คนที่เป็นหมอ พยาบาล ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาคนไข้ คนไข้ที่ไม่ใช่ญาติ เป็นผู้มารับการรักษา มารับบริการ ในระบบสุขภาพ เป็นคนไข้ ลูกค้าของโรงพยาบาล เป็นการรักษาตามอาการ ตามหน้าที่ที่กำหนด
ในขณะที่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็นสามีภรรยา เป็นญาติพี่น้อง ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย เป็นการดูแลผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ตามหน้าที่ แต่เป็นความรักและความปรารถนาดีต่อผู้ใกล้ชิดหรือคนที่ตัวเองรัก
ทั้งสองกรณี เขื่อมกับแนวคิดเรื่อง การดูแลและการรักษา Cure and Care ซึ่งก็น่าสนใจที่จะวิเคราะห์ต่อ
เพราะคำว่า Cure คือการรักษาตามแบบ ตามระบบมีสิ่งที่กำกับภายใต้มาตรฐาน Standardization คนไข้มาต้องได้รับการรักษา1,2,3,4 เพื่อให้หายจากโรค หรือประคับประคอง บรรเทาอาการเจ็บป่วย หากรักษาตามขั้นตอนที่กำหนด
ส่วนคำว่าว่า care มันคือการดูแล ที่ต้องเอาใจใส่ ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ข้างใน ต้องมองมากกว่าร่างกายของผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การดูแลรักษา แต่ต้องให้ผู้ป่วยมีความสุข มีความรู้สึกสบายด้วย อันนี้เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับเรื่องของจิตวิญาณ ที่สร้างการตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของคนอื่น มีความปรารถนาที่อยากจะให้คนที่ดูแลได้หายจากโรคหรือความเจ็บป่วย และมีความสุขในการใช้ชีวิตไปพร้อมกันด้วย
การให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเรากำลังพูดถึงมนุษย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงการมองมนุษย์ ที่เป็นวัตุของความรู้ วัตถุของการถูกจ้องมองตรวจสอบ ถูกศึกษา วัตถุของการรักษา ไปสู่การให้ความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิด ต่อเนื้อตัวร่างกายที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้สึก ไม่ใช่เครื่องจักร …
มันคิอความท้าทายที่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีสมัยมใหม่ กับเครื่องจักร มันไม่เกิดการลดทอนคุณค่าซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็น อวัยวะเทียม แขนขนาเทียม เครื่องพยุงขีพ เครื่องงฟอกไต ถุงปัสสาวะ บริเงณหน้าท้อง การเจาะช่องคอและการใส่ท่อที่คอ และอื่นๆ …ทำอย่างไรจะทำให้มีการดูแลจิตวิญญาณ อารมณ์ ความรู้สึก มากกว่าจะแค่ดูแลร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น
โลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคทุนนิยมตอนปลายในแบบที่แอนโทรนี่ กิดเด้น นักสังคมวิทยา ได้เคยบอกไว้ ว่าระบบการผลิตเปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้า ไปสู่เริ่องของการบริการมากขึ้น ผู้ผลิตไม่ได้ผลิตหรือขายสินค้าอย่างเดียว แต่ยังเน้นการขายปฏิสัมพันธ์กับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการด้วย เหมือนผู้ป่วยไม่ได้ต้องการแค่ยาในการรักษส แต่ต้องการการแนะนำ การดูแล จะใช้ยาอย่างไร จะรักษาอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไร รวมถึงคำถามที่ไกลมากกว่านั้นก็คิอ ฉันจะมีชีวิตที่มีความสุขอย่างไร กับความเจ็บป่วยและการรักษาที่ต้องเผชิญอยู่ ที่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ(Spiritual) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปฎิบัติการหรือคนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการจะต้องเข้าใจและใส่ใจ
