ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร่างกายและการแพทย์ (Body and Medical) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล



ร่างกายในทางการแพทย์ การตลาดและการดูแลด้านสุขภาพ (The Body in Medicine and Health Care)


          ร่างกายไม่ได้เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องของการรักษา(treatment)และการจัดการ(management)เกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ถูกแสดงในเรื่องราวทั้งหมดในทางกายแพทย์ (the whole subject of medicine) ทั้งมิติของการตีความ(interpretation)เกี่ยวกับร่างกายและการประกอบสร้างของร่างกาย(Construction) ภายใต้มิตินทางประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของมโมทัศน์หรือความคิด(paradigsm) ของการแพทย์สมัยใหม่(Modern Medicine) ที่ซึ่งทำให้เกิดการดำรงอยู่ของกระบวนการทางความคิดเกี่ยวกับร่างกายโดยเฉพาะการศึกษาทางด้านกายวิภาค(anatomy)และการเติบโตของการชำแหละหรือผ่าศพ (dissection)ในทางการแพทย์ ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจร่างกายและการรักษาโรคในช่วงศตวรรษที่18-19 ภายใต้ข้อจำกัดและความกดดันในกระบวนการจัดหาร่างกายเพื่อการศึกษา(supply of body) ร่างกายของนักโทษ(prisoner body)และร่างกายของคนยากจน(poor body)คือร่างกายที่สำคัญในการจัดหาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในทางกายแพทย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายใต้ประเด็นของความเปราะบางอ่อนไหว ประเด็นจริยธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้า การลงทุนในกระแสสุขภาพปัจจุบัน ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐ เอกชนและผู้คน  ที่นำไปสู่ปัญหาของการค้ามนุษย์ การขายอวัยวะ ที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศโลกที่สามกับประเทศที่พัฒนาแล้ว คนผิวสี คนผิวดำในประเทศยากจนกับคนผิวขาวที่ร่ำรวย
การค้าขายอวัยวะ : ร่างกายที่ต้องการในตลาดสุขภาพ
          การเติบโตของการค้าการลงทุนภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์ที่การค้าการลงทุนเชื่อมโยงระดับท้องถิ่น ประเทศ ระหว่างประเทศ ภูมิภาคจนถึงระดับโลก ภายใต้รูปแบบวิธีการของการแลกเปลี่ยนซื้อขายอวัยวะของร่างกายที่เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุน โรงพยาบาล บริษัทเอกชนจนถึงประชาชนธรรมดาที่มีฐานะร่ำรวย  ดังเช่นคนไข้(patients)บางคนได้เดินทางไปในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่เป็นแหล่งของการแลกเปลี่ยนซื้อขายอวัยวะ (Cohen,2001; scheper – Hughes,2001,Twigg,2006)
          ตัวอย่างเช่น Cohen(2001)ได้อธิบายถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการแพทย์(Medical -Tourism) ในอินเดีย ที่สัมพันธ์กับการลงทุนของประเทศในโลกที่1(First World)หรือประเทศที่พัฒนาแล้วในเรื่องของการคมนาคมขนส่ง สนามบินนานาชาติ การลงทุนทางการแพทย์ การสร้างโรงพยาบาล ที่เชื่อมโยงกับประเทศโลกที่3 (third World) ซึ่งเป็นสถานที่ของการจัดหาอัวยวะสำหรับใช้ในทางการแพทย์  โดยที่ปัจเจกบุคคลที่หมดหวังกับความเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่นต้องการอวัยวะอย่างหัวใจหรือต้องการไตของคนอื่นมาใช้เพื่อมาเปลี่ยนแทนของเดิมเพื่อยืดอายุให้ยืนยาวมากขึ้น สัมพันธ์กับการขายชิ้นส่วนของอวัยวะ(Sell body part) ที่เชื่อมโยงกับความต้องการไต(kidney)และการบริจาค(donation)ที่หลีกเลี่ยงนัยยะทางกฎหมาย  แต่ก็ยังคงมีการลักลอบซื้อขายอวัยวะในตลาดมืด (black Market)  โดยเฉพาะการติดต่อซื้อขายอวัยวะในชนบทกับผู้ขายชาวชนบท(rural seller)ที่ห่างไกลกลายเป็นสิ่งที่ถูกทำให้มืดบอด มองไม่เห็นและเงียบเชียบไร้เสียงของผู้คนในประเทศเหล่านั้น และกลายเป็นสิ่งที่คนเหล่านี้เต็มใจที่จะซื้อขายภายใต้ภาวะของความยากจน การเป็นหนี้สิน ความต้องการช่วยเหลือครอบครัวและค่านิยมความกตัญญู เป็นต้น
