การค้นพบอาหารใหม่ๆ เป็นความสุขแก่มนุษยชาติทั้งปวงยิ่งกว่าการค้นพบดวงดาวเสียอีก" Brillât Savarin ในหนังสือ The Physiology of Taste หรือสรีระแห่งรส
ความสนใจเรื่องอาหารกับเพศ มันเกิดจากบทสนทนาที่ถามนักศึกษาในห้องเรียนวิชา Anthropology of Sex and Sexuality… ที่ผมถามว่าอยากเรียนประเด็นอะไรเพิ่มเติมบ้างจากคอร์สรายวิชาที่วางเอาไว้เบื้องต้น นักศึกษาหลายคนตอบว่าเรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย เฟมมินิสต์ เควียร์ เพศวิถีออนไลน์ บลา บลา บลา จมกระทั่งนักศึกษาคนหนึ่งที่ชื่อสิทธิ ที่เธอชอบนั่งหน้าห้องและถามเป็นประจำ ตอบผมว่า ผมสนใจเรื่องอาหารครับ...ผมตอบว่าโอเคเดี๋ยวอาจารย์จะแทรกเรื่องนี้เข้าไปและพิจารณาดูว่ามีประเด็นอะไรที่จะเกี่ยวข้องบ้าง และอาจเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาหรือเขียนตำราเรื่องนี้ในอนาคต
ผมเลยพยามค้นหางานและหนังสือที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีงานของคาโรล คูนิฮาน และ สตีเวน แคปแลน เรื่อง Food and Gender: Identity and Power (เล่มนี้ผู้เขียนพยามตรวจสอบความสำคัญของกิจกรรมที่เน้นอาหารเป็นหลัก ที่เชื่อมโยงต่อความสัมพันธ์ทางเพศและการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศข้ามในวัฒนธรรม โดยพิจารณาว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศแต่ละเพศกับอาหารอาจเอื้อต่อการเคารพซึ่งกันและกันหรือสร้างลำดับชั้นทางเพศได้อย่างไร ความสัมพันธ์นี้ได้รับการพิจารณาจากคำถามหลักสองข้อ: การควบคุมการผลิต การกระจาย และการบริโภคอาหารมีส่วนทำให้เกิดอำนาจของผู้ชายและผู้หญิงและตำแหน่งทางสังคมอย่างไร และอาหารเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นชายและความเป็นหญิงและสร้างคุณค่าทางสังคมของชายและหญิงได้อย่างไร? ประเด็นอื่นๆ ที่กล่าวถึง ได้แก่ ทัศนคติของผู้ชายและผู้หญิงที่มีต่อร่างกายและความชอบธรรมของความต้องการและอยากอาหาร เป็นต้น) หรืองานของMarilyn Morgan เรื่อง Gender, Food and Culture in American History หรือหนังสือชื่อ The anthropology of food and body : Gender, Meaning and Power โดย คาโรล คูนิฮาน (มานุษยวิทยาแห่งอาหารและร่างกายสำรวจวิธีการทำ การกิน และการคิดเกี่ยวกับอาหารเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทางเพศและเพศที่ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมในสังคมที่หลากหลาย หนังสือเล่มนี้นำทฤษฎีสตรีนิยมและมานุษยวิทยามาใช้กับประเด็นที่นำไปสู่การตั้งคำถามที่ท้าทายเหล่านี้ และจะสนใจทุกคนที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอาหาร ร่างกาย และแนวคิดทางวัฒนธรรมเรื่องเพศ)
อาหารเป็นมากกว่าเครื่องยังชีพ อาหารเป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรม สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากมาย ทั้งรูปร่างและสะท้อนอัตลักษณ์ทางเพศ บรรทัดฐาน และวิถีความเป็นอยู่ในเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังสำรวจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและมักขัดแย้งกันของเพศและอาหารในปริมณฑลหรือขอบเขตเชิงร่างกาย สังคม-วัฒนธรรม และวัตถุ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาของนักคิดแนวสตรีนิยม สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และการเมือง หลักสูตรนี้พิจารณาว่าแนวคิดเรื่องความเป็นชายและความเป็นผู้หญิงมีความเกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การจำหน่ายและการบริโภคอาหารในอดีตและในสังคมร่วมสมัยอย่างไร การตรวจสอบเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปของอาหารอันเนื่องมาจากกระบวนการของอุตสาหกรรม โลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนจากอาณานิคมไปสู่ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมใหม่ และยังครอบคลุมรวมไปถึงกรอบวัฒนธรรมของ "ความอ้วน" และบทบาทของสื่อในการกำหนดรสนิยมทางเพศและนิสัยการกิน การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และแนวปฏิบัติในการเลี้ยงลูกและเลี้ยงดูครอบครัว ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอาหารทั่วโลกและภายในประเทศ ความสัมพันธ์ในการทำงานของแม่ครัว พ่อครัวในบ้านและในร้านอาหารที่ได้รับค่าจ้าง อาหารที่ถูกยกระดับจากท้องถิ่นไปสู่คุณค่าระดับโลกและการแบ่งแยกเพศของแรงงานที่เชื่อมโยงบรรจบกับลำดับชั้นทางเชื้อชาติ ระดับชาติ และระดับชนชั้น และความพยายามที่จะบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าผ่านการมีส่วนร่วมกับระบบอาหาร ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการมองอาหารให้มากกว่าอาหารและครอบคลุมทุกมิติทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา ชาติพันธุ์ เพศและสุขภาพ...
