ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การประยุกต์ใช้ PDCA กับการพัฒนาตัวเอง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มันคือความท้าทายที่เราจะเรียนรู้อะไรบางอย่างจากเครื่องมือที่เรามี …ใช้มันอย่างเข้าใจ แปลงมันให้ง่ายและไม่ต้องซับซ้อนมากเกินไป ในขีวิตผมเมื่อเข้ามาเป็นอาจารย์ ผมอบรมหลายอย่าง ทั้งในเชิงเนื้อหา เชิงแนวคิด เชิงเครื่องมือ เพราะต้องดูแลเริ่องหลักสูตร การประกันคุณภาพ การเขียนหลักสูตรและโปรแกรมหลักสูตรให้สามารถตอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังได้ ที่นำไปออกแบบคอร์สรายวิชาให้สอดคล้อง ผมนึกถึงเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่ง่ายและกระบวนการไม่ได้ซับซ้อนมาก ก็คิอ PDCA และคิดว่าถ้าเราเอามาใข้กับการดํการเปลี่ยนแปลงของลูกเรา เราจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างไรบ้าง ใข้ได้จริงไหม มีประโยชน์ไหม คำว่า PDCA (Plan, Do, Check, Act.) คือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสามารถ การเปลี่ยนแปลงและการเติบโตในขณะที่ดำเนินการไปข้างหน้า คำถามสำคัญคือเราจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร ลูกของผมเริ่มเติบโต และเธอชอบที่จะวาดหรือเขียนสิ่งต่างๆ บันทึกสิ่งต่างๆได้แล้ว รวมถึงการทำสิ่งของต่างๆตามจินตนาการ ร แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้ผม ตั้งคำถามและสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการเล่น การทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆของเธอ ที่เอาของในบ้านมาตัด มาติด มาต่อ ทำให้เกิดงานต่างๆ เหล่านั้นว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่ พวกเขามีประโยชน์วนการสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอย่างไรบ้าง เมื่อลูกล้มเหลว ( ทำสไลม์ แล้วไม่เป็นใส่กาวเยอะไป แป้งน้อยเกินไป ) หรือประสบความสำเร็จ หรือต้องทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จเพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาอวดพ่อแม่ว่าใช้ได้จริง ไม่ต้องซื้อ และอื่นๆ เมื่อทำพลาดก็ลองทำใหม่ ไม่ต้องเสียดาย ไม่ต้องต่อว่า แต่ให้กำลังใจ ขวนทำใหม่อีดครั้ง ชวนดูคลิปที่เขาบอกขั้นตอน ส่วนผสมที่ชัดเจน แล้วลองทำดู สุดท้าย เธอพบว่าที่ลองทำตามสูตรมันแข็งไป ก็ลองใส่แชมพู น่ำยาล้างจาน ใส่กากเพชร มันก็ทำให้สวยและยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งก็เป็นการค้นพบศักยภาพจากการลงมือทำฝนกระบวนการเหล่านี้ นี่ก็อาจเป็นตัวอย่างที่ดีและชัดเจนถึงสิ่งที่เรียกว่า PDCA ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ก็คือการเอาชนะความท้าทายและความล้มเหลวอย่างสนุกสนานสร้างความรู้สึกมองโลกในแง่ดี รวมถึงความเชื่อ โยงกับระบบประสาทและความรู้สึกอารมณ์จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเราแก้ปัญหาได้ เราก็จะทำต่อไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นพวกเราจึงจำเป็นต้องปลูกฝังความรู้สึกเป็นอิสระในการเรียนรู้ให้กับเด็ก พยามอย่าพรากอิสระของพวกเขา(เด็ก)ไป...ยิ่งเราตีตราความล้มเหลวให้น้อยลง เราก็จะยิ่งส่งเสริมความเป็นอิสระและการมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ความเป็นอิสระและการมองโลกในแง่ดีทำให้เด็กกลายเป็นผู้เรียนที่ดีขึ้น การเป็นผู้ทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น และผู้ปฏิบัติงานที่ดีขึ้นด้วย ผมเชื่อแบบนั้น ผมเชื่อว่า PDCA ช่วยให้เราอยู่ในโหมดของความสามารถกระทำบางสิ่งบางอย่าง มันท้าทายให้เราแก้ปัญหาในส่วนที่ค่อนข้างเล็ก และทำให้เราประสบกับความล้มเหลวเล็กน้อยและสร้างประสบกับการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ แต่ต้องมองว่า คำว่า 'ล้มเหลว' ไม่ใช่คำที่ไม่ดี แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประสบการณ์ไม่มากพอ แต่ก็สามารถจัดการได้ การช่วยเติมประสบการณ์จะช่วยให้เราก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จได้ ในขณะที่ 'ความสำเร็จ' เป็นความรู้สึกที่วิเศษยอดเยี่ยมและต้องหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการทำที่ต่อเนื่อง ท้าทายและ พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง PDCA