Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีความสัมพันธ์กับทรัพยากรดิน แผ่นดิน ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Land ethic หรือจริยธรรมแห่งผืนดิน ที่เชื่อมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มนุษย์คนใดจะมีศีลธรรมจรืยธรรมที่ดีได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์ผู้นั้นสามารถมองเห็น รับรู้ เข้าใจ และสัมผัส รวมถึงชื่นชม รักและศรัทธาในธรรมชาติ ความถูกต้องชอบธรรม จึงสัมพันธ์กับความคิดว่าด้วยการอนุรักษ์ การสร้างความยั่งยืน ความมั่นคงความสมบูรณ์และความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้หญิงจึงมีสถานะของผู้ให้กำเนิดหรือผู้ก่อเกิดวางรากฐานทางวัฒนธรรมและการดำรงชีพ ผู้หญิงให้ความสำคัญต่อธรรมชาติ เคารพ นอบน้อม ที่สำคัญธรรมชาติและทรัพยากรคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมและสังคมของผู้หญิง..
ความพิเศษของความคิดนี้ คือปฎิสัมพันธ์ของผู้หญิงกับสิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนผ่านชีวิตประจำวัน การประกอบพิธีกรรม ทัศนคติมุมมองของผู้หญิงต่อสิ่งแวดล้อม ที่มองแบบเชื่อมโยง สัมพันธ์และเป็นองค์รวม ที่หากมองเชื่อมโยงกับระบบทนนิยม เราจะเห็นอำนาจแบบครอบงำ อำนาจในลักษณะชายเป็นใหญ่ การคิดแบบลดทอนแยกส่วน และทำลาย..
ในหนังสือคลาสสิคของ Aldo Leopold ได้เสนอสิ่งที่เรียกว่าจริยธรรมใหม่ซึ่งเป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับแผ่นดินและกับสัตว์และพืชที่เติบโตบนนั้น โดยเลียวโปลด์เสนอหลักจรรยาบรรณของที่ดินบนพื้นฐานทางนิเวศวิทยา ซึ่งปฏิเสธความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางอย่างเคร่งครัด และมุ่งเน้นที่การรักษาระบบนิเวศที่สมบูรณ์และฟื้นฟูตนเองได้ ภายใต้แนวทางแบบองค์รวมหรือมุมมองเชิงนิเวศสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเลียวโปลด์จะสร้างคำที่เรียกว่าจริยธรรมของแผ่นดิน แต่ก็มีทฤษฎีทางปรัชญามากมายที่พูดถึงวิธีที่มนุษย์ควรปฏิบัติต่อแผ่นดิน ดังเช่นจริยธรรมที่ดินหรือแผ่นดินที่โดดเด่น ได้แก่ จริยธรรมที่มีรากฐานมาจากเศรษฐศาสตร์ การใช้ประโยชน์ หลักการของเสรีนิยม ความเสมอภาค และนิเวศวิทยา
ในบทความคลาสสิกของเขาเรื่อง "The Land Ethic" ซึ่งตีพิมพ์ภายหลังเขาเสียชีวิตในหนังสือชื่อ A Sand County Almanac (1949) เลียวโปลด์เสนอว่าขั้นตอนต่อไปในวิวัฒนาการของจริยธรรมคือการขยายจริยธรรมให้ครอบคลุมถึงสมาชิกที่ไม่ใช่มนุษย์ในชุมชนที่มีชีวิตที่รวมเรียกว่า "ผู้ร่วมแผ่นดิน" เลียวโปลด์ระบุหลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณในที่ดินหรือผืนแผ่นดินของเขาว่า "สิ่งหนึ่งจะถูกต้อง เมื่อมันมีแนวโน้มที่จะรักษาความสมบูรณ์ ความมั่นคง และความสวยงามของชุมชนที่มีชีวิต คงจะเป็นสิ่งที่ผิดหากมันจะมีแนวโน้มไปเป็นอย่างอื่น"
เขายังอธิบายเรื่องนี้ในลักษณะนี้ว่าจริยธรรมของที่ดินหรือแผ่นดินไม่เพียงแค่จำกัดขอบเขตของชุมชนมนุษย์เท่านั้น แต่ยังให้รวมถึงดิน น้ำ พืช และสัตว์ หรือสิ่งร่วมแผ่นดินอื่นๆด้วยเช่นกัน จริยธรรมที่ดินได้เปลี่ยนบทบาทของ Homo sapiens จาก ผู้พิชิตชุมชนแผ่นดิน เปลี่ยนไปสู่การเคารพเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลกของพวกเขาและเคารพในชุมชนด้วยเช่นกัน
เลียวโปลด์เป็นนักธรรมชาติวิทยา เป็นนักปรัชญา เขาได้เสนอหลักจริยธรรมของที่ดินหรือแผ่นดิน โดยเน้นถึง