หากมองอาหารกับเพศวิถี หรือเพศสัมพันธ์ ผมนึกถึงคำที่นักโภชนาการหรือพวกวิทยศาสตร์อาหารพูดถึงคำว่า Anhordisiacs หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นความต้องการทางเพศหรือเซ็กส์ แต่ถ้าแปลให้เป็นคำที่ดูดีตามแบบฉบับผมก็น่าจะแปลได้อีดคำว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารกระตุ้นทางเพศ ความเชื่อพวกนี้ไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เกิดมานานแล้ว และผูกโยงกับภาพลักษณ์ของอาหาร กับความคิดในเรื่องเพศ เช่น กล้วยหอม หอยนางรม หัวหอม แอสปารากัส (หน่อไม้ฝรั่ง) แตงกวา มะเขือยาว จะช่วยเสริ่มสร้างพลังหรือความต้องการทางเพศ ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์และโภชนาการสมัยใหม่ก็จะสนใจในเรื่องของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุของอาหารที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นหรือสร้างความต้องการในทางเพศหรือกระตุ้นกามรมณ์ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียมและธาตุสังกะสี รวมถึงพืชสมุนไพรหลายๆตัว เช่น ผักชี กระเทียม สะระแหน่ รวมถึงโสม (Ginnseng) จิงโกะ (Gingko) และซาร์ซาปารีลล่า (Sarsaparilla) ที่ช่วยกระตุ้นและบำรุงกำลังทางเพศ
หากพิจารณาในเชิงภาษาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชื่ออาหาร ยิ่งเห็นความน่าสนใจในการเชื่อมโยงกับเรื่องเพศ ในสังคมไทยมีการเปรียบเทียบอาหารกับผู้หญิงเยอะพอสมควร อย่างเช่นในวรรณกรรมขุนช้างคุณแผน เคยกล่าวถึงนางพิมไว้ว่า “ให้ทูนหัวผัวพิมมาสมสู่ อย่าหักก้านพลูพิมนี้แห้งเหี่ยว...” ที่แทนอวัยวะเพศของนางพิมกับใบพลู หรือในต่างประเทศอย่างเช่นอเมริกาคำว่าTomato หรือมะเขือเทศใช้แทนหญิงสาว หรือผู้หญิงที่สวยมากว่าเหมือน Cheese Cake ที่อยากจะจีบอย่างมาก หรือคำว่าBeefcakeที่ใช้อธิบายชายหล้ามใหญ่ ที่เปลือยท่อนบนอวดสรีระ และมักใข้กับผู้ชายที่รูปร่างดี มีแรงดึงดูดทางเพศสูง หรือคนที่ใส่ใจออกกำลังร่างกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและสุขภาพดี อย่างยกน้ำหนัก เพาะกาย เล่นฟิตเนส เป็นต้น บางครั้งใช้เป็นคำแสลงว่า สวยหล่อจนน่าเคี้ยว แต่ส่วนมากใช้กับผู้หญิง น่าสนใจว่าอาหารหรือของน่ากินมักจะเปรียบเทียบกับเนื้อหนัง สรีระของผู้หญิง รวมถึงลักษณะของอาหารร้อนเย็น เช่นเวลาดราพูดถึงคำว่าHot มันคือร้อน ความร้อนแรงหรืออาหารรุ่มร้อนทางเพศ ดังเช่นคำที่มักพูดกันว่า “เธอดูร้อนแรงมาก”
