ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นกับเพลงในความทรงจำ 6


เพลงเธอใช่ไหม เป็นเพลงรัก ที่เกี่ยวกับคนคนหนึ่งที่ตามหาคนๆหนึ่ง ที่จะมาคอยดูแลและอยู่เคียงข้าง แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นแค่เพียงความฝันและยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่เขาก็ยังหวังที่จะรอ ดังเนื้อเพลงว่า
“กับชีวิตหนึ่งที่ฉันต้องการจะมี สักคนที่ดี ที่พร้อมจะเดินกับฉัน ใครคนนั้น ใครสักคนที่คิดว่ามั่นใจ แม้สิ่งที่ฝันมันยังห่างไกล เธออยู่ไหน เธอคนนั้นที่ฉันยังเฝ้ารอ แค่เพียงขอมีเธออยู่จริงก็พอ เก็บความรู้สึกที่ฉันต้องการจะให้เธอ หากเพียงได้เจอ ก็หวังว่าเธอจะเข้าใจ ในตัวฉัน ในชีวิตที่ใกล้จะว่างเปล่า อยากจะรู้ว่าเธออยู่ไหน ได้ยินไหม มันคือเสียงที่มาจากหัวใจ ร่ำเรียกร้องว่าเธอใช่ไหมที่ฉันรอ ผ่านวันและคืนมาแสนนานอยากรู้ว่าเธออยู่ไหน มีบ้างไหม ขอเพียงแค่ใครักคน...นั้น”
หรือเพลง ขาดใจ ที่น้ำเสียงอันแหลมสูงของเจย์ซี บาดลึกเข้าไปข้างใน เวลาเขาร้องราวกับว่าเจ็บปวด จวนจะขาดใจจริงๆ ผมชอบเพลงนี้ เพราะเสียงอินโทรกีตาร์เพราะมาก เนื้อร้องก็ให้ความรู้สึกกับความรักที่เจ็บปวด แปลกที่ช่วงนั้นผมยังไม่มีความรัก ยังไม่เคยเจ็บปวด หรืออกหัก แต่ผมก็ชอบเพลงนี้มาก เพลงนี้ร้องว่า
“สายตาของเธอ ที่เธอจ้องมา พร้อมรอยน้ำตา มันสื่อความหมาย เธอต้องการจากไปจากฉัน หรือเธอจะมาเพื่อบอกลา อย่านะ อย่าจากฉัน ฉันอาจขาดใจ อย่านะ อย่าบอกฉัน ว่าเธอจะไป ไปพบใครที่ดีกว่า ดีกว่าฉัน หากฉันไม่มีเธอ คงขาดใจ ขอเธอได้มอง และลองถามใจ มีใครข้างใน เธอตอบได้ไหม เธอต้องการไป ไปจากฉัน หรือเธอจะมาเพื่อบอกลา Don’t you go no (อย่านะ) Don’t you go no (อย่าจากฉัน)  No No No No (อย่านะ)”
หรือเพลง เธอเคยได้ยินไหม ที่เสียงอะคูสติกกีตาร์น่าฟังมาก จังหวะเพลงก็ไม่หนักมาก เบาๆสบาย  กลมกลืนไปกับเสียงร้อง  และเสียงคอร์รัสประกอบ เนื้อเพลงนี้มีอยู่ว่า
“เวลาที่เหม่อมองฟ้า จิตใจอ่อนหล้ายังคิดถึงเธอ ยังคงเฝ้ามองเสมอ ยามที่ตัวฉันเดียวดายหัวใจ ส่งความรักที่ซ่อนเก็บไว้ สู่ท้องฟ้าให้เธอได้รู้ว่าใคร แม้มันต้องไกลแค่ไหน หัวใจฉันจะเคียงใกล้ ไม่ไกลจากเธอ เธอเคยได้ยินบ้างไหม กับความคิดถึงที่ใจฉันให้ เธอเคยได้ยินใช่ไหม ว่ามีใจฉันเฝ้าคิดถึงอยู่ อยากจะพบหน้าเธออีกครั้ง แต่คงเป็นแค่เพียงความฝันที่เจอ ถึงเธอนั้นไกลจากฉัน ฉันคงต้องรอจนกว่า เธอคืนกลับมา....”
