Posthumanism เชิงปรัชญาของ Francesca Ferrando เริ่มต้นด้วยการกล่าวอ้างอย่างท้าทายว่า 'ลัทธิหลังหลังมนุษย์คือปรัชญาสำคัญแห่งยุคสมัยของเรา' งานเขียนของเธอเริ่มต้นกับการตั้งคำถามง่ายๆ ในหลายประเด็น เช่น 'ลัทธิหลังมนุษย์หมายถึงอะไร'; 'ลัทธิหลังมนุษย์มาจากไหน?'; ไปจนถึง 'ชีวิตคืออะไร' และพหุภพ(มาจากคำว่า Multiverse คือแนวคิดที่มีสมมติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา) คืออะไร' เธอยืนยันถึงความเร่งด่วนของลัทธิหลังมนุษย์ที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อ การกำหนดนิยามใหม่อันสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ตามการพัฒนาทางพยาธิวิทยาทางการแพทย์ตลอดจนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพของศตวรรษที่20และ21เป็นต้นมา (2019, p.1)
Ferrando มองว่าลัทธิหลังมนุษย์ในเชิงปรัชญาประกอบด้วยแนวคิดหลักสามประการ ได้แก่ ลัทธิหลังมนุษยนิยม(Post-humanism) ลัทธิหลังมานุษยวิทยา (Post-Anthropology) และหลังลัทธิทวิลักษณ์นิยม (Post-Dualism) ข้อโต้แย้งหลักของเธอเกี่ยวกับลัทธิหลังมนุษยนิยมคือว่าประสบการณ์ของมนุษย์ควรเข้าใจเป็นพหุนิยมมากกว่าในแง่ทั่วไปและเป็นสากล การลดทอนความเป็นมนุษย์โดยสัมพันธ์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นประเด็นหลักของลัทธิหลังมานุษยวิทยา Post-dualism มุ่งเน้นไปที่การทำลายความเป็นคู่ตรงกันข้ามที่เข้มงวด เด็ดขาด และสัมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปสู่แนวความคิดแบบการจัดลำดับชั้น เช่น มนุษย์/สัตว์ จิตใจ/ร่างกาย สำหรับ Ferrando แนวคิดทวิลักษณ์ดังกล่าวทำให้เกิดกระบวนการอื่นตามมาที่ปรากฏอยู่ในความคิดแบบตะวันตกจำนวนมากซึ่งส่งผลให้เกิดการครอบงำ... Ferrando มองว่าลัทธิหลังมนุษย์(Post-Human) มีความเชื่อมโยงกับความคิดแบบลัทธิหลังมานุษยวิทยา (Post-Anthropology )และเพิ่มแนวคิด Post-dualism เป็นแง่มุมทางปรัชญาที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
Ferrando เปิดเผยให้เห็นลำดับวงศ์ตระกูลหรือสาแหรกทางความรู้ของของลัทธิหลังมนุษย์ โดยระบุวิถีทางของมันผ่านลัทธิหลังสมัยใหม่(Post-Modern) ด้วยอิทธิพลของการศึกษาที่แตกต่างหลากหลาย อาทิเช่น สตรีนิยม ลัทธิหลังอาณานิคม ทฤษฎีเกี่ยวกับเชื้อชาติและเพศทางเลือก สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่ในการแยกแยะ การทำลาย'ศูนย์กลาง' ของวาทกรรมของตะวันตก ซึ่งลัทธิหลังมนุษย์สร้างขึ้นโดยการพยามรื้อ หรือละทิ้ง ความเป็นศูนย์กลางในรูปแบบเอกพจน์ หรือในรูปแบบความคิดแบบเจ้าโลกและสร้างแนวคิดแบบต่อต้าน ต้านทานกับศูนย์กลาง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีภาวะลื่นไหล มีภาวะชั่วคราว และมุมมองที่เป็นแบบพหุนิยม หลายชั้น และครอบคลุมมากที่สุด' (Ferrando, 2019, pp. 56-7)
ข้อจำกัดของแนวความคิดของมนุษย์ในลัทธิหลังมนุษย์นิยมในเชิงปรัชญา ที่กล่าวอ้างถึงอุดมคติของมนุษยนิยม ที่มี “มนุษย์”เป็นศูนย์กลาง ได้สร้าง มาตรฐานแห่งอารยธรรมที่มีความพิเศษ ที่อ้างว่าตัวเองมีเอกสิทธิ์พิเศษในการเข้าถึงเหตุผลที่สะท้อนความเหนือกว่าในเผ่าพันธุ์มนุษย์ของตัวเอง โดยการหลอมรวมและมีเป้าหมายเพื่อเชืดชูวัฒนธรรมยุโรป อเมริกาโดยเฉพาะ
การอธิบายแบบจำลองอารยธรรมนี้นำไปสู่แนวความคิดแบบอาณานิคมของยุโรปที่มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง อีกทั้ง Ferrando กล่าวอ้างถึงหลักฐานเขิงประจักษ์ของการเป็นทาส การกลายเป็นทรัพย์สิน การปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองของชาวอเมริกันในฐานะของผู้พิชิต รวมถึงกรณีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาและนาซีในฐานะผู้ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์อื่นๆ ผลกระทบที่เกิดจากมรดกทางความคิดแบบมนุษยนิยมที่โดดเด่นนี้ เป็นเสมือนแบรนด์หรือป้ายประกาศของลัทธิหลังมนุษย์นิยม
