ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความเรื่อง After the Miracle แล้วประยุกต์กับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาสุขภาพ (Health Psychological)

บทความเรื่อง After the Miracle  แล้วประยุกต์กับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาสุขภาพ (Health Psychological) กับการอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์มหัศจรรย์ (Miracle phenomenon) ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
                 
                ในบทความเรื่อง After the Miracle ชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Chitra ผู้หญิงชาวอินเดียอายุ 32 ปีที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเธอพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณหน้าอกข้างซ้ายของเธอ และเธอก็ได้ไปหาหมอและได้รับการวินิจฉัยว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อร้าย รวมทั้งตรวจพบว่ามะเร็งได้เริ่มลุกลามไปยังปอดของเธอแล้ว  หลังจากนั้นเธอได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆออกไป แพทย์ได้ใช้วิธีการรักษาจิตราด้วยการฉายรังสีและรักษาด้วยวิธี Chemotherapy ซึ่งเป็นขั้นตอนมาตรฐานสำหรับการรักษามะเร็งเต้านมทั่วไปเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วย  โดยความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในชีวิจของเธอสัมพันธ์กับการรักษาโรคด้วยสองวิธีการที่แตกต่างแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการรักษาเยียวยาให้หายจากความเจ็บป่วย ที่นำไปสู่ความมหัศจรรย์ในชีวิตของเธอที่เซลล์มะเร็งหายไปจากร่างกายของเธอ
                ผู้ตอบคำถามขอใช้วิธีคิดเรื่อง Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในบทความชิ้นนี้
                ความเจ็บป่วยไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของร่างกายตามคำอธิบายชีวะการแพทย์ แต่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ชีวะ จิตและสังคมด้วย ดังเช่นในบทความ ผู้เขียนบทความซึ่งเป็นหมอที่ดูแลจิตรา ได้เฝ้าติดตามและสังเกตพฤติกรรมของเธอจนพบว่าจิตตรามีความวิตกกังวลและเครียดมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เธอจะต้องตายแต่เธอเป็นกังวลว่าสามีของเธอจะอยู่คนเดียวและต่อไปแต่งงานใหม่กับผู้หญิงอเมริกันซึ่งเป็นเรื่องที่เธอทำใจยอมรับไม่ได้ แม้ว่าดูภายนอกเธอจะดูมีสุขภาพที่แข็งแรงแต่จริงๆแล้วเธอซ่อนความเจ็บป่วยของเธอจากผู้อื่นเช่นญาติของเธอซึ่งเธอกลัวว่าพวกเขาจะมองเธอด้วยสายตาที่สงสารว่าเธอกำลังใกล้จะตาย ทั้งๆที่เธอได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยอย่างมาก  โอกาสมีชีวิตรอดของเธอเกินกว่า5 ปีมีน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งนายแพทย์ได้เสนอแนวทางการรักษาใหม่ที่ควบคู่ไปกับการทำเคมีบำบัดสำหรับจิตรา ซึ่งก็คือวิธีการแบบอายุรเวช (Ayuraveda)  ซึ่งแม้ว่าจิตราจะเติบโตในสังคมอินเดีย แต่เธอก็มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก มีเพียงปู่ของเธอซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นสุดท้ายที่รู้เรื่องเหล่านี้พร้อมกับการเติบโตของการแพทย์สมัยใหม่ในอินเดีย ดังนั้นความเจ็บป่วยของจิตราจึงไม่ใช่แค่เรื่องของร่างกายแต่สัมพันธ์กับมิติทางด้านจิตใจ ความวิตกกังวล รวมถึงเรื่องสังคมที่สัมพันธ์กับบุคคลที่เธอรักและครอบครัว
