ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

มานุษยวิทยากฏหมาย : กฏหมายของชนพื้นเมือง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือคลาสสิคชื่อ The Cheyenne Way: Conflict and Case Law in Primitive Jurisprudence ผู้เขียนคือ Karl N. Llewellyn และ E. Adamson Hoebel ปีที่ตีพิมพ์ครั้งแรกคือ 1941 ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ ที่ผมว่าน่าสนใจคือ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นผลงานบุกเบิกในสาขา มานุษยวิทยากฎหมาย (Legal Anthropology) ศึกษาระบบกฎหมายดั้งเดิมของชนเผ่าไชแอนน์ (Cheyenne) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน โดยใช้วิธีวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case Law)โดย ผู้เขียนรวมแนวคิดทางกฎหมายสมัยใหม่เข้ากับการศึกษาเชิงมานุษยวิทยา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่ากฎหมายดั้งเดิมไม่ใช่ระบบที่ล้าหลัง แต่เป็นระบบที่ซับซ้อนและสอดคล้องกับโครงสร้างทางสังคม รายละเอียดและแนวคิดสำคัญในหนังสือ 1. มุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับกฎหมายในโลกตะวันตก กฎหมายมักถูกมองว่าเป็นชุดของกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยรัฐ แต่สำหรับชนเผ่าไชแอนน์ กฎหมายคือ ระบบทางสังคม ที่พัฒนาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งและรักษาความสงบ ชาวไชแอนน์ไม่ได้มี “ผู้พิพากษา” หรือ “ระบบศาล” ในแบบรัฐสมัยใหม่ แต่ใช้วิธีการที่ยึดตามข้อตกลงของชุมชน 2. แนวคิดเรื่องกรณีกฏหมาย( Case Law ) ของชนเผ่า ผู้เขียนศึกษาและรวบรว
โพสต์ล่าสุด

การออกแบบเพื่อความเท่าเทียมและยุติธรรม (Design Justice) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือ Design Justice: Community-Led Practices to Build the Worlds We Need เขียนโดย Sasha Costanza-Chock หนังสือเล่มนี้สำรวจแนวคิดและกระบวนการออกแบบที่มุ่งเน้นความยุติธรรมทางสังคม โดยตั้งคำถามกับแนวปฏิบัติการออกแบบที่มักให้ความสำคัญกับผู้ที่มีอำนาจและละเลยเสียงของชุมชนที่ถูกกดขี่ ประเด็นสำคัญในหนังสือเล่มนี้ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ คือ 1. กรอบความคิด Design Justice ได้ชี้ให้เห็นว่า การออกแบบไม่ได้เป็นกลาง แต่สะท้อนถึงโครงสร้างอำนาจและอคติทางสังคม ซึ่ง Costanza-Chock ได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับกรอบการออกแบบที่มีเป้าหมายเพื่อความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเคารพในความหลากหลาย 2. วิจารณ์การออกแบบกระแสหลัก Costanza-Chock ได้วิเคราะห์วิธีที่การออกแบบมักสร้างความเหลื่อมล้ำ เช่น เทคโนโลยีที่ใช้งานยากสำหรับผู้พิการ หรือระบบตรวจจับใบหน้าที่มีอคติทางเชื้อชาติ 3. แนวทางปฏิบัติที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน Costanza-Chock เสนอวิธีสร้างสรรค์โครงการที่ชุมชนมีบทบาทนำเป็นหลัก เช่น การออกแบบที่เกิดจากความร่วมมือ การฟังเสียงของผู้มีส่วนได้เสีย และการสร้างความยั่งยืน 4. ตัวอย่างโครงการและกรณีศึกษา

มานุษยวิทยากับการออกแบบ (Design Anthropology) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือ Design Anthropology: Theory and Practice (2013) บรรณาธิการคือ Wendy Gunn, Ton Otto, และ Rachel Charlotte Smith หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำรวจบทบาทของมานุษยวิทยาในกระบวนการออกแบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติในงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้ช่วยให้นักออกแบบเข้าใจว่าการออกแบบไม่ได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของมนุษย์ในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม เหมาะสำหรับนักออกแบบ นักมานุษยวิทยา และผู้ที่ทำงานในสายงานที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือพื้นที่ที่ตอบโจทย์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน หนังสือเล่มนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และสามารถต่อยอดไปสู่การศึกษาแนวคิดใหม่ ๆ เช่น “Critical Design” หรือ “Social Design”. แนวคิดสำคัญที่น่าสนใจในหนังสือคือ 1. การผสมผสานระหว่างมานุษยวิทยาและการออกแบบ มานุษยวิทยาถูกใช้เพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานในบริบทวัฒนธรรมที่หลากหลาย และช่วยพัฒนากระบวนการออกแบบที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง มุมมอ

เราไม่เคยเป็นสมัยใหม่อย่างแท้จริง ในความคิดของ Bruno Latour โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือของ Bruno Latour เรื่อง “We Have Never Been Modern” (1993) ซึ่งเป็นหนังสือที่สำคัญในสายวิชาการด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ โดย Latour วิจารณ์แนวคิดเรื่อง “ความเป็นสมัยใหม่” (modernity) และเสนอว่าเส้นแบ่งระหว่าง “โบราณ” กับ “สมัยใหม่” หรือระหว่างธรรมชาติกับสังคมนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และไม่ได้มีอยู่จริงในทางปฏิบัติ แนวคิดสำคัญของเขาในหนังสือ มองว่า 1. เราไม่เคยเป็น “สมัยใหม่” อย่างแท้จริง ความเป็นสมัยใหม่มักอ้างว่ามนุษย์แยก “วัตถุธรรมชาติ” (เช่น ภูเขา ดวงดาว) ออกจาก “วัตถุสังคม” (เช่น การเมือง วัฒนธรรม) อย่างเด็ดขาด แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองสิ่งนี้มักผสมผสานกันและพึ่งพากันเสมอ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นผลลัพธ์จากทั้งกระบวนการธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดย Latour ตั้งคำถามต่อแนวคิดที่ว่าสมัยใหม่คือการแยกธรรมชาติ (nature) ออกจากสังคม (society) และเชื่อว่าในความเป็นจริง ทั้งสองสิ่งนี้มักจะทับซ้อนและปะปนกัน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิกฤตสิ่งแวดล้อม 2. ภาวะไฮบริด หรือลูกผสม (Hybrids) ซึ่ง Latour เสนอแนวคิดว่าโลกของเราถูกสร้างขึ้นจากส

