ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2015

มุมมองของJean Baudrillard กับการวิเคราะห์การบริโภคแบบโพสต์โมเดิร์น นัฐวุฒิ สิงห์กุล

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการบริโภคในสังคมสมัยใหม่ ที่เคลื่อนตัวจากการบริโภคสิ่งต่างๆเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น กินอาหารเพื่ออิ่มท้อง สวนเสื้อผ้าเพื่อให้ความอบอุ่น เป็นต้น แต่ในสังคมปัจจุบันการบริโภคมีความหมายมากกว่าการบริโภคเพื่อคุณค่าเชิงใช้สอย (Use Value) แต่เป็นการบริโภคเพื่อสร้างและสื่อความหมายบางสิ่งบางอย่าง เช่น สถานะของเรา ตัวตนของเรา รสนิยม ความชอบของเรา ภาพพจน์ของเราที่เรียกว่าการบริโภคเชิงสัญญะ(Sign value) นักคิดชาวฝรั่งเศสอย่างJeans Baudrillard ตั้งคำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์และหาคำตอบแบบเดิมที่อยู่ภายใต้อิทธพลของความรู้ ความคิด ภาษาแบบมาร์กซิสต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตของสังคม การมองปัญหาเรื่องของการผลิตในสังคม ที่เริ่มวิตกและหวาดกลัวเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่จะไม่เพียงพอกับกาารบริโภคในช่วงศตวรรษที่18-19 จนกระทั่งศตวรรษที่20-21 ที่ความกลัวของมาร์กซ์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงอีกต่อไป เพราะพลังของระบบทุนนิยมและการผลิตก้าวหน้าอย่างสูงสุด จนนำไปสู่การผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ เกินความต้องการบริโภค ปัญหาจึงเคลื่อนจากการผลิตมาสู่การบริโภค ที่มองว่าแล้วจะบริโภคสินค้าที่ผลิตขึ้นมาอย่าง...

มานุษยวิทยากับการศึกษาสัญญะ และสัญลักษณ์

มานุษยวิทยากับการศึกษาสัญญะ และสัญลักษณ์ Sign [1] and Symbol in Anthropology study              นัฐวุฒิ สิงห์กุล          มานุษยวิทยา (Anthropology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในทุกๆด้านที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา พิธีกรรม ที่สะท้อนผ่านโลกทัศน์ ความเชื่อ  ความคิด วัตถุสิ่งของ ภาษา พฤติกรรม บุคลิกภาพและการแสดงออกของมนุษย์ ความพยายามอย่างสำคัญของนักมานุษยวิทยา ในช่วงปี 1960-1970 ในการศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์วัฒนธรรม เช่นเดียวกับระบบของสัญลักษณ์ และระบบการสื่อความหมายในสังคม ได้นำนักมานุษยวิทยา ก้าวเข้าไปสู่สนามใหม่ทางมานุษยวิทยา ที่เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างท้าทายของมานุษยวิทยาสายโครงสร้าง (Structural Anthropology) และมานุษยวิทยาทางปรัชญา (Philosophy Anthropology) อันได้รับอิทธิพลมาจากนักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง ชาวสวิสเซอร์แลนด์ อย่างเฟอร์ดิน็องต์ เดอ โซซูร์ (Ferdinane de Saussure) และนักปรัชญาชาวอเม...

แนวคิดเรื่องเพศวิถี (Sexuality)ในกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)และการข้ามพรมแดน (Transnational) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดเรื่องเพศวิถี ( Sexuality )ในกระแสโลกาภิวัตน์ ( Globalization )และการข้ามพรมแดน ( Transnational ) เพศวิถีมีความสัมพันธ์กับเพศสรีระ ( Sex ) และเพศสภาวะ ( Gender )ในแง่ของการอธิบายความสัมพันธ์ระว่างลักษณะทางกายภาพชีวภาพ หรือลักษณะทางร่างกายที่เป็นธรรมชาติซึ่งปรากฏให้เห็นภายนอก สุชาดา ( 2550 )อธิบายว่าความหมายของเพศวิถีที่ใช้กันในทางมานุษยวิทยามีนิยามกว้างขวางกว่าประเด็นเรื่องพฤติกรรมทางเพศและแรงขับทางเพศของคนในสังคม เพศวิถีเป็นเรื่องของวัฒนธรรมมากกว่าประเด็นเรื่องชีววิทยามีคุณสมบัติเหมือนเพศสภาวะกล่าวคือมีความหลากหลายและลื่นไหล เป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง สอดคล้องกับพิมพวัลย์ ( 2551 ) ที่ให้ความหมายของเพศวิถีในการศึกษาทางมานุษยวิทยาหมายถึงการที่บุคคลให้ความหมายเรื่องเพศของตนเอง ระบบความเชื่อ ค่านิยมของบุคคลเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความรู้สึกและความปรารถนาหรือแรงขับทางเพศ ความสุขหรือความพึงพอใจทางเพศ รสนิยมทางเพศ การแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศ คู่ความสัมพันธ์ทางเพศและการให้ความหมายกับคู่ความสัมพันธ์ทางเพศต่างๆ พฤติกรรมทางเพศแบบแผนพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่หลากหลา...