เมื่อหันกลับมามองวิชาการทางมานุษยวิทยา ที่หัวใจของวิขานี้เน้นที่เรื่องของการศึกษามานุษย์ในทุกมิติ เพิ่อทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น ในทางมานุษยวิทยาหัวใจสำคัญคือมนุษย์ มนุษย์ที่มีตัวตน มีความรู้สึก มีความคิด มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมและเงิ่อนไขส่วนบุคคล ดังนั้น ในฐานะที่พวกเราเป็นนักวิชาการด้านนี้ การให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ภายใน เนื้อตัวร่างกายของมนุษย์จึงเป็นประเด็นสำคัญ เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย การเคารพในความเป็นมนุษย์ และการมองความเชื่อมโยงแบบองค์รวม การมีสภาวะแบบรู้ร้อนรู้หนาว ช่างสังเกต มีความอ่อนไหว และความรวดเร็วต่ออารมณ์ คงามรู้สึก ความเปราะบางของผู้คน การเคารพในความแตกต่างหลากหลายของผู้คน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มันก็คือแขนงความรู้หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการบ่มเพาะหรือพัฒนาทางจิตวิญญาณ ให้เราได้สะท้อนย้อนคิด ย้อนมองตัวเองและคนอื่น การให้คุณค่ากับคนอื่น รับฟัง และเคารพคนอื่น
เรื่องสุขภาวะทางปัญญา หรือจิตวิญญาณเป็นเรื่องความรู้เฉพาะตัว และเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง
การสร้างนิยามและสร้างความเข้าใจให้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้จริง รวมทั้งต้องทำให้จิตวิญญาณมันจับต้องได้ ไม่ล่องลอย เพ้อฝัน การจับต้องสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ได้จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังเช่น การรับรู้ถึงการเกิดสุขภาวะทางปัญญา หรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณขั้้นสูง แม้ว่าเราจะเจริญสติ ปฏิบัติสมาธิ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุขภาวะทางปัญญาได้เกิดขึ้นกับตัวเรา และมันเกิดขึ้นจริงโดยที่เราไม่มโนไปเอง แม้ว่าเราจะบอกว่าสุขภาวะทางปัญญามันเป็นความรู้เฉพาะตังที่เกิดจากการปฏิบัติ มันต้องมีมาตรวัดอะไร ที่ทำให้เห็นภาวะดังกล่าว เช่น การฝึกสมาธิเป็นระยะเวลานานมันส่งผลต่อภาวะความเครียด ความดันที่ลดลง หรือ ลดการหลั่งสารบางอย่างที่คุกคามหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือ การสร้างสุขภาวะทางปัญญาในโรงเรียน มันช่วยลดอัตรการฆ่าตัวตายในโรงเรียน เด็กมีรอยยิ้มมากขึ้น จัดการกับปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการวัดในระดับพฤติกรรม หรือทัศนคติ หรือ ไปไกลมากกว่านั้นคือ การวัดที่ฮอร์โมน การทำงานของระบบประสาท ส่วนหลัง ส่วนหน้า ซึ่งในต่างประเทศก็มีการทำการวิจัยเรื่องเหล่านี้
ดังนั้นสิ่งที่น่าจะเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้คือ การเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับปัญหา และใช้สิ่งเหล่านี้ในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ดังนั้นจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญามันสะท้อนมุมุมองและวิธีการแก้ไขปัญหา ว่าเรามองตัวเอง มองคนอื่น มองสังคมและมองปัญหานี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเราแก้ปัญหาโดยการฆ่าตัวตาย การหันหาความเชื่อที่ไร้เหตุผล นั่นคือภาพสะท้อนถึงการปราศจากสุขภาวะทางปัญญา และเมื่อมีตัวอย่างที่สะท้อนความสำเร็จของการแก้ไขปัญหา เราก็จะสามารถนำตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ใช้ได้จริง มาเผยแพร่สู่สาธารณะ ให้กลายเป็นความรู้ที่จับต้องได้ และท้ายที่สุดก็สามารถนำมาวางเป็นนโยบายสาธารณะของสังคมได้
ที่สำคัญก็คือการทำให้มิติทางจิตวิญาณ และสุขภาวะทางปัญญาอยู่ในเนื้อตัวร่างกายของมนุษย์ทุกคน ให้ทุกคนตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นพื้นฐานของทุกคน เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ในแวดวงการแพทย์หรือศาสนา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เติบโต งอกงามจากภายใน