ห้องครัว อาหารและผู้คน : มุมมองทางมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือที่ศึกษาพัฒนาการของห้องครัวและการทำครัวที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทางแนวมานุษยวิทยา มีหลายเล่ม ที่น่าสนใจได้แก่ The Anthropology of Food and Body: Gender, Meaning, and Power โดย Carole Counihan ซึ่งหนังสือเล่มนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและอัตลักษณ์ทางเพศ การใช้ร่างกาย และพลังอำนาจ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงบทบาทของห้องครัวในฐานะพื้นที่ทางสังคมที่มีความหมาย หนังสือชื่อ Cooking, Cuisine, and Class: A Study in Comparative Sociology” โดย Jack Goody ซึ่ง Jack Goody เป็นนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่ศึกษาพัฒนาการของการทำอาหารในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของการทำครัวในอารยธรรมต่าง ๆ อีกเล่มหนึ่งคือ The Invention of the Modern Kitchen: A Cultural History” โดย Debra Schifeling โดยศึกษาว่าห้องครัวยุคใหม่พัฒนามาอย่างไร รวมถึงบทบาทและความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของพื้นที่ห้องครัวในวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งเชื่อมโยงกับแนวคิดทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับพื้นที่และอัตลักษณ์ทางสังคมที่เกี่ยวกับอาหาร อีกเล่มคลาสสิค พิมพ์มาหลายครั้งคือหนังสือชื่อ Food and Culture: A Reader โดย Carol

ความเชื่อเรื่องแม่โพสพและแม่ธรณี โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

คำว่า แม่ธรณี นางแผ่นดิน หรือคำว่า Mother Land และ Earth Mother รวมถึงชื่อต่างๆที่แต่ละภูมิภาคเรียก ส่วนคำว่า แม่โพสพ หรือยายข้าว ภาษากะเหรี่ยงพูดว่า พิบื่อโหย่ว การสืบเชื้อสายฝ่ายแม่ (Matrilinear) ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในสังคมของขาวกะเหรี่ยงด้ายเหลือง โดยการเริ่มต้นพิธีกรรมต่างๆ ต้องบอกกล่าวพระแม่ธรณี ก่อนเริ่มทำพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแผ้วถางไร่ การปลูกพืช การไหว้เจดีย์ และอื่นๆ ตัวแทนของผู้หญิงในพิธีกรรมไหว้เจดีย์ หรือเครื่องนุ่งห่มสีแดงที่ผู้หญิงทั่วไปสวมใส่ถือเป็นสัญลักษณ์ของแม่ย่าและแม่ธรณี บทบาทของแม่ย่าที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ถ้าหากไม่มีแม่ย่าไม่สามารถทำพิธีกรรมได้ เพราะหากขาดเจ้าวัด แม่ย่าก็สามารถทำพิธีกรรมไหว้เจดีย์ได้ แต่หากขาดแม่ย่า เจ้าวัด (โบ้ว์คู้) ต้องหาแม่ย่า (โบ้ว์มื่อ)มาทำพิธีกรรมจึงจะทำได้ ในบางชุมชนกะเหรี่ยง มีการให้ผํ้หญิงสูงวัยที่ไม่มีสามี( โสด หย่าร้าง สิ้นชีวิต) มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพิบื้อโหย่ว หรือยายข้าว ในชุมชนกะเหรี่ยงโผล่วด้ายเหลือ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะการแต่งงานมาอยู่กับฝ่ายหญิงการ ตั้งถิ่นฐานตามการสืบเชื้อสายฝ่ายมารดา หรือการอิงก

แนวคิด posthuman มองผ่านเรื่องกะเหรี่ยง โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ระหว่างพานักศึกษาสนทนากับเจ้าวัด ผมนึกถึงหลายประเด็นในหัว เช่น แนวคิด “Posthuman” หรือ “ภาวะหลังมนุษย์” เป็นแนวคิดที่พัฒนาโดยนักวิชาการหลายคน โดยมี Donna Haraway และ N. Katherine Hayles เป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลในด้านนี้ แนวคิดนี้มีเป้าหมายหลักคือการทบทวนความหมายของการเป็น “มนุษย์” ในยุคที่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Donna Haraway นำเสนอแนวคิดในงาน A Cyborg Manifesto โดยเสนอให้มองมนุษย์เป็น “ไซบอร์ก” หรือเป็นการผสมผสานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เธอใช้ภาพลักษณ์นี้เพื่อท้าทายความคิดดั้งเดิมที่แยกความเป็นมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ออกจากกัน อีกทั้งยังใช้แนวคิดไซบอร์กเพื่อเสริมสร้างการตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และเพื่อเสนอการทำลายเส้นแบ่งระหว่างเพศ ชนชั้น และสปีชีส์ N. Katherine Hayles ในงาน How We Became Posthuman อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลได้ส่งผลให้ขอบเขตของการเป็นมนุษย์ไม่ชัดเจนเหมือนเดิม Hayles พูดถึง “information pattern” หรือรูปแบบของข้อมูลว่าได้เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ “embodiment”