ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มานุษยวิทยากับความแปลก


มานุษยวิทยากับความแปลก
 
ความแปลกในด้านหนึ่งก็เป็นกำแพงกั้นระหว่างตัวเรากับสิ่งที่แปลก ไม่ว่าจะเป็นคน สถานที่ หรือสิ่งของ เป็นความรู้สึกที่แยกตัวเราเองกับสิ่งเหล่านี้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ความแปลกก็เป็นเสมือนแรงดึงดูดให้เราเข้าไปค้นหา ศึกษา ความหมายของสิ่งที่แปลก ซึ่งนักมานุษยวิทยาปัจจุบันก็ชื่นชอบความแปลกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ และประเด็นที่เราไม่รู้จัก ไม่คุ้นชิน ความแปลกที่แปลกทาง แปลกหน้าแปลกตา เหล่านี้ได้กลายมาเป็นประเด็นศึกษาที่สำคัญของนักมานุษยวิทยายุคปัจจุบัน
คำถามที่มักเกิดขี้นเสมอในการทำการศึกษาวิจัยของนักศึกษาทางมานุษวิทยาก็คือ เราจะทำประเด็นอะไรที่แปลก แหวกแนว ไม่ซ้ำกับของคนอื่นที่ได้ทำการศึกษามาแล้ว  หรือจะศึกษาประเด็นอะไรที่แตกต่าง ทั้งประเด็นที่ไม่มีคนเคยทำหรือเคยศึกษามาแล้ว ในขณะที่นักศึกษาบางคนก็หลีกเลี่ยงความแปลกแตกต่างเหล่านี้ แต่หันกลับมาศึกษาสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคย ศึกษาหมู่บ้านของตัวเอง ชุมชนที่ตัวเองเคยลงไปศึกษา ความเชื่อว่าการลงไปชุมชนชนบทสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายมากกว่าชุมชนเมือง หรือแม้กระทั่งการเลือกสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีความสนิทสนมกับตัวเองเป็นหลัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นการพยายามหนีไปจากความแปลกหรือความแตกต่าง จากความรู้สึก อารมณ์และจริตของตัวผู้ศึกษา
ความแปลกกลายเป็นความเสี่ยงของการศึกษาภาคสนามทางมานุษยวิทยาในปัจจุบัน แม้ว่าในอดีตความแปลกจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักมานุษยวิทยา ให้หลงใหลต่อความแปลกตา แปลกถิ่น แปลกวัฒนธรรม ในสิ่งที่พวกเขาค้นพบซึ่งผู้อื่นยังไม่รู้หรือไม่ค้นพบ และนำไปสู่การถอดรหัสความหมายทางวัฒนธรรมบางอย่าง อันสะท้อนให้เห็นความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เป็นคนพื้นเมืองพื้นถิ่นดั้งเดิม ไม่แตกต่างจากกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าอนารยะชนแต่อย่างใด เพียงแค่เป็นความรู้คนละชุด คนละระบบในวัฒนธรรมที่แตกต่าง
นักมานุษยวิทยาบางคน หรือนักวิชาการบางคนที่ประยุกต์ใช้วิธีการศึกษาภาคสนามทางมานุษยวิทยา ในการวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์ ก็ใช้ความแปลกของสนามที่ตัวเองศึกษา สร้างความน่าสนใจในประเด็นที่ตัวเองศึกษา ผ่านความแปลกที่คนทั่วไปเข้าใจ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน หรือเคยสัมผัส  ผู้อ่านผู้ฟังงานเขียนของนักวิชาการเหล่านี้ ซึ่งเป็นกระบวนการดึงผู้คนที่เป็นคนนอกเข้ามาเป็นเสมือนคนใน ที่เป็นส่วนหนึ่งของพยานการรับรู้ร่วมกันในความแปลกในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ดังที่ อ.เดชา ตั้งสีฟ้า อ้างถึงข้อความของ Nancy Scheper-Huges(1992)ในบทความ มองผ่านดวงตาของกระเหรี่ยง “คนอื่น” สู่วิธีวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นในพื้นที่ระหว่างไทย-พม่า ว่า
“...ในปฎิบัติการ เขียนวัฒนธรรม นั้น สิ่งที่ปรากฏก็คือบันทึกของชีวิตมนุษย์ที่อาศัยการเป็นพยานรับรู้และคำให้การ เป็นบันทึกที่เปี่ยมอัตวิสัย อคติ และเป็นส่วนเสี้ยวอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็เป็นส่วนตัวและหลากล้นความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง ปฏิบัติการการเป็นพยานรับรู้คือกิจกรรมที่ทำให้งานของเรามีลักษณะทางศีลธรรม สิ่งที่ถูกเรียกว่า การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ดึงนักวิจัยที่ทำงานภาคสนามให้เข้าไปอยู่ในพหุพื้นที่ของชีวิตมนุษย์ ซึ่งเขาและเธออาจจะไม่เลือกที่จะไปเลย  แต่เมื่ออยู่ที่นั่นก็ไม่รู้จะออกมาได้อย่างไรนอกจากการเขียน ซึ่งดึงคนอื่นเข้าไปที่นั่นเช่นกัน ทำให้คนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพยานรับรู้”
การรู้จักหยิบเลือกความแปลก มาสร้างผ่านงานเขียน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายนักมานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยาก็ชอบกระทำอยู่ไม่น้อย  เพราะเขาเชื่อว่างานของเขาจะเป็นงานระดับมาสเตอร์ ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร ดังนั้นการเอาความธรรมดาสามัญในชีวิตของผู้คนซึ่งเป็นคนใน มาทำให้กลายเป็นความแปลกผ่านสายตาคนนอกจึงกลายเป็นโลโก้สำคัญของการศึกษาทางมานุษยวิทยาไปแล้ว
แล้วคุณล่ะ อยากเหมือนหรืออยากแปลกจากคนอื่น?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...