การมองตัวเอง มองคนอื่น มองสิ่งรอบตัวที่มีความสัมพันธ์แบบเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน เห็นคุณค่า สร้างความเป็นธรรม และความเท่าเทียมในสังคมและระบบสุขภาพและสร้างความสุขที่สมดุล อาจสรุปได้ว่า สุขภาวะทางปัญญา คือ ความสุขที่เกิดขึ้นจากเรารู้จักตัวเอง การมองเห็นความเชื่อมโยงของเรา ผู้คน สังคม และธรรมชาติ
ดังนั้น เวลามองความเจ็บป่วย มองการเป็นโรค หรือมองความทุกข์ทรมานของผู้คนต่อความเจ็บป่วย มันมองได้หลากมิติ ไม่ได้มองแค่การอธิบายเชื้อโรคการติดเชื้อแบบวิทยาศาสตร์ แต่เรามองความรู้สึกต่อภาวะความเจ็บป่วย ประสบการณ์ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการบ่มเพาะและสร้างประสบการณ์ของความเจ็บป่วยและความทุกข์ทนที่มีบริบทที่เฉพาะ ที่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ที่ทำให้เรามองความเจ็บป่วย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลเท่านั้น แต่ยังอาจรวมถึงความเจ็บป่วยในทางสังคมด้วย..หรือระบบสุขภาพที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน จากการเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ การรอคอยจากระบบบริการสุขภาพ ความเหลื่อมล้ำ การถูกเลือกปฏิบัติ รวมถึงจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย ภาวะสมองไหล การออกนอกระบบสุขภาพของแพทย์จบใหม่ และอื่นๆที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วย นี่คือ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นความพร่องทางจิตวิญญาณ และการไร้ซึ่งสุขภาวะทางปัญญา …ผมจึงมองว่า การสร้างคุณค่าของคนทำงาน หรือองค์กรทางการแพทย์สำคัญ สร้างให้เห็นคุณค่าของตัวเอง ของผู้อื่น ของสังคม ในขณะเดียวกัน ระบบสุขภาพ โครงสร้างขององค์กร ก็ต้องเอื้อกับการสร้างคุณค่าเหล่านี้ให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นคือเรากำลังพูดถึงระบบสุขภาพที่มีจิตวิญญาณ (spiritual health care) และการให้คุณค่ากับคนไข้ คืนความหมายให้กับคนไข้ มองภาวะความเจ็บป่วยของคน ในแง่มุมชีวิตของคนคนหนึ่ง(one’s of living ) ไม่ใช่เป็นวัตถุของการรักษา…
ดังนั้นแม้ว่าสุขภาวะทางปัญญาจะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคล แต่สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญา …ตัวอย่างเช่น ถ้าครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูด้วยความรักความเข้าใจ ลูกมีภูมิคุ้มกัน การจัดการปัญหาจึงไม่ใช่การคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ใช้สติในการแก้ไขปัญหา มีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้กับปัญหา ที่สะท้อนสุขภาวะทางปัญญา และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีครอบครัวสนับสนุน เป็นต้น
ผมว่าเป้าหมายของการเยียวยาความเจ็บป่วย คือการมองเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน การคืนคุณค่าให้กับชีวิต ทั้งคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ คุณค่าของผู้ป่วย รวมทั้งความสุขที่เกิดขึ้นจากการตระหนักหรือมองเห็นคุณค่าในตัวเอง และผู้อื่น ให้สิทธิในการดูแลจัดการตัวเอง การเลือกหนทางของการรักษา การตายดี ผมว่านี่คือสิ่งที่สะท้อนเรื่องของสุขภาวะทางปัญญาที่งอกงามและพัฒนาในตัวมนุษย์
ขอบคุณเวทีนี้ที่ทำให้ผมค้นพบความงอกงามบางอย่าง และกลับมาทบทวนเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของมนุษย์ที่เติบโตจากภายใน และเชื่อมโยงจากภายนอก จาก IDG (Inner development growth ) สู่SDG ( sustainable development growth)
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น