ลักษณะของสินค้าทั่วไป ความต้องการซื้อ
(Demand)และความต้องการขาย (Supply) จะต้องมีความสมดุลกัน
รวมทั้งการมีข้อมูลข่าวสารหรือ Information ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายจะต้องเข้าใจ
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลไกลตลาดตามปกติ (ข้อสังเกตคือดูเหมือนอำนาจของผู้ซื้อและผู้ขายจะเท่ากัน
ทั้งดีมานและซัพพายจะต้องสมดุลสอดคล้องกัน
ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีข้อมูลเท่าเทียมกัน
เหมือนเราซื้อสบู่เราก็ต้องรู้ส่วนประกอบ สรรพคุณ)
สิ่งดังกล่าวข้องต้นเป็นเรื่องขอองสินค้าทั่วไป
แต่ถ้าเป็นสินค้าสาธารณสุข หรือสินค้าด้านสุขภาพ
แม้ว่าจะมีการจำหน่ายในท้องตลาดเช่นเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันดังนี้
1.การเข้าออกอย่างเสรีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ถ้าเทียบกับตลาดทั่วไป จะพบว่า ผู้ซื้อเสรี แต่ผู้ขายไม่เสรี
(คนซื้อจะเข้ามาขายสินค้าเหล่านี้ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ มีสถาบันทางการแพทย์รับรอง
ต้องเป็นพยาบาล เภสัชกร ดังนั้นการเข้ามาไม่ได้เสรี) ในขณะเดียวกันผู้ซื้ออาจจะไม่เสรีเช่นกัน
เช่น อยู่ๆคุณจะเดินเข้าไปผ่าตัดสมองทำไม่ได้ หรือการซื้อยาบางตัวต้องให้หมอสั่ง
ดังนั้นมันมีการกำหนดหรือจำกัดผู้ขาย เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สภาวะเสมือนกึ่งตลาดผูกขาด”
ผู้ซื้อมีมาก ผู้ขายมีน้อยหรือมีจำกัด ทำให้เกิดสภาวะเสมือนหนึ่งตลาดผูกขาด
เกิดสภาวะ Supply induce demand คือ
สภาวะที่คนขายสามารถสร้างให้เกิดดีมานหรือความต้องการได้ เช่น
เปิดร้าขายก๋วยเตี๋ยวอยากให้คนรู้จักคนมากินก็อาจต้องโฆษณา
ในทางสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน Supply หรือ supplier สามารถ Induce ให้เกิด Demand ได้
เช่น หมอตรวจร่างกายแล้วบอกว่าคุณต้องมาผ่าตัด หรือต้องผ่าตัด
ทำให้คุณต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัด ดังนั้นกลไกลการเข้าออกเสรีมันทำไม่ได้
2. ธรรมชาติของความต้องการ
(Demand) มันมีสิ่งที่เรียกว่า Uncertainly of
demand คือเราไม่สามารถรู้ว่าเมื่อไหร่เราจะมี
demand
ต่อสินค้าชนิดนั้น เช่นเดียวกับว่า
เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะเจ็บป่วย ตัวอย่างเช่น บางทีอยู่ดีๆเดินไปก็หกล้มขาหัก
โดนกิ่งไม้หล่นใส่หัวจนหัวแตก สิ่งเหล่านี้เราคาดการณ์ไม่ได้
แต่ถึงแม้ว่าในชีวิตของเราจะ unciertainly แต่ก็ยังมีโรงพยาบาลอยู่
แต่Uncertainly ก็นำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่คนจำนวนมากไม่สามารถรับผิดชอบได้ เรียกว่า catastrophy
Illness หรือ
ความเจ็บป่วยที่เป็นหายนะต่อคนซื้อ นำไปสู่ Catastrophy ของค่าใช้จ่าย