(1) มนุษย์ควรมองตนเองว่าเป็นสมาชิกธรรมดาและเป็นพลเมืองของชุมชนที่มีชีวิต ไม่ใช่เป็น "ผู้พิชิต" ของแผ่นดิน
(2) เราควรขยายการพิจารณาทางจริยธรรมไปสู่ระบบนิเวศทั้งหมด (ดิน น้ำ พืช สัตว์และสิ่งอื่นๆ)
(3) ข้อกังวลหลักด้านจริยธรรมของเราไม่ควรอยู่ที่พืชหรือสัตว์แต่ละชนิด แต่ควรมองความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมการทำงานที่ดีที่ส่งผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในชุมชน
(4) ว่าด้วย หลักศีลธรรมจริยธรรมทางนิเวศวิทยาก็คือพวกเราควรพยายามรักษาความสมบูรณ์ เสถียรภาพ และความสวยงามของชุมชนที่มีชีวิต
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางประเทศที่นอกภูมิภาค ความคิดที่แบ่งแยกผู้หญิงเป็นด้านของธรรมชาติ ผู้ชายเป็นด้านของวัฒนธรรม ทั้งสองอย่างเป็นแนวคิดเพศภาวะที่อยู่ภายใต้วิธีคิดแบบทวิลักษณ์นิยม หากทว่า แท้จริงแล้ว ชายและหญิง ธรรมชาติและวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดออกจากกัน ต่างเกื้อกูลและพึ่งพากันเพื่อสร้างความสมดุล ...
วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปรับตัวเข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันธรรมชาติก็กำหนดรูปแบบทางวัฒนธรรม พิธีกรรมและความเชื่อ ที่วางรากฐานแนวทางในการปฏิบัติให้มนุษย์รู้จักเคารพ ปกป้อง รักษาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน.. ความเข้าใจในธรรมชาติต้องการมนุษย์ที่มีความรู้สึกลึกซึ้ง มีความเคารพ มีเมตตา และมีความอ่อนโยนต่อธรรมชาติ เนื่องจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่เปราะบาง ซับซ้อน มีจิตวิญญาณ มีความหลากหลายของชีวิตและเต็มไปด้วยพลัง...ดังนั้นธรรมชาติจึงต้องการความเอาใจใส่ การปกป้อง การดูแลรักษาและการพึ่งพาเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างกันระหว่างธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติและมนุษย์ด้วยความอ่อนน้อมต่อกัน..
ผู้หญิงในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยเฉพาะในแผ่นดินอุษาคเนย์ ผู้หญิงเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลปกป้องธรรมชาติ เป็นผู้ดูแลคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ดูแลเรื่องการเพาะปลูก เฉกเช่นเดียวกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่เป็นเพศหญิง ทั้งความเชื่อและการนับถือแม่คงคา แม่ธรณีและแม่โพสพ ที่สะท้อนความสัมพันธ์ของผู้หญิงในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสังคมและวัฒธรรมและอำนาจของธรรมชาติ ผู้หญิงจึงดำรงสถานะเป็นตัวประสานตรงกลางระหว่างพรมแดนของธรรมชาติกับวัฒนธรรม..
ในขณะเดียวกันภาวะด้านอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิง ที่เชื่อมโยงและมีความใกล้ชิดกับภาวะธรรมชาติมากกว่าผู้ชาย ก็ทำให้ผู้หญิงมีความเข้าใจในธรรมชาติได้ไม่น้อยกว่าผู้ชายและอาจจะมากกว่าผู้ชายเสียด้วยซ้ำ ในอีกด้านหนึ่งผู้หญิงก็มีบทบาททางด้านวัฒนธรรมได้เฉกเช่นเดียวกับผู้ชาย ในแง่ของการเป็นตัวกลางระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรม ดังนั้นผู้หญิงจึงเป็นทั้งผู้พิทักษ์ธรรมชาติและผู้พิทักษ์ทางวัฒนธรรม...เช่นเดียวกับผู้หญิงกะเหรี่ยงโผล่วบ้านพุเม้ยง์ จังหวัดอุทัยธานี
#ผู้หญิงกะเหรี่ยงกับการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ขอบคุณภาพบางส่วนจากคุณหน่อย รัตนา ภูเหม็นครับ.
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น