ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเจ็บป่วยและอุปมาอุปมัน(Illness and Metaphor) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ในวิชา Anthropology of body (ปัจจุบันเป็นวิชาร่างกายในวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสังคม ) จากงานของ Susan Sontag เรื่อง Illness and Metaphor ผมเคยได้ลองถามนักศึกษาในห้องว่าหากนึกถึงโรคและควมเจ็บป่วย เช่นมะเร็ง ในความคิดของคุณคุณอุปมาเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง และหมายถึงอะไร บางคนมองว่ามันคล้ายลูกโป่งที่ค่อยๆหมดลม หรือเหล็กที่วางอยู่บนบ่าหนักหน่วงและทำอะไรลำบาก ผลไม้ที่ถูกหนอนชอบไช เชื่อราบนขนมปังที่ค่อยๆลุกลามไปทั่ว บางคนว่าเหมือนเข็มฉีดยาตอนแรกจะกลัวตอนหลังจะชินกับมัน บางคนมองไปถึงนายทุนหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น มันคอยจะสูบเลือดให้ตาย ความเจ็บป่วยคือเสี้ยนหนามชีวิต หรือ มะเร็งคือวิญญาณที่ไม่เห็น ไม่เป็นไม่ได้แปลว่าไม่มี บางคนมองว่ามะเร็งคือความไม่เป็นประขาธิปไตย การทุจริตคอรัปชั่นที่ทำลายทุกอย่าง และอื่นๆ Susan Sontag ตีพิมพ์งานในช่วง1978 เธอบอกว่าไม่มีอะไรเป็นการลงโทษมากกว่าการให้ความหมายของการเจ็บป่วย ในช่วงหนึ่งมะเร็ง ถูกให้ความหมายเกี่ยวกับความน่ากลัว การลุกลามแพร่กระจาย การขัดขวางหรือหยุดยั้งขีวิต และการถูกตำหนิกล่าวโทษ ความหมายเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อความคิด มุมมอง และการรักษาคนไข้โรคมะเร็ง การักษามะเร็งคือความก้าวร้าว (Agressive) โดยการใช้การปะทะโจมตีกับทะเร็ง หรือเซลล์มะเร็งในร่างกาย ที่มันบุกรุก หรือบักล้ำพื้นที่ทางร่างกาย ร่างกายถูกโจมตี ทิ้งระเบิดอานุภาพทำลายช้าง ด้วยการใช้รังสีหรือคีโมบำบัด อุปมาเข่นเดียวกับการทำสงครามของทหาร (Military Metaphor) ร่างกายของคนไข้กลายเป็นวิธีคิดและแนวทางการรักษา เข่นเดียวกับสนามรบ (Battle ground) ความหมายทางวัฒนธรรมของมะเร็ง เชื่อมโยงกับการควบคุมจัดการร่างกาย เช่นการไม่สูบบุหรี่ กินเหล้า การไม่ทานอาหารที่มีไขมัน การออกกำลังกาย การตากแดดจัดๆ หรือภาวะของการเป็นมะเร็งมันโจมตีอวัยวะที่บ่งชี้เพศ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมหลูกหมาก ที่ทำให้สูญเสียสัญลักษณ์ของคยรมเป็นแม่ เป็นผู้หญิง หรือการสืบพันธ์ุ โรคมันมีคบามรุนแรงและมีความเข้มแข็งเมื่อมีความหมาย ความหมายที่เชื่อมโยงร่างกายทางกายภาพกับร่างกายทางสังคม การเกิดภาวะที่Sontag เรียกว่า The guilt of responsibility. หรือ ความรู้สึกผิดต่อความรับผิดชอบ เมื่อความเจ็บป่วยทำให้เราบกพร่องต่อหน้าที่ในฐานะแม่ ภรรยา แรงงาน หรือพลเมืองคุณภาพของรัฐชาติ ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นไม่ได้แค่หมายความว่าเราไม่รับผิดชอบต่อตัวเอง แต่ยังไม่รับผิดชอบค่อสังคมส่วนรวมด้วย ขณะที่เธอเขียนหนังสือ Sontag ที่ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งได้แสดงให้เห็นว่าคำอุปมาและความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับความเจ็บป่วยบางอย่าง โดยเฉพาะมะเร็ง ช่วยเพิ่มความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยอย่างมาก และมักจะขัดขวางไม่ให้พวกเขาแสวงหาการรักษาที่เหมาะสม ด้วยการไขปริศนาที่เชื่ออมโยงกับจินตนาการเกี่ยวกับมะเร็ง ซอนแท็กแสดงให้เห็นว่ามะเร็งคืออะไรกันแน่ หรือเป็นเพียงโรคหนึ่งที่ถูกให้ความหมายเท่านั้น เธอให้เหตุผลว่า มะเร็งไม่ใช่คำสาป ไม่ใช่การลงโทษ ไม่ใช่เรื่องน่าอายอย่างแน่นอน และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากปฏิบัติตามการรักษาที่ดี เกือบหนึ่งทศวรรษต่อมา ด้วยการระบาดของโรคใหม่ที่ถูกตีตราซึ่งเต็มไปด้วยความลึกลับและคำอุปมาอุปมัยเชิงการลงโทษ Sontag ได้เขียนภาคต่อของ Illness ในชื่อ Metaphor ซึ่งขยายการโต้แย้งของหนังสือเล่มก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการระบาดของโรคเอดส์ บทความทั้งสองนี้ตีพิมพ์ร่วมกันแล้ว Illness as Metaphor and AIDS and Its Metaphors ซึ่งได้รับการแปลเป็นหลายภาษาและยังคงมีอิทธิพลมหาศาลต่อความคิดของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และเหนือสิ่งอื่นใด ต่อชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลายพันคน ผมลองให้นักศึกษาเขียนหัวข้อร่างกายที่ตัวเองสนใจ มีหลายประเด็นทั้งการบริจาคอวัยวะ การใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวทางการเมือง วัฒนธรรมการสัก ร่างกายแบบlolicon และ shotacon ร่างกายในตัวละครและวรรณกรรม ร่างกายในกีฬาข้ามเพศ วัฒนธรรมY2K กับแฟขั่นบนร่างกาย แฟชั่นเสื้อตัวเล็ก ร่างกายของTrans ในศาสนาอิสลาม การใช้รอยแผลบนร่างกายสร้างอารมณ์ความสงสาร การข้ามเพศ ร่างกายและเพศวิถีบนพื้นที่ออนไลน์ ร่างกายของผู้ป่วยและอื่นๆ ผมชอบงานของเธอมาก อ่านแล้วเห็นภาพและคิดว่านำไปใช้เขียนงานได้ ในประเด็นเชิงร่างกายและการแพทย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...