ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นกับเพลงในความทรงจำ 3



ในช่วงที่ผมเริ่มเรียนพัฒนาชุมชน ผมสนใจปัญหารอบข้างมากขึ้น เริ่มสนใจการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับบุคคล สังคม ประเทศชาติ หรือโลก และการเมืองที่ไม่ใช่เรื่องของอำนาจในการบังคับ ข่มขืน ยัดเยียด ให้คน ทำตาม แต่เป็นอำนาจนำที่ทำงานในระดับความคิด จิตสำนึกลงลงไปถึงระดับจิตใต้สำนึก แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้เราเข้าใจหรือมองเห็นภาพได้เลย ถ้าเรามองไม่เห็นโครงสร้าง คุณจะเรียกว่าโครงสร้างภาษา ชุดความรู้ อุดมการณ์หลัก วาทกรรม หรือมายาคติก็ตาม มันก็คือโครงสร้างแบบหนึ่งที่พียงแค่เปลี่ยนหรือเลี่ยงอธิบายคำว่าโครงสร้างแล้วหาคำอื่นมาแทนเท่านั้นเอง แต่ความหมายก็ยังคงเป็นเรื่องที่ตอกย้ำความคิดเชิงโครงสร้างอยู่นั่นเอง มีเพลงหนึ่งในอัลบั้มชุดนี้ที่ผมชอบคือเพลงโองการแช่งน้ำ เพลงนี้พี่ปุ้มก็แต่งคำร้องทำนอง เช่นเคย โดนมากเพลงนี้ มีเนื้อร้องว่า
“ฟ้าเคือง ดินโกรธ ฝนจาง บอกลางร้าย แผ่นดินแล้งเกินจะปลูกสิ่งไหน ภัยจะโถมทะลาย เมืองคน ผองคน โกงโลก คว้าครองอย่างใจตน ทุกสิ่งในโลกนี้ เป็นอย่างไรไม่สน จนจะผลาญ  เสียจนสิ้นพันธุ์ หลอมคน รวมชาติ ล้านคน หลากดีร้าย อยู่รวมกัน คนและสัตว์ทั้งหลาย ในแผ่นฟ้าและดินเดียวกัน เพียงคนเท่านั้นเป็นใหญ่ ลืมคุณฟ้าให้กำเนิด เบียดเบียนชีวิตกัน แข่งขันจะฝืนลิขิตวงจรชีวิตจะสั้น ไฟจะผลาญล้างพันธุ์คนพาล เบื้องบนฟ้าจะกดลงมา เบื้องต่ำน้ำจะกลบภูผา ล้างมารครองเมือง ดับยุคเข็ญประหัตประหาร ผู้คนล้มตายดั่งผักปลา ล้างมารครองเมือง คำสาปฟ้าและดินลงทัณฑ์ ขุนพล คนใหญ่ ขุนนาง กร่างเกลื่อนไป ลืมวันที่หลั่งรินน้ำ ลืมคำที่เคยให้ไว้ ไม่รักษาสัญญาฟ้าดิน”
คนลืมสัญญา ไร้สัจจะ นักการเมือง โป้ปด ลืมสัญญากับประชาชน ผู้นำที่ไม่มีธรรม คนไม่เห็นคุณค่าแห่งตน เห็นแก่ตัวเอาตัวรอด  สังคมจึงเสื่อมโทรมลงทุกวัน เพลงนี้ผมว่าทำให้เรากลับมาคิดว่าปัญหาทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นจากใครคนใดคนหนึ่งและแก้ไม่ได้ด้วยคนคนเดียว แต่ทุกคนต้องช่วยกัน ต้องช่วยกันล้างมารครองเมือง อ่านมาถึงตรงนี้ อาจมองว่าทำไมเพลงของวงตาวันจึงดูซีเรียส จริงจังกับปัญหาสังคม ทำไมไม่เป็นเพลงรักหวานแหว รักของคนหนุ่มสาวในยุคโรแมนติก  จริงๆบริบททางสังคมมีส่วนมากเหมือนกันต่อความคิดของพวกเขาในเรื่องของแนวเพลงและเนื้อเพลงที่พวกเขาต้องการถ่ายทอด อย่างที่บอกทุกอย่างเกิดขึ้นจากภายใน ความปรารถนา ความอยากของพวกเขาเอง ไม่ได้เกิดจากค่ายเพลง กระแสเพลงในยุคนั้นแต่อย่างใด พวกเขาไม่หวังยอดขาย ซึ่งนั่นชัดเจนว่าแม้ว่าอัลบั้มนี้จะไม่ดังเปรี๊ยงปร๊างแต่ก็มีเพลงในอัลบั้มก็คุ้นหูคนฟังในยุคนั้นหลายเพลง นั่นคือสิ่งที่พวกเขาภูมิใจและมองว่า คนฟังเริ่มมีความคิดมีสมอง และเริ่มเบื่อหน่ายกับสิ่งแวดล้อมทางดนตรีและตลาดดนตรีที่มีอยู่ในช่วงนั้น รวมทั้งการลอกเพลงของคนอื่นที่มีอยู่กลาดเกลื่อนตลาดเพลงในยุคนั้น พวกเขาไม่ได้บอกว่าเพลงของตัวเองดีกว่าคนอื่นแต่เขามองว่ามันต้องมีทางเลือก เหมือนที่พวกเขาเขียนเอาไว้ในอัลบั้มว่า
