ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011
ดอนผีบิน เฮฟวี่เมทัลเมืองไทย   ....ก่อนแสงทองจะลับหาย... .... กับคืนวันที่เคยทักทาย..... ... ปรารถนาให้พลังใจกายกลับคืนสู่ทุกชีวี... ...ปรารถนาคืนค่ำนี้ ทุกชีวีปราศจากโรคภัย... ...ตลอดถึงค่ำคืนต่อไป...และต่อไป... พบกันอีกครั้ง หลังสนธยานี้...หลังจากฉากนี้ถูกปิดตอนลง แล้วเราจะกลับมา ดอนผีบิน ออกอัลบั้มใต้ตะวันเดียวกัน โดยสมาชิกกลุ่มประกอบด้วย สมบัติ แก้วทิตย์ เล่นกีตาร์   สมคิด แก้วทิตย์ เล่นกีตาร์ เบสและร้องนำ และสุดท้าย สมศักดิ์ แก้วทิตย์ เล่นกลอง ทั้งสามคนเป็นพี่น้อง ที่มีฝีมือทางด้านดนตรีจัดจ้าน หนักแน่น สไตล์เฮฟวี่ เมทัลและเดธ เมทัล แม้ว่าบางเพลงจะฟังไม่ทัน ฟังไม่รู้เรื่อง การใช้น้ำเสียงแบบตะโกนและสำรอกออกมา เป็นเพลงสไตล์ของดอนผีบิน   แต่ชุดที่ฟังได้ง่ายและซอล์ฟลงมาหน่อย (นิดนึง) ได้ถูกรวมไว้ในอัลบั้มใต้ตะวันเดียวกัน เพลงในชุดนี้เพราะหลายเพลง ทั้งในด้านเนื้อหาและดนตรี โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อมและมนุษย์   เช่น เพลงลีลาลวง “ดินแดนใด สดใสสวยงาม ดินแดนใด สดใสเริงร่า ผ่านมาหาไม่มี ผ่านมาหาไม่เจอ...” หรือเพลง ไกลบ...

มานุษยวิทยากับภาพถ่าย ตอนที่3

ข้อถกเถียงในเรื่องของภาพถ่าย ความจริงหรือภาพสะท้อนความจริง ความหมายในแง่ของปรัชญาและความรู้ ( Postmodernism ) ในยุคศตวรรษที่18-19 กระแสวิธีการตั้งคำถามและวิพากษ์กระบวนการทางความรู้ในยุคของความทันสมัยที่ครอบงำความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงความเป็นกลาง สากล ครอบคลุม รอบด้าน ต่อเนื่อง เป็นเหตุผล ถึงแก่นแท้  อิทธิพลของ “ เรื่องเล่าแม่บท ” รวมทั้งเชื่อมมั่นและเชิดชูวิธีการหาความรู้ ความจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่บดบังความเชื่ออื่นๆ ความรู้ชุดอื่นๆ ทั้งไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถาหรือแม้แต่ความเชื่อทางศาสนา โดยเชื่อว่าความรู้แบบวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆจะทำให้มนุษย์และสังคมมีความก้าวหน้าและความเป็นเลิศ เป็นมนุษย์แห่งความทันสมัย จนกระทั่งมนุษย์ได้ก้าวมาสู่ช่วงยุคศตวรรษที่20ถึง 21 ความเชื่อมั่นถึงความทันสมัยและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะนำพามนุษย์ไปสู่ความก้าวหน้าและความสงบสุขได้ถูกลดทอนลงไปด้วยปัญหาต่างๆทั้งการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม การทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความอดยากหิวโหย วิกฤตการด้านสิ่งแวดล้อม และก...

มานุษยวิทยากับภาพถ่าย ตอนที่2

ความแตกต่างระหว่าง Camera Lucida และ Camera obscura             Camera Lucida จะประกอบด้วยองค์ประธานหรือตัวแบบ ที่ถูกมองผ่านเลนส์ และปรากฏอยู่บนพื้นผิวที่จิตรกรกำลังวาดภาพ   ซึ่งจิตรกร จะมองเห็นฉากและร่างภาพบนพื้นผิวได้อย่างทันที โดยไม่ต้องมองที่ตัวแบบจริงแต่อย่างใด ลักษณะของภาพในลักษณะ Camera Lucida Camera   Obscura มาจากลักษณะของห้องมืด ซึ่งแสงสว่างส่องเข้ามาจากภายนอก โดยมีการนำเลนส์ไปใส่ไว้ตรงช่องรูเลกๆนั้นๆ ผลก็คือ ภาพจากโลกภายนอกจะปรากฏ ขึ้นในห้องมืดในลักษณะกลับหัว บนผนังด้านด้านหนึ่งของห้องมืด หรืออาจกล่าวได้ว่า Camera Obscura มีสถานะเป็นพื้นที่ในเชิงลบของการบังคับการรับรู้ของเรา ลักษณะของ Camera obscura             เกิดการแบ่งแยกระหว่างผู้มองกับโลกภายนอก รูปภาพสำหรับผู้สังเกต มีอิสระในตัวเอง มีปัจเจกบุคค...