ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นกับเพลงในความทรงจำ 2



อัลบั้มม็อบ อัลบั้มนี้ถือได้ว่าเป็นชุดที่ดีที่สุดชุดหนึ่งของวงตาวัน ด้วยการผลิตงานเพลง ทั้งเนื้อร้องและทำนอง ของพวกเขาเอง อัลบั้มชุดนี้ พงษ์พรหม สนิทวงษ์ ณ อยุธยา หรือปุ้ม เป็นโปรดิวเซอร์หลัก ชุดนี้มีเพลงน่าสนใจหลายเพลง เช่นเพลงดูดาว ไม่ห่างใจเธอ ใจหิน มอบไว้ให้โลกนี้ โองการแช่งน้ำ หรือร้องเพลงเถิด
ผมชอบอัลบั้มชุดนี้มาก เพราะเพลงหลายเพลงกระแทกกระทั้น กระตุ้นสังคม และมโนสำนึกของมนุษย์ได้ดี อย่างเพลงม็อบ ที่คำร้องทำนอง แต่งโดย พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีตัวอย่างบางท่อนที่สะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาของสังคมท่ามกลางการพัฒนา เช่น
“ที่นั่น ที่โน้น ที่โน่น ที่นี่ เหมือนกันทุกแห่ง จะให้ทำอะไรก็ทำ แต่อย่าให้ทำเป็นคนไม่ดี จะหนักจะเบา กระเป๋า กระบี่ ปริญญาตรีก็มีถม เขารบกันวุ่นวาย แขก หรั่ง ดีร้าย ตายกันจม ตัวอย่างมีไว้ในโลกกลม ก่อกรรมไว้ไม่นานก็เห็นทันตา โลกกำลังจะร้าว ฟ้ากำลังจะโบ๋ คนกำลังจะอดโซ โอโซนจะไม่เหลือ มีแต่โอเลี้ยงกะโอยั๊วะกินแก้ปวดหัวอารมณ์เบื่อ กะปิข้าวสาร ไม่มีเหลือ ก็เลยต้อง ม๊อบ ม๊อบ ม๊อบๆๆๆๆ”
หรือเพลงที่บ่งบอกถึงความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงการเพลงในบ้านเรา ของหนุ่มทั้ง5 คน ที่สะสมประสบการณ์ เรียนรู้ที่จะสร้างแนวเพลงสไตล์โปรเกรสซีฟร็อค (Progressive Rock ) ซึ่งในยุคเดียวกันและในเวลาต่อมามีนักดนตรีรุ่นใหม่หลายคน เริ่มที่จะพัฒนาแนวเพลงให้ก้าวหน้ามากขึ้น เช่น บัตเตอร์ฟลาย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของนักดนตรีเก่งๆหลายคน เช่น สุรสีห์ อิทธิกุล หรือวงอินฟินิตี้  วงดิโอฬาร โปรเจ็ค ที่มี โอฬาร พรหมใจ, ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ หรือ พิทักษ์ ศรีสังข์  รวมถึงดอน ผีบิน ,คาร์ไลโดสโค๊ป,ปราชญ์ อรุณรังสี และอื่นๆ เพลงในอัลบั้มม็อบ ที่สะท้อนความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ น่าจะเป็นเพลงร้องเพลงเถิด คำร้องโดยพงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทำนองโดย มรุธา รัตนสัมพันธ์ ที่มีเนื้อว่า
“ร้องเพลงเถิด ร้องเพลงเถิด ให้โลกฟังความหมาย ร้องให้ดัง เสียงเราดัง ดังจากคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่เด็ก ใช่เราอ่อน เช่นก่อนวันผ่านไป ล้วนตัวใหญ่ ใจแจ่มใส ในชั่วดี เมื่อวันก่อน เมื่อเราอ่อน เราพรากเพียรเรียนรู้ เมื่อวันก่อน ฝันวันเก่า เราอ่อนแอแพ้อยู่ ไม้ใบอ่อน ย่อมโตใหญ่ ก้านกิ่งใบ ชูช่อ  ท้าลมสู้ เช่นวันนี้ เรามั่นใจ...”
ผมชอบมาก เพราะเพลงนี้ให้ความหวัง ปลุกเร้ากำลังใจ ในยามท้อแท้ ในยามที่ประสบการณ์ของเรายังน้อย และไมเป็นภูมิคุ้มกันพอกับปัญหาต่างๆที่ถาโถมเข้ามา ความเปราะบางของวัยเยาว์  การต้องเจอแบปัญหาต่างๆ มันคือประสบการณ์ที่จะบ่มเพาะ ฟูมฟักให้เราเข้มแข็งและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ ที่มั่นคงหนักแน่นต่อไป เพลงนี้ผมชอบเพราะผมก็กำลังรอการเติบโตในอนาคตดังเช่น พวกเขาเหมือนกันเหมือนอีกเพลงหนึ่งที่ให้กำลังใจเหมือนกัน ชื่อเพลงใจหิน คำร้องทำนองพี่ปุ้ม พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่มีท่อนฮุคว่า
“หากมัวแต่ท้อ แล้วใจคงตายเปล่า ให้ใครเยาะเย้ยเราทำไม อาจจะสมใจคนบางคน เฝ้าดูเราอ่อนแรง ป่วยการ ไปฝืนใจตนให้ทนเจ็บ กับคนใจคด เคี้ยวคม คารมแกร่ง กับรักร้อยเวียนเปลี่ยนแปลง ไม่เคยรู้จักพอ...”
ฟังเพลงนี้ทีไร ให้กำลังใจในการต่อสู้  เวลาที่ท้อแท้ ทำให้เราเชิดหน้า ลุกขึ้นมาได้ เพียงแค่เราเข้าใจ และมองมันอย่างเข้าใจว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับที่ตัวเรายังหยัดยืนได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ตัวเราเป็นของเรา ถ้าไม่เดือดร้อนใคร ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แค่เราอยู่ได้ เรามีที่ยืน และมีความสุขก็เพียงพอแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...