3. เนื่องจากมันมี information
ที่ไม่เท่ากัน ผู้ขายมี Information อยู่อย่างเหลือเฟือ
ในขณะที่ผู้ซื้อมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect
information) เช่น
หมอบอกต้องผ่าตัดก็ต้องผ่าตัด
4. ความจำกัดในการเข้าสู่ตลาด
Restriction of entry คนที่เข้ามาต้องมีใบประกอบโรคศิลป์
มีสถาบันรับรอง
5. สินค้าทั่วๆไป
คุณจะซื้อไม่ซื้อคนอื่นไม่เดือดร้อน เป็นเรื่องเฉพาะตัว
แต่สินค้าสาธารณสุขมีผลต่อคนอื่นด้วย เราเรียกว่า Externalities
มีทั้งทางบวกและทางลบ ทางลบ เช่น คุณเป็น TB
คุณมานั่งเรียนก็จะแพร่กระจาย TB ให้กับคนอื่นในห้อง
อันนี้ถือว่าเป็นผลกระทบทางลบ ในทางกลับกัน ถ้าเป็นทางบวก คนในห้อง 10 คนฉีดวัคซีน 9
คน อีกหนึ่งคนไม่ต้องฉีดก็ไม่เป็นโรค เกิดสภาวะคุ้มครองหมู่ “Herd
Immunity” คนที่เหลือไม่ต้องฉีดเพราะคุณได้รับวัคซีน
90
% อีก 10 % ไม่ต้องคุ้มครองได้ 100 % ถือว่าได้รับผลประโยชน์ไปด้วย
อันนี้อธิบายในแง่วิทยาศาสตร์ ในทางสังคมศาสตร์ เรื่องการไม่ทิ้งขยะ สมมติคน 90
% ไม่ทิ้งขยะ เก็บขยะเป็นที่ คนมีวินัย แม้ว่าคุณเป็น 10 % ที่ไม่มีวินัย ไม่ใส่ใจ แต่สุดท้ายมันจะบังคับให้คุณทำโดยอัตโนมัติ เช่น
ในประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นถ้าคุณวางแผนเชิงนโยบาย คุณต้องทำตัวเลขให้ขึ้นสูงขึ้น
6. Externality ทางบวก
รัฐอยากให้เกิดขึ้น ต้อง ช่วยเหลือด้านการเงินหรืออุดหนุน (Subsidy) บางเรื่อง เพราะรัฐมีหน้าที่ 3 อย่าง คือ จัดหา (Provision) ควบคุม (regulation) และอุดหนุน (Subsidy) การผลิตสินค้าทั่วไป ต้องการกำไร (For Profit) แต่มันก็มีลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า
การกระตุ้นหรือส่งเสริมการไม่แสวงหากำไร (Non profit incentive) มันมีส่วนช่วยพัฒนาสาธารณสุขไทย ในต่างประเทศเอาเชื่อมโยงเรื่องการกุศลที่มีส่วนกับงานสาธารณสุข
ตัวอย่างโรงพยาบาลศิริราชได้งบประมาณไม่กี่พันล้าน แต่ต้องใช้เงินแต่ละปี 10,000
กว่าล้านบาท อาจต้องยิ่งระดมเงิน โดยจัดงานการกุศล การขอรับบริจาค
ขายธงที่ระลึกวันมหิดล เพื่อเอาเงินเข้ามาช่วย เป็นต้น
7.ในทางเศรษฐศาสตร์
มนุษย์ ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค (Consumer) ดำเนินการอย่างไร คนเราตัดสินใจซื้ออะไรมีเหตุผล
2 อย่าง คือ (1) เพื่อการบริโภค
ต้องการความสุข ความเพลิดเพลิน ทำเพื่อบริโภค (2) เพื่อการลงทุน
เช่น การซื้อที่ดิน การลงทุนเพื่อการศึกษา
เช่นเดียวกันเรื่องสุขภาพมันมีทั้งสองส่วน คือ ทั้ง Consumption เช่น เราไปโรงพยาบาลเพื่อให้หายจากความเจ็บปวด และ Investment คือ การมีสุขภาพดี
เป็นการประกันความแข็งแรงและความมีสุขภาพดีอันนำไปสู่รายได้จากการทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น