                การรักษาความเจ็บป่วยไม่สามารถรักษาแค่เพียงร่างกายอย่างเดียวแต่สัมพันธ์กับเรื่องของจิตใจและสังคม ทั้งความเชื่อมั่นในการรักษา การยอมรับการรักษา รวมถึงการบรรเทาความวิตกกังวลหรือความกลัวที่บุคคลเผชิญกับความเจ็บป่วย ดังเช่นในบทความ หมอต้องการดึงจิตรามาเข้าสู่กระบวนการรักษาแบบอายุรเวช เพราะความเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งของจิตราได้เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพหรือร่างกายเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันกับสิ่งอื่นๆแบบเป็นองค์รวม (Holistic) แม้ว่าจิตราจะรับรู้ว่าเธอป่วยเป็นมะเร็งและรู้สึกถึงความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ทั้งจากการตรวจเนื้อเยื่อที่ปอดของเธอและรู้ว่าเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายมากขึ้น รวมถึงอาการปวดหน้าอกของเธอที่ทำให้เธอตั้งนั่งพักและหายใจลำบาก ที่สะท้อนให้เห็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ความรู้สึกเจ็บปวดอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ ความวิตกกังวล ที่สมองของจิตราตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้
                ดังนั้นวิธีการแบบองค์รวม (Holistic) จึงเป็นวิธีการรักษาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย (Body)กับจิตใจ (Mind) เข้าด้วยกัน โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่าถ้าปัจจุบันจิตตราอยู่ในบอมเบย์ อินเดีย ย่าของเธออาจจะจัดเตรียมอาหารที่เฉพาะให้เธอ  การนวดน้ำมันเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายและทำความสะอาดร่างกายให้เธอหรือซื้อยาสมุนไพรจากร้านขายยาอายุรเวชและให้หล่อนนอนพักอยู่บนเตียงนอน ซึ่งวิธีการรักษาแบบอายุรเวชจึงเป็นสิ่งที่ปะทะกับบางสิ่งที่ลึกในธรรมชาติ และเป็นความรู้ที่เป็นรากเหง้าซึ่งไม่ใช่เทคนิควิทยาการสมัยใหม่แต่เป็นภูมิปัญญา (Wisdom) ในขณะที่แพทย์แบบสมัยใหม่ (Modern Medicine) มียุทธศาสตร์อยู่ที่การปะทะโจมตีทางด้ายกายภาพในโรคมะเร็งของผู้ป่วย แม้ว่าวิธีการทั้งสองอย่างจะเหมือนกันตรงที่ให้ความสำคัญกับร่างกาย โดยอายุรเวช เน้นที่การบำบัดฟื้นฟูตัวเองของร่างกาย ขณะที่การแพทย์สมัยใหม่จัดการกับร่างกายโดยเครื่องมือทางการแพทย์สมัยใหม่ ทั้งยา รังสี เอ๊กเรย์ ในขณะที่การทำสมาธิ การฝึกจิตเป็นเรื่องของจิตใจที่ถูกเชื่อมโยงเข้ามาในการรักษาที่หลากหลายของจิตรา
                ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับการรักษาด้วยวิธีการทั้งสองรูปแบบร่วมกัน สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนทางชีวะวิทยา จิตวิทยาและสังคมที่ทำให้อาการเจ็บป่วยของจิตราหายไป ดังเช่นในบทความพบว่า จิตราได้เข้ารับการรักษาที่คลินิกของหมอ เธอนอนพักรักษาตัวอยู่หลายสัปดาห์เพื่อเข้ารับการรักษาและการรักษาตัวที่บ้าน ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงอาหาร การกินยาสมุนไพรตามตำราอายุรเวช  