชญาคือการทำความเข้าใจมนุษยชาติอย่างชัดเจน …มานุษยวิทยาศึกษาธรรมชาติของมนุษยชาติที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปรัชญาต่างๆ มนุษย์เกิดยังไง มนุษย์คืออะไร ทำไมต้องตาย ตายแล้วไปไหน ทำไมมนุษย์ต้องอยู่รวมกัน และอื่นๆ นักมานุษยวิทยาได้รับทฤษฎีและแนวความคิดเกือบทั้งหมดจากรากฐานทางปรัชญา เนื่องจากทุกแง่มุมของธรรมชาติของมนุษย์ได้รับการอธิบายอย่างละเอียด มานุษยวิทยาเชิงปรัชญา มีระเบียบวธีการศึกษาในปรัชญาที่พยายามรวมการสืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์หลายประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เข้าด้วยกัน ด้วยความพยายามที่จะเข้าใจแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นทั้งสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมและเป็นผู้สร้างคุณค่าของตนเอง ในศตวรรษที่ 18 “มานุษยวิทยา” เป็นสาขาวิชาปรัชญาที่ให้เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและมานุษยวิทยา นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถ...

มวยไทยโดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

***จากมวยวัดสู่มวยตู้ จากมวยภูธรสู่เมืองหลวงหรือมวยวัดเจอมวยซุ่ม(มวยดังที่แอบมาชกตามงานวัดเพื่อเอาเงินเดิมพัน)..คือภาพจำของสนามที่เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับท่านอาจารย์สุริยา สมุทคุปติ์และอาจารย์พัฒนา กิติอาษา ..ประสบการณ์ ความทรงจำที่ยังคงงดงามเสมอ จากสนามที่ได้มีโอกาสติดตามตั้งแต่ค่ายมวย ยันเวทีมวย ผมกับพี่ เพื่อน และน้อง ที่เป็นนักวิจัยร่วมกัน (พี่ถา พี่โจอิ เพื่อนต้อมและน้องจิน) พวกเราได้มีโอกาสไปสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามที่ค่ายมวย ต.ศิลาชัย ที่กองบิน1 และค่ายประปาชนบทที่จอหอ นครราชสีมา ผมได้มีโอกาสไปดูการเปรียบมวยตามหมู่บ้าน ตามงานวัด เปรียบมวยแบบไร้ตาชั่ง ดูตามขนาดร่างกาย ไม่สนใจน้ำหนัก ความหนา มวลกระดูก ..จนถึงเวทีใหญ่ที่ต้องรีดน้ำหนักให้ผ่านตามตาชั่งที่เป็นมาตรฐานในช่วงเช้า นักมวยบางคนต้องเขาตู้อบ ให้เหงื่อออก รีดน้ำหนักให้ผ่านตามน้ำหนักพิกัดรุ่น บางคนต้องถอดเสื้อผ้าอาภรณ์ทุกอย่างออกจนหมด เหลือเพียงร่างกายที่เปล่าเปลือย เพราะไม่งั้นจะเพิ่มน้ำหนักตัวและชั่งไม่ผ่าน นอกจากจะไม่ได้ขี้นชก ต้องแพ้ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นสังเวียน แถมยังต้องโดนค่าปรับด้วย ….หลัง...