อำนาจที่สัมพันธ์กับร่างกาย: การกลับมามองปัจเจกบุคคล ผ่านศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตตา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

อำนาจที่สัมพันธ์กับร่างกาย : การกลับมามองปัจเจกบุคคล ผ่านศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตตา ฟูโกเชื่อมโยงเรื่องของอำนาจเข้ากับร่างกาย โดยเฉพาะอำนาจที่กระทำกับร่างกายในระดับจุลภาค ( Micro-physic of power หรือ Bio-power ) นอกเหนือจากการมองอำนาจในระดับมหภาคที่เป็นเรื่องของบทบาทของอำนาจในการครอบงำในโดยปัจเจกบุคคลและสถาบันทางสังคม แต่อำนาจนั้นปฏิบัติการอยู่ทุกหนแห่งในสังคมรวมถึงร่างกายของมนุษย์ด้วย ความคิดดังกล่าวปรากฏในงานของมิเชลฟูโก ในเรื่อง Discipline and punishment ในเรื่องของร่างกายที่ว่านอนสอนง่าย  ( Docile Body ) ที่พยายามโต้แย้งความคิดว่าคนเราสามารถควบคุมร่างกายตัวเองได้ แต่จริงๆแล้วร่างกายของคนเราอาจจะถูกควบคุมโดยไม่รู้ตัวด้วยภายใต้การยอมรับความรู้ ความจริงของวาทกรรมชุดใดชุดหนึ่ง จนตกยู่ภายใต้อำนาจของวาทกรรมชุดนั้น ดังเช่น วาทกรรมว่าด้วยร่างกายเป็นสินค้าในระบบทุนนิยม ทำให้มนุษย์เชื่อว่า ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของทุนหรือระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดได้ ดังนั้นร่างกายดังกล่าวต้องยอมสยบยอมต่ออำนาจทุนและอำนาจเงิน กลายเป็นร่างกายที่ว่านอนสอนง่ายและร่างกายที่ตกอยู่ภ...

โพสต์โมเดิร์น(Postmodern approach) กับการศึกษาประเด็นว่าด้วยผู้หญิงและการขายบริการทางเพศ (Sex workers) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

โพสต์โมเดิร์น( Postmodern approach ) กับการศึกษาประเด็นว่าด้วยผู้หญิงและการขายบริการทางเพศ ( Sex workers ) วิธีคิดแบบโพสต์โมเดิร์นในการมองอัตลักษณ์ ตัวตนของผู้หญิงลาวอพยพที่เข้ามาขายบริการ ต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นถูกประกอบสร้างขึ้นอย่างหลากหลาย ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ของชีวิต การนำเสนอตัวตนหรือการเปิดเผยความจริงบางส่วนรวมทั้งความจริงที่ไม่ปรากฏหรือไม่เปิดเผย ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของความรู้ อำนาจและวาทกรรมชุดต่างๆที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม วาทกรรมเหล่านี้จะถูกประกอบสร้าง ถูกให้ความหมายและถูกตีความอย่างแตกต่างหลากหลายในบริบททางประวัติศาสตร์ การเมืองและสังคมและสะท้อนผ่านทางภาษา ดังนั้นแนวความคิดแบบโพสต์โมเดิร์นจึงต้องถอดรื้อ ( Deconstruction ) วิพากษ์ ( Critical ) ตัวบท ( Text )ภาษา( Language/Dialogue )และวาทกรรม ( Discourse )ที่ผลิตความรู้และอำนาจ ซึ่งกดทับ ปิดปังซ่อนเร้นตัวตนของผู้หญิงเหล่านี้ กระแสแนวคิดสตรีนิยมแบบโมเดิร์น ให้คำอธิบายว่าทำไมผู้หญิงต้องถูกกดทับ ขูดรีด มองความสัมพันธ์ของเพศสภาพที่ค่อนข้างมั่นคงซึ่งมองแบบวัตถุวิสัย ( Objectivity ) สตรีนิยมแบบโพสต์โมเดิร์น มองคว...