ปรัชญา Posthumanism เป็นการเน้นย้ำถึงการวิพากษ์ การสืบค้นความรู้ภายใต้แนวคิดหลังมนุษยนิยม ผ่านการรวมเอาแนวคิดทางด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อพิจารณาวาทกรรมปรัชญามนุษยนิยมแบบตะวันตกก่อนหน้านี้ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง โดยตระหนักถึงข้อจำกัดของสมมติฐานที่เกี่ยวโยงกับมนุษยนิยมและแนวคิดแบบทวิลักษณ์นิยมที่แข็งตึง (Ferrando, 2019 หน้า 55)
เช่นเดียวกับ Donna Haraway ซึ่งได้เคยกล่าวว่า แม้แต่เรื่องเพศ เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นแค่คำกริยา ไม่ใช่คำนาม (อ้างใน Ferrando, 2019, หน้า 68) ดังนั้นสำหรับ Ferrando ‘มนุษย์ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เป็นกระบวนการ…[หนึ่ง]ของการทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่ผ่านประสบการณ์ การขัดเกลาทางสังคม การยอมรับ และการรักษา (หรือการปฏิเสธ) มรดกที่เชิงบรรทัดฐานของมนุษย์ที่ถ่ายทอดทอดต่อกัน
เฟอร์รันโด พิจารณาลัทธิข้ามเพศ ผ่านเรื่องของ Technogenesis ซึ่งเป็นวิวัฒนาการร่วมกันของการพัฒนามนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจของพวก posthumanists อย่างชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับการก่อตัวขึ้นของผู้คน เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการกำหนดนิยามใหม่ของมนุษย์ ซึ่งสำหรับ Ferrando นั้นมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี อยู่บนพื้นฐานของตำแหน่งแห่งที่ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและมีเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางด้วย (2019, p.38) เธอชี้ให้เห็นโอกาสที่มนุษย์ (บางคน) จะออกแบบระบบนิเวศทั่วโลกใหม่ ตามการรับรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงสัมพัทธ์และวัฒนธรรมเฉพาะ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เราควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองและความสนใจกับสายพันธุ์อื่น นอกจากสายพันธุ์ของมนุษย์ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งกว่า
ลัทธิหลังมนุษย์ก้าวข้ามมุมมองทางญาณวิทยาผ่านการเคลื่อนไหวของแนวคิดสตรีนิยมในการระบุตัวตนของตนเอง และยอมรับว่าตนเองมีวความเป็นพหูพจน์และมีความหมายภายใต้มิติเชิงความสัมพันธ์ เธอเน้นย้ำว่า การเข้าถึงมุมมองที่ไม่ใช่มนุษย์นั้น หมายถึงการพิจารณาถึงการมีอยู่ของสายพันธุ์อื่น… มันหมายถึงการได้ยินเสียง สัญญะหรือข้อความของพวกเขาที่สื่อสารกับพวกเรา...
นอกจากนี้ Ferrando กล่าวถึง 'ลัทธิหลังทวิลักษณ์นิยมที่สำคัญ…ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่มีที่ว่างให้กับสิ่งอื่น สำหรับการแยกอย่างเข้มงวดระหว่างความเป็นและความตาย หรือการจัดวางขอบเขตที่เข้มงวดตายตัวระหว่างสารอินทรีย์/อนินทรีย์ สิ่งที่เป็นชีวภาพ/สิ่งเทียม และความจริงทางกายภาพ/ความจริงเสมือน ที่ต้องได้รับการท้าทายและการสลายคู่ตรงกันข้าม การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
***จริงๆยังมีประเด็นอีกมากมายที่มีข้อถกเถียงที่น่าสนใจคงต้องใช้เวลาที่จะอ่านทำความเข้าใจมากขึ้น...
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น