ช่วยให้เราประสบกับความสำเร็จและความล้มเหลวที่เราสามารถจัดการและควบคุมมันได้ และถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้เรารู้สึกว่าเรามีความสามารถ ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากประสบการณ์ของเราและความพยายามที่เราทุ่มเทให้กับ 'การทำ' สิ่งนี้เป็นเสมือนเชื้อเพลิงให้เราดำเนินการต่อ พยายามแก้ไข เปลี่ยนแปลง และเติบโตขึ้นอยู่ตลอดเวลา แน่นอน เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ที่เราไม่คุ้นเคย ทฤษฎีที่ดูเคร่งครัดและยากเกินไป แต่ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล เพราะเราแค่ต้องมีประสบการณ์ ที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการของเรา และปรับปรุงให้ดีขึ้น ประวบการณ์มาจากไหนก็อยู่ที่การลงมือทำ ทำซ้ำ ตรวจสอบซ้ำ สะท้อนย้อนมองบ่อยๆ และผมก็จะช่วยลูกมองและสรุปสิ่งที่เป็นข้อเรียนรู้ให้กับเขา ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้ PDCA สำหรับผมง่ายๆซึ่งอ้างจากการศึกษาของ Mike Langlois ที่บอกว่า 1.    อย่าลืมที่จะสนุกไปกับการเปลี่ยนแปลง เพราะความสนุกสนานช่วยให้ความรู้สึกต่อความล้มเหลวดีขึ้นและเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาในปัจจุบันและอนาคต 2.    เมื่อบางสิ่งน่าสนใจและมีประโยชน์ การแก้ปัญหาก็ง่ายขึ้นเช่นกันPDCA เป็นเหมือนจิ๊กซอว์สำคัญ ดังนั้น ควรมีความน่าสนใจและเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการจะทำ เช่นเดียวกับปริศนา เราต้องพยายามหาคำตอบหลายครั้งก่อนที่จะเข้าใจปริศนานนั้น 3.    ส่งเสริมการจัดการ การควบคุมและปกครองตนเอง เมื่อเราได้รับประสบการณ์จากความล้มเหลวและลองใหม่ (ตรวจสอบอีกครั้ง) เราก็จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและลองใหม่อีกครั้ง ในที่สุดเราอาจจะค้นพบว่าเราเก่งขึ้น เจ๋งกว่าในสิ่งที่ทำอยู่เดิมด้วยซ้ำ นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากใน PDCA การมีอิสระในการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการปรับตัว การดังนั้นเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นหากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้คิดด้วยตัวเอง ล้มเหลว ทำผิดพลาด และลองใหม่อีกครั้ง 4.    ยินดีต้อนรับความล้มเหลว และมองว่ามันเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ตงอย่าคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จตั้งแต่ขั้นตอนที่หนึ่ง แต่จงกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ และลองทำครั้งแล้วครั้งเล่า 5.    จัดการกับขั้นตอนเล็กๆ ทีละอย่าง ไม่จำเป็นต้องวางแผน ตรวจสอบ และดำเนินการในโครงการขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นวงจรที่ยาวนาน อาจเป็นกระบวนการประจำวันของการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ และลงมือทำ แบ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ออกเป็นงานที่เล็กลง หยิบทีละอันแล้วไปกับมัน 6.     กระบวนแม่ตรวจสอบ หมายถึงสื่อสาร พูดคุย ปรึกษาหารือถามว่าอะไรเป็นไปด้วยดีและเราทำอะไรที่แตกต่างออกไปได้บ้าง เราสามารถใช้การรวบรวมรายวันเพื่อตรวจสอบสิ่งนั้น 7.    ปลดปล่อยตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) ทำสิ่งเล็กๆ วันละหนึ่งอย่างเพื่อท้าทายตัวเอง ทำอะไรที่ไม่เกิดความรู้สึกอึดอัด ลองดู เรียนรู้และปรับตัวในวันถัดไป 8.    การเรียนรู้เป็นเส้นโค้ง ดังนั้นเราสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น การเติมทักษะเป็นสิ่งสำคัญ 9.    ชื่นชมความพยายามในการลงมือทำ การได้ลองทำ มีความสำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่ประสบความสำเร็จ จะทำให้มีกำลังใจ พลังใจในการลงมือทำซ้ำ ทำใหม่ ไม่หมดกำลังใจ 10. ทำให้มองเห็นภาพจองการเปลี่ยนแปลงให้ชัด เมื่อเรามองเห็นการเปลี่ยนแปลง มันจะเพิ่มความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนแปลงและดำเนินการต่อไป เพื่อให้เห็นภาพ เราทำได้หลากหลายวิธีอาจโดยใช้กระดาษโน้ตติดไว้บนกระดาน เรียกใช้กระบวนการ PDCA ด้วยภาพ และทำจนกว่าผู้คนจะมองไม่เห็นกระบวนการอีกต่อไป มันจะกลายเป็นสิ่งที่ทำโดยอัตโนมัติในเนื้อตัวร่างกายของคนคนนั้นในอนาคต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...