ความเจ็บป่วยและอุปมาอุปมัน(Illness and Metaphor) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ในวิชา Anthropology of body (ปัจจุบันเป็นวิชาร่างกายในวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสังคม ) จากงานของ Susan Sontag เรื่อง Illness and Metaphor ผมเคยได้ลองถามนักศึกษาในห้องว่าหากนึกถึงโรคและควมเจ็บป่วย เช่นมะเร็ง ในความคิดของคุณคุณอุปมาเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง และหมายถึงอะไร บางคนมองว่ามันคล้ายลูกโป่งที่ค่อยๆหมดลม หรือเหล็กที่วางอยู่บนบ่าหนักหน่วงและทำอะไรลำบาก ผลไม้ที่ถูกหนอนชอบไช เชื่อราบนขนมปังที่ค่อยๆลุกลามไปทั่ว บางคนว่าเหมือนเข็มฉีดยาตอนแรกจะกลัวตอนหลังจะชินกับมัน บางคนมองไปถึงนายทุนหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น มันคอยจะสูบเลือดให้ตาย ความเจ็บป่วยคือเสี้ยนหนามชีวิต หรือ มะเร็งคือวิญญาณที่ไม่เห็น ไม่เป็นไม่ได้แปลว่าไม่มี บางคนมองว่ามะเร็งคือความไม่เป็นประขาธิปไตย การทุจริตคอรัปชั่นที่ทำลายทุกอย่าง และอื่นๆ Susan Sontag ตีพิมพ์งานในช่วง1978 เธอบอกว่าไม่มีอะไรเป็นการลงโทษมากกว่าการให้ความหมายของการเจ็บป่วย ในช่วงหนึ่งมะเร็ง ถูกให้ความหมายเกี่ยวกับความน่ากลัว การลุกลามแพร่กระจาย การขัดขวางหรือหยุดยั้งขีวิต และการถูกตำหนิกล่าวโทษ ความหมายเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อความคิด มุมมอง และการรักษาค...

มานุษยวิทยาว่าด้วยประสบการณ์ (Anthropology of Experiences) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

มานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาทุกแง่มุมของประสบการณ์ของมนุษย์ ทั้งภาษา วัฒนธรรม และชีววิทยา ตั้งแต่อดีตสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยธรรมชาติแล้ว การวิจัยของนักมานุษยวิทยามีลักษณะเป็นแบบงานชาติพันธุ์วรรณา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบ Mixed Method จนปัจจุบันที่ใช้วิธีการแบบสหวิทยาการมากขึ้น ที่อาศัยความเชื่อมโยงจากเลนส์และจุดแข็งทางภูมิปัญญาของสาขาต่างๆ มาใช้ในการวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม มานุษยวิทยา สนใจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต้นกำเนิด ความหลากหลาย และความซับซ้อนของสังคมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชีวิตมนุษย์ การศึกษามานุษยวิทยาจำเป็นต้องนำไปสู่ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับประเพณีและการปฏิบัติทางวัฒนธรรมจากช่วงเวลาและบริบททางภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน นี่เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจความซับซ้อนของโลกสมัยใหม่ ทั้งในแง่ของปฏิสัมพันธ์ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และในแง่ของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม ผมสนใจ มานุษยวิทยาว่าด้วยประสบการณ์ (Anthropology of experience) ซึ่...

การศึกษาอาชญากรรมและความรุนแรงของเด็กและเยาวชน ในมุมมองทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

การศึกษาอาชญากรรมและความรุนแรงของเด็กและเยาวชน มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าความยากจน การขาดการศึกษา การว่างงาน ความผิดปกติหรือความแตกแยกขัดแย้งของครอบครัว และการเผชิญกับความรุนแรง มีส่วนทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยแบบนี่นี้ในหมู่เยาวชน ทั้งนี้สถานการณ์เหล่านี้กำลังผลักดันให้วัยรุ่นบางคนแสวงหาความรู้สึกถึงตัวตน ความเป็นเจ้าของและอำนาจจากโครงสร้างของแก๊ง (Gang) ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความจริงที่ว่าประเทศชาติก็กำลังล้มเหลวในการจัดหาแนวทางเลือกที่ดีขึ้นให้กับเด็กและเยาวชนของพวกเรา ที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวครั้งใหญ่ของสังคมเรา โดยเฉพาะการที่คนหนุ่มสาวมักเผชิญกับความรุนแรงและทำให้ความรุนแรงกลายเป็นเรื่องปกติที่เด็กและเยาวชนสามารถจะกระทำความรุนแรงแบบนี้ต่อคนอื่นได้ สิ่งนี้น่าจะทำให้สังคมควรจะต้องมีความวิตกกังวลและพิจารณาต่อเรื่องนี้ให้มากขึ้น การวิจัยโดยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมการเกิดแก๊งของวัยรุ่นนั้น มีผลกระทบทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญ การปรากฏตัวของแก๊งต่างๆมากขึ้น ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว ความไม่มั่นคง ความเสี่ยงต่อชีวิตแล...