          ในขณะที่บางประเทศรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายอวัยวะโดยตรง เช่นการติดต่อประสานงานให้กับผู้ต้องการอวัยวะ(Commandeering)กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซื้อขายอวัยวะที่เชื่อมโยงกับเรื่องของสิทธิและอาชญากรรมข้ามประเทศ ในประเทศจีนระบบการเมืองการปกครองของประเทศทำให้เกิดการยึดเอาอวัยวะของนักโทษ ทีอวัยวะเหล่านี้จะถูกทำให้เป็นสินค้าและขายให้กับคนไข้ในประเทศฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์(scheper – Hughes,2001)
scheper – Hughes มองว่าการค้าอวัยวะคือสิ่งที่บ่งชี้พลังของการกัดเซาะของระบบทุนนิยมโลก ที่ซึ่งชีวิตถูกลดทอนกับสถานภาพของการเป็นสินค้าของตลาด(Market Commodities) การค้าอวัยวะ(Traffic in organ) เคลื่อนตามการเชื่อมต่อของโลกและการไหลเวียนของแรงงาน และการปรับให้สอดคล้องกับแนวทางที่ได้วางเอาไว้ของสังคมและเศรษฐกิจที่ขยายตัว องค์ประกอบทางด้านเชื้อชาติ(race)ก็รวมอยู่ในนี้ด้วย ดังเช่นการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะในแอฟริกา ความจริงสำคัญก็คือ หัวใจที่มาจากคนจน ผู้ชายผิวดำในเมืองเล็กๆ ที่ปลูกถ่ายไปยังร่างกายของคนรวย คนผิวขาว วันนี้การปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant)เคลื่อนย้ายไหลเวียนจากทางใต้ไปสู่ทางเหนือ จากคนจนไปสู่คนรวย จากคนผิวดำ ผิวสีน้ำตาลไปสู่คนผิวขาวและจากผู้หญิงไปสู่ผู้ชาย(scheper – Hughes,2000)
ชุดของคำว่า การทำให้เป็นการแพทย์ (medicalization) เริ่มถูกใช้ครั้งแรกในช่วงปี1970 เมื่อนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Irving K. Zola (1972) ที่ได้ชี้ให้เห็นอิทธิพลของการแพทย์(the influence of medicine) เช่นเดียวกับสถาบันของการควบคุมทางสังคมและอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นกับการใช้ชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล โดยกระบวนการทำให้เป็นประเด็นทางกานแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ใน3ระดับ 1ในระดับแนวคิด(conceptual level)โดยใช้ชุดคำหรือการอธิบายทางการแพทย์(medical terminology)ที่ซึ่งสามารถอธิบายหรือพรรณนาถึงปัญหา(describe a problem) 2.ในระดับของสถาบัน(institutional level)โดยการใช้วิธีการทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานที่นำไปสู่การสำรวจปัญหา(explore a problem) 3.ระดับของปฏิสัมพันธ์(an interactional level) ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างหมอและผู้ป่วย(doctor-patient interaction) ภายใต้ปัญหาที่ถูกบ่งชี้โดยแพทย์ เช่นเดียวกับการแพทย์และการรักษา
Conrad and Barker (2010: 74) อ้างว่า การทำให้เป็นกระบวนการทางการแพทย์มีการแผ่กว้างเลยไปจากเรื่องของความเชี่ยวชาญทางการแพทย์(medical professionals) การเคลื่อนไหวทางสังคมและการจัดระเบียบที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีทางชีวะ(biotechnology) การบริโภค(consumers)และอุตสาหกรรมประกันภัย(insurance industry) ที่สะท้อนผ่านอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์(pharmaceutical industry) ที่แสดงบทบาทและตอกย้ำให้เห็นว่ากระบวนการของการทำให้เป็นประเด็นทางการแพทย์ได้แผ่ขยายไปสู่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์(medical professionals)การเคลื่อนไหวทางสังคมและกระบวนการจัดระเบียบ(social movements and organizations)ที่นำไปสู่ไบโอเทคโนโลยี(biotechnology) การบริโภค(consumers)และอุตสาหกรรมประกันภัย(the insurance industry)นี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมทางเวชภัณฑ์(pharmaceutical industry)ได้แสดงบทบาทสำคัญในการให้โครงร่างและเผยแพร่เกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์(medical knowledge)เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของพวกเขา(Williams and Calnan, 1996; Conrad and Leiter, 2004; Bezenšek and Barle, 2007; Conrad and Barker, 2010) 
Conrad (1992: 216) มีพื้นฐานทางความคิดที่อยู่บนงานของมิเชล ฟูโก ที่แบ่งประเภทของการควบคุมทางสังคมของเรื่องการแพทย์(medical social control)ออกเป็น4ลักษณะคือ:
(1) อุดมการณ์หรือความคิดในทางการแพทย์(medical ideology) อุดมการณ์ทางการแพทย์คือสิ่งที่ควบคุมรูปแบบทางการแพทย์เบื้องต้น (medical model primarily) เพราะว่าเกี่ยวข้องกับคำสาปแช่งของสังคม(accrued social)กับอุดมการณ์ในเชิงผลประโยชน์(ideological benefits)
 
