ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สุวรรณภูมิในมุมมองทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมว่าเวลาเราพูดถึงสุวรรณภูมิ เราต้องไม่ลืมว่าสุวรรณภูมิไม่ใช่แค่พื้นที่ ช่วงเวลา หรือเพียงวัตถุที่สะท้อนร่องรอยของประวัติศาสตร์ เท่านั้น แต่จุดที่เชื่อมโยงสุวรรณภูมิคือวัฒนธรรม ทั้งภาษา ศาสนา ความเชื่อและ วิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงกับคนกลุ่มอื่นๆ สุวรรณภูมิ เป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ วัตถุ และผู้คน เวลาพํดถึงสุวรรณภูมินอกจากคำถามที่ว่าสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน หน้าตาสุวรรณภูมิเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับที่อื่นๆที่ร่วมสมัยเดียวกัน หรือประเทศไทยอยู่ส่วนไหนของสุวรรณภูมิ ผมมองว่า สุวรรณภูมิ เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัย ผู้คนในสุวรรณภูมิมีการปะทะสังสรรค์กันอย่างหลากหลาย ทั้งด้านศาสนาและการค้า ผู้คนในปัจจุบันผู้คนมีสำนึกต่อสุวรรณภูมิอย่างไร ใครคือผู้คนในสุวรรณภูมิ หรือผู้คนในสุวรรณภูมิมีใครบ้าง สุวรรณภูมิ ในปัจจุบันคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีทั้งความแตกต่างหลากหลายของผู้คน มีความขัดแย้ง มีความร่วมมือ มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดินแดนสุวรรณภูมิอาจไม่ใช่ดินแดนของทองคำ แต่อาจเป็นพื้นที่ของความเจริญรุ่งเรืองทสงวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ข้าว ปลาอาหาร หรือเกลือ เป็นต้น ผมพยามเชื่อมโยงสมมติฐานดังกล่าว กับการศึกษาในปัจจุบัน ของ Charles Hirschman (1984) ได้ให้ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ที่เกิดจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นในเชิงเชื้อชาติและชาติพันธุ์ในพื้นที่ทางสังคมที่หลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ได้เป็น 4 ประเด็นดังนี้ 1. การเกิดขึ้นของสังคมสมัยใหม่ (The Rise of Modern Societies) ที่เชื่อมโยงกับการค้าและการคมนาคมที่มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการแยกตัวเองไปสู่ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับคนกลุ่มอื่น รวมทั้งการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการเมือง การมีปฏิสัมพันธ์และการติดต่อจะนำไปสู่การกัดกร่อน การทำลายกำแพงทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่ม 2. ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) มีความคาดหวังที่จะกลืนกลายกับกลุ่มหลักหรือกลุ่มที่มีอำนาจ หากได้รับผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจสังคมที่จะทำเช่นนั้น โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ถ้าหากกลุ่มที่มีอำนาจเหนือกว่าไม่สร้างอุปสรรค หรือกำแพงทางสังคม การผสมผสานทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยสามารถดำเนินการได้ 3. อุดมการณ์แบ่งแยกเชื้อชาติและการปฏิบัติ (Racist Ideology and practice) สามารถทำให้เกิดการปะทุโดยความขัดแย้งจากความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจ โดยความเป็นไปได้ของโครงสร้างที่เป็นไปได้คือ 3.1 การขูดรีดแรงงานจากคนงานและชาวไร่นาโดยชนชั้นนำที่มีต่อคนกลุ่มน้อยอื่นๆ 3.2 การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ และการแบ่งแยก การจัดตำแหน่งแห่งที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ 3.3 แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากบทบาทของผู้ประกอบการที่เป็นชาติพันธ์หนึ่งในชุมชนที่กว้างใหญ่ที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย 3.4 การแข่งขันระหว่างชนชั้นแรงงานสองกลุ่มที่ถูกกำหนดภายใต้ความเป็นชาติพันธุ์ที่ต้องเล่นบทบาทแข่งขันกับคนกลุ่มอื่นๆภายใต้ระบบนายจ้าง 4. มิติในด้านประชากร ทั้งในเรื่องของขนาด ความหนาแน่นของประชากร สัดส่วนเรื่องเพศ การแบ่งเขตพื้นที่ รวมถึงผู้เข้ามาใหม่ สามารถเป็นปัจจัยสำคัญของการชะลอ การเร่งหรือการส่งเสริมให้เกิดการแบ่งแยก ในระหว่างรุ่นที่หนึ่งหรือรุ่นที่สอง ในระยะยาวปัจจัยเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการไหลเข้ามาของผู้อพยพอย่างต่อเนื่อง ในยุคก่อนการล่าอาณานิคม (The Precolonial Era) ภูมิศาสตร์ที่น่ากลัวกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ที่ยับยั้งการเคลื่อนย้ายอย่างง่ายดายและการขยายตัวทางการเมืองในระดับภูมิภาคที่ทำให้ปราศจากการครอบงำทางอำนาจ พื้นที่มีความหลากหลายทางภาษา และไม่มีกลุ่มทางวัฒนธรรมที่เหนือกว่า รวมทั้งข้อกำหนดในทางนิเวศวิทยาที่มีความสมบูรณ์และความรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตร ในช่วงนั้นยังไม่ปรากฏการผสมผสานทางชาติพันธุ์มากนักและยังไม่ปรากฏการร่วมมือกันระหว่างชาติพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงสำคัญในสิ่งที่ Hirschman ชี้ว่าการเติบโต การแพร่ขยายและความเข้มแข็งทางการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ มีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะและประกอบสร้างให้เกิดการซึมซับวัฒนธรรมของผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์เข้าด้วยกัน ที่ทำให้ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ขอบนอกเข้ามาติดตามผู้ครอบงำหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การสูญเสีย ภาษาและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงปรารถนาสำหรับคนรุ่นแรกๆในการสร้างอัตลักษณ์แบบใหม่ ดังเช่นร่องรอยในกระบวนการของประเทศมาเลเซียที่คนกลุ่มหนึ่งกลายเป็นมุสลิมเพื่อให้ได้รับการเข้าถึงอัตลักษณ์ของมาเลย์ (Malay Identity) ดังกรณีเช่น การตั้งถิ่นฐานของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์กับศักยภาพทางการค้าของจีนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานของคนจีนในประเทศเหล่านี้ การทำหน้าที่หรือการทำบทบาทการเป็นพ่อค้นของคนจีนยังไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงแรก จนเมื่อมีการปรากฏขึ้นของตลาดโลกและอาณานิคมตะวันตก ชาวจีนจึงเข้ามามีบทบาทในฐานะของพ่อค้าคนกลาง โดยการเข้ามามีบทบาทสำคัญของคนจีนที่มีลักษณะเป็นผู้อพยพ ทำให้เกิดโอกาสในทางเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในลักษณะต่างๆ เช่น การทำเหมืองทองคำในบอร์เนียว) การเพาะปลูกข้าวในชวา การปลูกพริกไทยในกัมพูชา และเกิดการจ้างงานเพื่อปลูกไม้ยืนต้นทางเศรษฐกิจ ในสุมาตราและในมาเลเซีย เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...