“สิ่งที่พวกเราหวังก็คือ จะมีดนตรีอะไรก็ได้ในประเทศนี้ ป๊อป ร็อค แร๊ป ด๊านซ์ หรือนรกอะไรก็เถอะ ขอให้คิดด้วยกบาลตัวเองไม่ได้หรือไง มาตรฐานเด็กรุ่นต่อๆไปจะได้ดีขึ้น ดูเหมือนจรรยาบรรณจะไม่มีในสันดานคนพวกนี้เลย มีแต่เพียงคนฟังเท่านั้น ที่จะปิดเสียงพวกนี้ได้”
อย่างที่บอกว่าเพลงชุดที่สอง ต่ออกมาจากชุดแรกที่พวกเขาเขียนเพลงสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับดนตรีในยุคนั้นหลายเพลง เช่น เพลงหุ่นกระบอก ที่สะท้อนให้เห็นการมีคนบงการอยู่เบื้องหลัง แม้ตุ๊กตายังพูดเองไม่ได้ เปรียบเหมือนนักดนตรีบางคนที่แม้จะไม่มีความสามารถทางด้านดนตรีแต่กระบวนการของธุรกิจเพลงก็สามารถทำให้เขาเป็นซุปเปอร์สตาร์ได้ ขอให้หน้าตาดี มีเพลง มีทีมโปรดิวเซอร์ มีฝ่ายโฆษณา ออกแบบเสื้อผ้า ที่จะปั้นให้หุ่นกระบอกพวกนี้เป็นศิลปินได้ สมาชิกวงตาวันเคยพูดถึงประเด็นนี้เหมือนกัน ในตอนที่คิดจะทำอัลบั้มชุดที่สอง  และคนใกล้ชิดพวกเขาบางคนพูดว่า “อย่าทำเลย ไม่เวิร์กหรอก...แก่แล้ว ไม่หล่อด้วย” แต่พวกเขาก็มองว่าพวกเขาเป็นนักดนตรีที่มีสิทธิชอบธรรมที่จะร้องและเล่นดนตรี อัลบั้มม็อบจึงเกิดขึ้น เป็นม็อบของผู้กล้า  ของคนดนตรีที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวและต่อต้านกระแสทางสังคมบางอย่าง ท่ามกลางกระแสความรุนแรงทางการเมืองและสังคมที่ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้น
ในอีกด้านหนึ่งเพลงที่เป็นมุมมองความรักน่ารักน่ารัก อย่างเช่นเพลงดูดาว ก็น่าสนใจ เพลงนี้น่าจะเป็นเพลงที่แปลกว่าเพลงอื่นๆ เพราะคำร้องแต่งโดยนิมิตร จิตรานนท์ เพลงนี้ผมชอบที่เปรียบเทียบความรักระหว่างคนสองคน คนหนึ่งอยู่ไกลเปรียบเหมือนดวงดาว ที่คนคนหนึ่งได้แต่มอง ดูดาวอย่างนั้นต่อไป เนื้อเพลงมีว่า
“เหงา หนีมามองดาวบนฟ้า ฟ้าไม่มีดาวกลับกลาย ใจเห็นเธอลอย เด่นเหมือนดาวส่อง เหงา เหงาไม่มีเธอ คืนนี้ เหมือนวันที่ผ่านพ้น สับสน เธอเหมือนคนดี เธอเหมือนคนหลอก ฟ้า ฟ้า บนฟ้าคงมีแต่ดาวให้เรานั่งมอง ฟ้า ฟ้า ดูหมอง มีเมฆกลมๆลอยอยู่เป็นร้อย เหมือนๆคนเหลาที่คอยแต่ดาว เฝ้าแต่นั่งมอง มองจนลับลอยไปกับตา  เหมือนดังกับเธอ...”
เพลงนี้ดังมาก และถูกนำไปร้องซ้ำโดยปุ้ม อรรถพงษ์  ศิลปินคนหนึ่งที่ผมชื่นชอบ เพลงของวงตาวัน มีความเฉพาะในแง่ของดนตรีและเนื้อร้อง ที่หลายเพลงเป็นภาษากวีสวยๆ สละสลวย อย่างเพลงกาม เพลงนี้ผมชอบ เพราะได้รางวัลสีสันอะวอร์ดด้วย เนื้อเพลงมีว่า  “อาจเพียงแค่ฝันไป หลับไปในฝันลวง เผาใจที่เปลือยเปล่า ด้วยไฟที่ร้อนแรง แรงด้วยเพลิงสาป ร้อนเร้ากระเส่าซ้ำซ้อนให้อ่อนแรง กายต่อกายผ่าวราวถูกไฟโหม รัดพันดังเงา ราวกับงูร้าย อาจเพียงแค่ฝันไป ด้วยใจที่เขลาเกิน หลงเพลินจนลืมเจ็บ ปากงามที่แย้มพราว ราวซ่อนคมดาบ เผลอย้ำกระหน่ำซ้ำร้าย บ่ หน่ายแหนง...”
สมาชิกวงตาวัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...