(2) การร่วมมือสนับสนุนระหว่างกัน(collaboration) ในส่วนของความร่วมมือกันทางการแพทย์(medical cooperation)ได้แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของหมอในการให้ข้อมูล (the role of informants) เป็นยามป้องกัน(gatekeepers) การเป็นผู้กระทำการในระดับสถาบัน(institutional agents)และนักเทคนิค(technicians)ให้กับสังคมและผู้ป่วย
 
(3) เทคโนโลยี(technology) เทคโนโลยีทางการแพทย์(medical technology) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของวิธีการทางเทคโลโลยีในการควบคุมสังคม(social control) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยา(drugs) การผ่าตัด(surgery)และพันธุกรรม(genetic)หรือลักษณะอื่นๆของการคัดกรอง(screening)เป็นต้น
   
                    ภาพ ร่างกายของใคร ของทุนหรือของคนอื่น ปรากฏการณ์อุ้มบุญ การเช่ามดลูก เพาะชีวิต แลกเงิน
(4) การควบคุมสอดส่องทางการแพทย์ (medical surveillance) การสอดส่องทางการแพทย์เช่นเดียวกับรูปแบบการควบคุมทางสังคมทางการแพทย์(medical social control)ที่ได้ให้สภาพเงื่อนไขที่แน่นอนหรือพฤติกรรมที่กลายเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้ เช่นเดียวกับการจับจ้องทางการแพทย์(medical gaze) และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ (physicians) อาจจะกล่าวอ้างถึงการวางแนวทางหรือมาตรฐานไปสู่พฤติกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขดังกล่าว
 
