ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของคนไข้ (The Patient’s experience) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล


การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของคนไข้ (The Patient’s experience)
          Kleinman (1988) โต้แย้งว่าการปฏิบัติทางการแพทย์สมัยใหม่ได้ขับไล่ความตั้งใจหรือความสนใจของหมอให้แยกห่างจากประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วย (Lived experience of the patient)และจากมิติที่สำคัญของการทำความเข้าใจความเจ็บป่วย ตัวของผู้ป่วยจึงมีสถานะเป็นร่างกายที่เงียบและไร้เสียง (organic Silence)แม้ว่าในความจริงนั้นความเจ็บป่วย(Illness)และความเจ็บปวด(Pain) ได้สร้างความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาต่อร่างกายของผู้ป่วย ในการตระหนักรู้ถึงร่างกาย ในการสำนึกรู้เชิงความรู้สึก ร่างกายที่หายไปในชีวิตประจำวัน การทำให้เป็นอื่นและแยกขาดความเจ็บป่วยออกจากตัวเอง(self) การตัดขาดผู้ป่วยออกจากคนอื่นๆ และขุมขังตัวผู้ป่วยไว้ในร่างกาย  Kleinman ได้พูดถึงแนวโน้มของการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเล่าของผู้ป่วย(patient’s narrative) ที่เป็นการเติบโตขึ้นของการทำงานที่ทำการสำรวจประสบการณ์ของความเจ็บป่วยและร่างกายจากมุมมองของคนไข้(The perspective of the Patient) งานส่วนหนึ่งถูกเขียนโดยหมอ หรือนักสังคมวิทยาผู้ซึ่งมีความทุกข์ทรมานของตัวพวกเขาเองกับความเจ็บป่วย (Sack 1984,Scambler 1988, Kelly 1992, Frank 1995)   
          ประเด็นเกี่ยวกับโรคมะเร็ง(Cancer)เป็นเรื่องราวที่มีความเฉพาะของความเข้มข้นในงานวรรณกรรมที่สะท้อนออกมา อย่างเช่นในการทำงานของนักสังคมวิทยาที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นความเจ็บปวด(pain)และการเจ็บป่วยเรื้อรัง(Chronic illness) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในการกลับมาเน้นย้ำกรอบของการวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะเรื่องของผลกระทบจากการเจ็บป่วยและการรักษาที่สัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับตัวเอง(Sense of self) ดังเช่นงานของ Kelly (1992)และ Madjar (1997) ที่สำรวจเกี่ยวกับการรักษาแบบคีโมในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่(Colistis Chemotheraphy)การบรรยายของผู้ป่วยเกี่ยวกับความกลัว  การช็อค ความขยะแขยง ที่ถูกทำให้เป็นประสบการณ์ในความสัมพันธ์หลังจากปฏิบัติการรักษาผ่านร่างกายpost-operative body) โดยการรักษามีผลลัพธ์ในการทำให้เสียหายต่อร่างกาย ความไม่สวย ดูไม่ดีเหมือนปกติ(Disfigurement) เมื่อคนไข้ส่องดูหน้าตัวเองในกระจก หรือขอบเขตของร่างกาย ที่ถูกรบกวนภายใต้วิถีทางของการรุกล้ำเชิงสังคมด้วย เพราะการรักษาด้วยวิธีการบางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่สร้างความขยะแขยงให้กับคนในสังคม เช่นการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง(ileostomy) ในการรักษาแบบเคมีบำบัด ร่างกายกลายเป็นสนามของการต่อสู้ (battleground)
       
                        
                                                                 
                          Ileostomy หรือการผ่าตัดเปิดหน้าทองเพื่อให้ของเสียออกมาจากร่างกาย    
           



                                                              การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการให้คีโม ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายเช่น ผมร่วง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำและอื่นๆ
                                                             
            
  วิถีทางทางการแพทย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับร่างกาย แหล่งของโรค แหล่งของการรักษา แหล่งของการควบคุมป้องกันโรค ร่างกายจึงเป็นเสมือนพื้นที่รองรับของการถูกกระทำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย(passive receptacle of disease)ไปสู่ความสามารถในการตอบสนองและการเป็นผู้กระทำการที่กระตือรือร้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ(active agent of selfcare) การแพทย์สมัยใหม่ออกใบสั่งยาและจ่ายยาไม่เฉพาะทางด้านยาและเวชภัณฑ์(pharmaceuticals)เท่านั้นแต่ยังให้ข้อมูลและแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตด้วยและให้คำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ประกอบสร้างการทำงานทางสุขภาพที่มีการแพร่ขยายไปเลยจากการกระทำทางคลินิกไปสู่การจัดวางความระมัดระวังในความสัมพันธ์กับพฤติกรรม วิถีชีวิตและรูปแบบของการบริโภคและการจัดระเบียบของพื้นที่ทางสังคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...