ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นกับเพลงในความทรงจำ 1


หันกลับมาพูดเรื่องจุดเริ่มต้นของวงตาวันต่อ หลังจากที่วงแมคอินทอช ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงในยุคนั้น ด้วยอัลบั้มที่ออกอย่างต่อเนื่อง และมีคอนเสิร์ตยาวเหยียด ภายใต้บริษัทนิธิทัศน์ แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ความเริ่มต้องการแสวงหาเสรีภาพทางด้านดนตรีให้กับตัวเอง และสมาชิกหลายคนเริ่มแยกย้ายไปตามความฝันและหน้าที่การงานของตัวเอง
ปรากฏการณ์ที่เป็นจุดหักเหสำคัญในยุคนั้น คือกระแสของเพลงจากตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทย ทั้งเพลงสากล และเพลงไทยหลายเพลงที่เอาทำนองสากลจากต่างประเทศมาแต่งใส่เนื้อไทย รวมทั้งเพลงที่เกิดจากมันสมองของศิลปินในยุคนั้นถูกซื้อขาดจากนายทุนในราคาที่ค่อนข้างต่ำ แม้ว่ายอดขายเทปจะมีมากแต่ผลตอบแทนที่ได้กลับต่ำกว่ากำลังกาย ฝีมือและกำลังสมองที่ลงทุนไปกับการทำเพลงและอัลบั้ม ในขณะที่เจ้าของค่ายเพลง บริษัทเทปกลับร่ำรวย แม้ว่าจะมีการรวมกันต่อต้านเรียกร้องสิทธิ ในการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานของตัวเอง และความชอบธรรมในส่วนแบ่งจากยอดขาย ก็จะถูกมองว่าเป็น ขบถในวงการเพลง ในจำนวนนี้ก็มีศิลปินในวงแมคอินทอช จำนวน 3 คนที่ออกมาแสวงหาแนวทางในเส้นทางดนตรีของพวกเขา แม้ว่าในช่วงเวลาแรกพวกเขาจะเป็นนักดนตรีไร้สังกัด ไร้ค่าย และเล่นดนตรีตามห้องอาหารเพื่อไล่ตามความฝันและความชอบในด้านดนตรีของพวกเขา สมาชิก 3  คน ประกอบด้วย วงศกร รัศมิทัต (ต้น) สุเมศ นาคสวัสดิ์ (นิด)  กิตติพันธ์ ปุณกะบุตร (หมู) มุรธา รัตนสัมพันธ์ (ปริ๊นส์) และอีกสองคน คือพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ปุ้ม) และชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์ (ขุน)
สมาชิกทั้ง 5 คน ของวงตาวัน เล่นดนตรีกลางคืนกันที่โรงแรมเอเชีย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น สมาชิกในวงเริ่มไม่มั่นใจกับอนาคตของตัวเอง ที่กำลังจะตกงาน พร้อมๆกับความตั้งใจของพวกเขาที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นทางชีวิต จากการเป็นนักดนตรีกลางคืนในสังคมที่วุ่นวาย มาสู่การเป็นทีมผลิตดนตรีมืออาชีพและรับจ้างในห้องบันทึกเสียง ณ โรงแรมเอเชีย เพลงหลายเพลงของพวกเขาเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเล่นดนตรีและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น บนโต๊ะอาหารและบนเวที เช่น เพลง หุ่นกระบอก ที่เพลงร้องว่า
“ดึงเชือกสิ แล้วฉันจะยิ้มให้คุณ ดึงเชือกสิ ฉันจะร้องเพลงให้ฟัง ดึงอีกครั้งฉันอาจร้องไห้ แต่ไม่เป็นไร หากถูกใจของคุณ ดึงเชือกสิ ฉันอาจยิ้มให้อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งหวัง ครั้งนี้ฉันอาจร้องไห้ เพราะเชือกอาจขาด ฉันอาจหลุดลอยไป ไปทั้งที่ใจ ไม่อยากจะจากคุณเลย คุณคงเห็นฉันไม่มีหัวใจ ทำฉันอย่างไรได้เหมือนหุ่น ให้สุขให้ทุกข์แล้วแต่ใจคุณ ฉันเป็นเพียงหุ่นให้คุณเชิดตามใจ”
ทั้งเงื่อนไขของการร้องเพลงที่ขึ้นอยู่กับค่ายเทป ต้นสังกัด นายจ้าง หรือแม้แต่ผู้ฟัง  ที่เขขียนขอเพลงตามสมัยนิยมที่ชอบ ทำให้พวกเขาอดคิดไม่ได้ว่า การพยายามหลุดออกจากกระแสหลักของวงการเพลง ไม่สังกัดค่าย ไม่จำกัดแนวเพลงที่อยู่ในกระแส แต่เป็นแนวเพลงที่พวกเขาอยากจะทำออกมา แม้จะไม่มีคนนิยม หรอไม่คุ้นเคย แต่พวกเขาก็รักที่จะสร้างสรรมันออกมาจากสมองของพวกเขา จะเป็นไปได้จริงหรือไม่
หรือเพลงสมาคมว่างงาน ที่ร้องว่า
“เรียนจบมานาน ยังตกงานอยู่ มีปริญญาโก้หรู ความรู้ไม่อายใคร เดินเที่ยวเดินหางานทำ ตั้งแต่เช้ายังเที่ยงบ่าย เรียนมาเกือบตายพอจบทำไมไร้งานทำ  โธ่เรียนจบมานานแล้ว ตกงานเหมือนกันวะ ได้เกียรตินิยมด้วยนะ แล้วเป็นไง เคยมีคนบอกกันว่าถ้าขยันจะสบาย ขยันแทบตายยังไร้งาน...”
โดยพวกเขาได้พัฒนางานเพลงที่ห้องอัดของต้น วงศกร รัศมิทัต โดยพวกเขาเขียนเพลง เพื่อสะท้อนเรื่องราวของสังคม และสภาวะปัญหาของพวกเขาเองที่เผชิญอยู่ รวมทั้งเขียนเพลงให้กำลังใจตัวเอง เช่น เพลงเสียงกระซิบจากสายฝน และเพลงสู่แสงตะวัน

อัลบั้มหุ่นกระบอก จึงก่อร่างตัวเองขึ้นมาจากห้องอัดบัตเตอร์ฟลายในปีพ.ศ.2528 และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเขาเรียนรู้ความสุขจากการทำงานเพลง จากเพื่อนร่วมชะตากรรมและเพื่อนที่มีความคิดเหมือนกัน ที่ต้องการเห็นวงการเพลงพัฒนาไปอย่างก้าวไกล แม้ว่าเส้นทางดังกล่าวจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เช่นเดียวกับอัลบั้มหุ่นกระบอกที่ไม่เป็นที่สนใจและรู้จักมากนักในหมู่นักฟังเพลง เดี๋ยวมาต่อกันกับการเดินทางของพวกเขาในอัลบั้มชุดที่ 2 ม็อบ ภายใต้ชื่อวงตาวัน ในปี พ.ศ.2535

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...