เพลงหลายเพลงในอัลบั้มนี้บ่งบอกถึงเรื่องราวความรักของเจย์ซี ที่ค่อนข้างเศร้า ผิดหวัง ดังเห็นได้จากเพลงหลายเพลงในอัลบั้มนี้ เป็นเสมือนสิ่งที่สะท้อนความรักในอดีต ของเจย์ซี เพลงที่บ่งบอกชัดเจนคือเพลง Whenever the wind blows  ดังที่มีเนื้อเพลงว่า
Whenever the wind blows whenever the rainfalls whenever the sunshines my heart will stay you’re still in my memories you’re still in my life and whenever I look back at my past I know, I can’t let go cause the memories and feelings still come back…
เพลงนี้มีใจความว่า  เมื่อใดที่สายลมล่องลอย เมื่อใดที่หยาดฝนร่วงริน เมื่อใดที่พระอาทิตย์สาดแสง หัวใจของฉันก็จะยังคงอยู่กับเธอ ในความทรงจำของฉัน ในชีวิตของฉัน และเมื่อใดก็ตามที่ฉันมองย้อนกลับไปในอดีต ฉันก็รู้ว่า ในความจริง ฉันไม่สามารถกลับไปหาเธอได้  แต่ว่าความทรงจำและความรู้สึกของฉันที่มีต่อเธอก็ยังคงวนเวียนกลับมาตลอดเวลา
อัลบั้มชุดนี้ ฟังได้เพลินๆไม่เบื่อ แม้ว่าเนื้อเพลงส่วนใหญ่จะเป็นการรอคอยใครสักคนหนึ่ง ความทรงจำที่เจ็บปวด แต่เพลงแต่ละเพลงเน้นที่เสียงกีตาร์อะคูสติก  เสียงเพอคัสชั่นของ กฤษฎ์ ธรรมโชติกา หรือหนุ่มที่โบน เสียงแซกโซโฟน ของสมบัติ พรหมา แม้ว่าอัลบั้มนี้จะไม่ดังหรือเป็นที่รู้จักมากเพราะเป็นงานของค่ายเพลงเล็กๆ แต่งานเพลงของเจยืซีที่ออกมาก็มีคุ้นภาพและพอคุ้นหูคนฟังอยู่บ้างในช่วงปี 2539-2540
หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 ปี ผมคิดว่าคงไม่ได้ยินงานเพลงของเจย์ซี อีกแล้ว ก็ได้มาเจออัลบั้มของเจย์ซีที่ร้านขายเทปหลังมหาวิทยาลัย โดยที่ไม่เคยได้ยินฟังเพลงในอัลบั้มชุดนี้ของเขามาก่อน แต่ก็ตัดสินใจซื้อเพราะชอบอัลบั้มชุดแรก  อัลบั้มชุดที่สองชื่อ In My Mind  สังกัดโซล่า เอ็นเตอร์เทนเม้นต์เหมือนเดิม ที่เขาเขียนไว้ในปกเทปว่า
“เจ ขอบคุณแฟนเพลงทุกคนของเจที่ให้กำลังใจเจมาตลอด อัลบั้มชุดนี้เจทำออกมาจากความรู้สึกดีๆที่อยู่ข้างใน เจมอบอัลบั้มชุดนี้ให้กับ มาม๊ะ ที่เจรักที่สุด”
อัลบั้มชุดที่2 In my mind ของเจย์ ซี