ตัวอย่างเช่น การตั้งครรภ์(Pregnancy)คือสิ่งที่มีสถานะบ่งชี้ทางกายภาพ(a physiological state)และไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย(illness) เมื่อสิ่งเหล่านี้ในสังคมตะวันตกเป็นสิ่งที่ถูกอธิบายภาวะของการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับเงื่อนไขของความเสี่ยง(risky condition)ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงของการตั้งครรภ์ (Riessman, 1983; Behruzi et al., 2010) ในช่วงต่อมาสิ่งเหล่านีมันจึงมีความสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์(medicalization) เพราะว่าในบริบทนี้ การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย(perception of illness)จึงถูกทำให้มองเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมันคือปัญหา(problem)หรือภาวะเบี่ยงเบน(deviation)ที่ถูกทำให้สอดคล้องเหมาะสมกับสนามทางการแพทย์(the field of medicine) เช่นเดียวกกับการให้กำเนิดเด็กและการตั้งครรภ์(childbirth and pregnancy) ซึ่งการควบคุมเหนือกระบวนการเด็กเกิดกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นภาระหน้าที่ของการแพทย์(task of medicine) การรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ(Interventions) เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาพร้อมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างการให้กำเนิดที่ปลอดภัย(birth safer)และเจ็บปวดน้อยที่สุด(less painful) เทคโนโลยีใหม่ได้เข้ามาเน้นย้ำอยู่บนการตรวจสอบแม่เด็ก(monitoring Mother)และลูกน้อยในครรภ์(foetus)ในระหว่างการตั้งครรภ์ (Smeenk and ten Have, 2003: 153) ดังจะเห็นได้จากการแนะนำของแพทย์สูตินารีในโรงพยาบาลเมื่อตรวจแล้วพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเช่นการดูแลตั้งแต่การฝากครรภ์ การให้ยาบำรุงระหว่างตั้งครรภ์ การทำอัลตร้าซาวน์เพื่อดูเพศและความผิดปกติ การแนะนำเรื่องการคลอด และการผ่าคลอด เป็นต้น และต่อมาเมื่อเด็กเกิด เป้าหมายสุดท้ายก็คือการดูแลให้เด็กมีสุขภาพดี(healthy child)เมื่อคลอดออกมาและดูแลสุขภาพแม่(healthy mother)ให้มีอายุยืนยาวไปพร้อมกันด้วย คำถามที่ตามมาก็คือ ความต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสำดับที่สอดคล้องกับวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ร่างกายของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์(a pregnant woman) จะต้องถูกควบคุมดูแลอยู่เหนือร่างกายของพวกเธอเอง(her own body)ภายใต้ความรู้ทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์ ค่อนข้างที่จะมองการแพทย์ว่ามีลักษณะที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของการตลาดแบบหนึ่ง(any kind of marketplace) ซึ่งค่อนข้างเห็นได้อย่างชัดเจนกับการพีมนาเรื่องการจัดการในการดูแลรักษา(managed care) การทำให้เป็นบริษัททางการแพทย์(corporatized medicine)และการดำรงอยู่ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ(biotechnology industry) ตลาดทางการแพทย์(medical markets)เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นในการวิเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลทางสุขภาพ
ผลผลิตทางการแพทย์(medical products) การบริการ(Services)และการรักษา(treatments)เป็นสิ่งที่สนับสนุนส่งเสริมกับการบริโภคเพื่อปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์  รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ(appearance) หรือการมีความสุข(well-being) ที่สะท้อนผ่านการพัฒนาเกี่ยวกับตลาดทางด้านสุขภาพและการแพทย์ แนวคิดของการตลาดทางด้านการแพทย์(medical markets)เป็นสิ่งที่ถูกอธิบายว่าเป็นเช่นเดียวกับความแปลกประหลาดในเชิงทฤษฎี(theoretical anomaly)เนื่องจากความไม่สมดุลสอดคล้องระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษรฐกิจกับมนุษยธรรม(Light 2000:395)การโฆษณาและการตลาดทางการแพทย์
          การใช้ประโยชน์ของการโฆษณา(advertising)และการพัฒนาตลาดในทางการแพทย์ที่เฉพาะและการทำให้เป็นมาตรฐานของการบริการทางการแพทย์(the standardization of medical services)ไปยังเส้นทางของการผลิตที่มีการเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการทางการแพทย์(commodification of medical goods and services) การโฆษณาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้กลายเป็นสิ่งที่ธรรมดาในชีวิตประจำวัน(Dyer 1997) และตลาดใหม่ในทางการแพทย์ได้ปรากฏตัวขึ้น โดยเฉพาะการบริการที่มีความพิเศษมากขึ้น(Medical specialty services)
         
          จุดเน้นที่เพิ่มขึ้นในความสำคัญของบริษัททางด้านเวชภัณฑ์(pharmaceutical companies) ผู้ประกันภัย(insurers) และผู้บริโภค(consumers) สำหรับกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์ดังเช่นพวกเขาเป็นองค์ประกอบทั้งหมดในการสร้างสรรค์ตลาดทางการแพทย์(medical markets) ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์(The medical profession)มีการถูกลดทอนลงแต่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระบวนทำให้ดเป็นเรื่องทางการแพทย์ (medicalization)การกำหนดการเปลี่ยนแปลงในทางการแพทย์และการจัดการพื้นที่หรืออาณาบริเวณสำคัญของกระบวนการทางการแพทย์คือการเคลื่อนย้ายจากผู้เชี่ยวชาญ(professional)เข้าไปสู่ตลาดหลัก(market domains) ซึ่งไม่ใช่ความรู้ใหม่หรือเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์แต่น่าสนใจว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกใช้อย่างไร ความร่วมมือและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์(promotion of products) การรักษา(treatments)และยา(drugs)ภายใต้การปรากฏขึ้นการตลาดทางการแพทย์แบบใหม่ พร้อมกับความซับซ้อนของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในรูปของบริษัท การสร้างสรรค์หรือการแผ่ขยายของตลาดทางการแพทย์ที่กลายเป็นเส้นทางที่สำคัญไปยังกระบวนการทางการแพทย์(medicalization) ความต้องการของผู้บริโภคคือสิ่งที่ไม่ง่ายในการปลดปล่อยความปรารถนาอย่างอิสระของตัวเองสำหรับการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์(medical solutions) แต่มันคือสิ่งที่ถูกจัดวางโดยความสามารถในการใช้(availability)และความสามารถในการเข้าถึง(accessibility)เกี่ยวกับการแทรกแซงและช่วยเหลือทางการแพทย์(medical interventions) นี่เป็นการสร้างชุดของความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างบริษัท ผู้ประกันภัย แพทย์และผู้บริโภค ที่แผ่หลายในสังคมปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...