นอกจากนี้คำบางคำใช้เปรียบเทียบกับความบริสุทธิ์ของผู้หญิง หากใครยังVirgin บริสุทธิ์ หรือยังพรหมจารีอยู่ก็มักจะถูกเปรียบเปรยว่าเป็น เชอร์รี่ ที่นอกจากจะเป็นชื่อผลไม้ ยังหมายถึงเยื่อพรหมจรรย์ด้วย ในขณะเดียวกันผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์แล้วและมีความสัมพันธ์กับผู้ชายจำนวนมากก็จะเปรียบเทียบกับขนมทาร์ต (Tart ) ที่เป็นขนมทำด้วยแป้งมีไส้ไข่หรือเนยแล้วอบจนไหม้และแยมหรือไข่เยิ้มออกมา ในบางสังคมเช่นคนอเมริกันแอฟริกัน ก็จะเปรียบเทียบผู้หญิงกับอาหารบางอย่าง เช่น สวยเหมือนบาร์บีคิว หรือคนผิวผสมแต่ไม่ดำสนิทก็จะเรียกว่า Banana หรือกล้วยสีเหลืองทอง รวมถึงในเรือนจำหรือคุกจะเรียกนักโทษที่เข้าคุกใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นชินกับระบบการลงโทษในคุกว่า Fresh Fish หรือปลาสด รวมถึงการขาดประสบการณ์เรื่องเพซ การไม่เคยทดลองการมีเซ็กส์ในคุกมาก่อน
นี่ยังไม่นับคำเรียกอวัยวะของการสืบพันธุ์ที่หลากหลายในหลายวัฒนธรรม ทั้งไส้กรอก มะเขือ กุนเชียง ปลาชะโด หอยกาบ หอยเป๋าฮื้อ หรือการเรียกอัณฑะ ทั้งลูกนัท (อังกฤษ) พวงไข่ (ไทย) อโวคาโด (เม็กซิกัน) คำบางคำสามารถศึกษาในเชิงนิรุกติศาสตร์ เช่น คำว่า ไข่ หรือEgg ในภาษาอังกฤษ มันมีรากความหมายมาจากสิ่งที่อธิบายต้นกำเนิดแรกของชีวิต บางครั้งใช้คำนี้เรียกโลกและจักรวาล โลกยุคหลังโคลัมบัสก็บอกว่าโลกหน้าตารูปร่างเป็นทรงเหมือนไข่ หรือมนุษย์เกิดมาจากไข่และสเปิร์ม บางสังคมเปรียบเทียบว่า คนดีคือ Good Egg คนเลวคือ Bad Egg หรือคำว่าFig ที่เป็นพืชตระกูลมะเดื่อ คำว่า Figue, Figo, Fico ถูกแปลว่า ช่องสังวาสทางปาก ในกรีกในโรมันก็ใช้ความหมายนี้ ต่อมาตอนหลังกลายเป็นศัพท์ดูถูกเหยียดหยาม หากพูดคำนี้แล้วเอานิ้วโป้งใส่ใต้นิ้วสองนิ้ว จะหมายถึงการขอร่วมเพศด้วย ต่อมาคำว่าFig หรือ Frig ก็ถูกใช้เป็นศัพท์แสลงมา แปลว่าการสมสู่ การช่วยตัวเอง และบางครั้งอาจเชื่อมโยงกับคำว่าFuckในปัจจุบันตามที่นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์บางคนกล่าวอ้าง...
นี่ผมพูดแค่ในส่วนของวัฒนธรรมในแง่ภาษา รูปสัญญะ และความหมายสัญญะที่เกาะเกี่ยว ยังไม่ได้ลงประเด็นอื่นๆที่มีมากมายเกี่ยวกับอาหารและเพศ ก็มีความน่าสนใจและกระตุ้นให้ค้นคว้า อ่าน หาข้อมูลต่อไปเรื่อยๆจนตกผลึกทางความคิดและงานแบบนี้ไม่มค่อยมีในประเทศไทย แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อน เพราะต้องเตรียมไปทำงานสนาม..แต่เติมสมองยามเช้า..
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น