ชุดนี้เจย์ซี เป็นโปรดิวเซอร์ เขียนเนื้อร้องและทำดนตรีเองทั้งหมด ยกเว้นเพลง Land of Smile ที่แต่งโดย  Joel ซึ่งเขียนในช่วงที่ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่13 ชุดนี้ได้หลายคนจากวงพอสมาช่วย เช่น เบส ของนอ นรเทพ มาแสง เพอคั่สชั่น โดย มาตรชัย มะกรูดทอง
ชุดนี้มีเสน่ห์ตงที่เสียงกีตาร์และเบสเพราะๆ โดยเฉพาะเพลงด้วยฝันที่มีการโซโล่กีตาร์อย่างไพเราะโดยอ.หน่อย  เพลงนี้เนื้อร้องมีว่า
“มีทางให้เดินมากมาย ที่เราไม่เคยพบเจอ อาจจะมีสักวัน ให้ฝันเป็นจริง ที่ที่เรานั้นได้ใฝ่ฝันว่าสักวันคงมี อาจได้เจอความฝันเมื่อถึงเวลา ต้องเดินให้มีจุดหมาย ที่เรานั้นได้ใฝ่ฝัน แต่หากความฝันไม่เป็นยังหวัง ปล่อยไว้เป็นเพียงความหลัง ถึงเวลาต้องทิ้งอดีต เพราะเรานั้นยังมีหวัง และถึงเวลาที่ต้องเข้าใจ ความฝันเป็นเพียงความหวัง  สุดท้ายทุกอย่างต้องเป็นอดีต ผ่านไปต้องมีวันใหม่ ให้เรามีหวังอยู่ต่อไปด้วยฝัน (เพราะเรานั้นยังมีหวัง)
นอกจากนี้ในอัลบั้มชุดนี้ยังมีเพลงเพราะๆอีกมาก เช่น ไม่นาน เพื่อทำใจ มีแต่หัวใจ ในฝันเธออาจเห็นใจ ในอัลบั้มนี้มีทั้งหมด  7เพลง 6 เพลงใหม่ หนึ่งเพลงเก่า เป็นบันทึกการแสดงสด คือเพลงขาดใจ ที่เจย์ซี โชว์พลังเสียงสูงมาก
เพลงเจย์ซี ในความทรงจำของผมมีคุณค่าในแง่ของความแปลกใหม่ของวงการเพลงในยุคนั้น ที่ไม่ได้อยู่ในกระแส งานของเขามีความโดดเด่นทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และเสียงร้องของเขา แม้ว่าในปัจจุบันเขาขะหายไปจากวงการเพลง และไม่รู้ว่าเขาไปทำอะไรอยู่ที่ไหน แต่บทเพลงของเขาก็ยังโลดแล่นอยู่ในความทรงจำของผมไม่ลืม
“อยากจะเป็นดวงดาว อย่างที่เธอต้องการ
สิ่งที่เธอใฝ่ฝัน อยากจะได้สิ่งนั้น
อยากให้ฝันของเธอ มีฉันเป็นดาว...
ในฝันเธออาจเห็นใจ”    (เพลงในฝันเธออาจเห็นใจ)
ผมคิดว่าครั้งหนึ่งเจย์ซีก็เคยหวังอยางนี้  และผมก็อยากให้เขารู้ว่า สิ่งที่เขาหวังนั้นอย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งที่เป็นแฟนเพลงของเขาอย่างไม่เสื่อมคลาย

ความคิดเห็น

  1. เข้ามาอ่านบลอกดีๆบลอกนี้
    ด้วยการลองค้นหา
    ข่าวคราวของเจย์ซี
    นักร้องที่ผมชอบมากๆ
    ในช่วงมหาวิทยาลัย

    พอเข้ามาอ่าน
    เลยได้พบบทความอื่นๆ
    ของทางบลอก
    ทำให้รู้สึกว่าบลอกนี้
    เป็นบลอกที่ดี
    และมีประโยชน์มากครับ

    ขออนุญาตติดตามนะครับ
    ผ่านทาง Blogger นะครับ
    จะได้อ่านบทความใหม่ๆดีๆอีก

    ติดตามและเป็นกำลังใจให้ครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...