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย เช่น การเล่นโยคะ วิธีการดังกล่าวเหมือนการฟื้นฟูซ่อมแซมร่างกายที่เชื่อในความสามารถของการดูแล รักษา ฟื้นฟูตัวเอง เพื่อให้อวัยวะต่างๆกลับมาสู่ความสมดุล จิตตราเชื่อมั่นกับโปรแกรมการรักษาและกลับมาทุก 6 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันเธอก็ยังคงรักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัดด้วยกับหมอที่นิวยอร์ก ประมาณปีหนึ่งเมื่อได้ติดตามความก้าวหน้าของจิตรา จากการเอ็กซเรย์ปอดก็ยังคงแย่เหมือนเดิม หายใจลำบากและดูเหมือนเธอจะอ่อนแอลง จนกระทั่งหมอสงสัยว่าเธอจะมีอาการติดเชื้อ มีไข้สูงมากและไม่อนุญาตให้เธอออกจากโรงพยาบาล หมอตัดสินใจเอ็กซเรย์ปอดของเธออีกครั้ง จนกระทั่งพบว่าปอดของเธอไม่มีเซลล์มะเร็งแล้วและเธอสามารถฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าจะเกิดจาการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรืออายุเวชก็ตาม
แต่จิตราก็ยังมีความกังวลว่าเซลล์มะเร็งจะกลับมาอีกครั้ง เธอจึงเข้ามาคุยกับผู้เขียนบทความว่าจะทำอย่างไรดี เพราะหมอที่รักษาด้วยเคมีบำบัดก็บอกว่าเธอดีขึ้นเพราะเคมีบำบัดและควรรักษาด้วยวิธีการนี้ต่อ แม้ว่าผู้เขียนจะเชื่อมั่นในวิธีการรักษาแบบอายุรเวชก็ตามแต่ไม่มีเหตุผลที่ดีมากเพียงพอที่จะให้เธอเลิกรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้วมารักษาด้วยอายุรเวชอย่างเดียว เพราะไม่สามารถรับประกันได้หากเธอกลับมาเป็นอีกครั้งและตายใน6 เดือนถัดไป แต่ผู้เขียนก็ขอให้เธอรักษาแบบเคมีบำบัดควบคู่กับอายุรเวชด้วย จนกระทั่งหลายเดือนจิตราก็หายจากโรคนี้ แต่เธอก็ยังคงสงสัยถึงความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเธอเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่หายไป
ในทางการแพทย์พยายามจะทำความเข้าและอธิบายด้วยหลักการของQuantum หรือภาวการณ์ก้าวกระโดด (เช่นเดียวกับภาวะใกล้ตายหรือป่วยหลักไปสู่การหายจากความเจ็บป่วย) หรือพลังงาน เป็นที่รับรู้กันในหมู่นักฟิสิกส์แม้จะยังไม่มีการใช้ในทางคลินิกแต่ก็มีการพยายามเชื่อมโยงวิธีคิดนี้กับการรักษาแบบอายุรเวช ในกรณีของจิตราคือ Quantum Healing ที่มีการเคลื่อนไหวจากภายนอก วิธีการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงไปยังแกนกลางที่ลึกที่สุดของระบบร่างกายและจิตใจ ที่เป็นแกนกลางของการรักษา ดังเช่นการผสมกลมกลืนระหว่างอายุรเวชกับวิธีการรักษาสมัยใหม่เช่น เคมีบำบัดหรือรังสีที่สะท้อนให้เห็นการแต่งงานหรือการเชื่อมโยงระหว่างสองวัฒนธรรมที่พยายามนำไปสู่คำตอบที่เป็นหนึ่งเดียวคือการรักษาโรค ถ้าเรารู้ว่าสมองของมนุษย์ทำหน้าที่อะไรสัมพันธ์กับความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายการรักษาความเจ็บป่วยก็ย่อมสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การรักษาโดยเน้นทางร่างกายโดยการให้ยา ผ่าตัด มากกว่าการเชื่อมโยงทางด้านจิตใจร่างกายเข้าด้วยกันที่จะทำให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเกิดความมหัศจรรย์ขึ้นกับชีวิตของเธอได้

ดังนั้นการทำความเข้าใจสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมว่ามีความสัมพันธ์กับเรื่องของกาย จิตและสังคม เป็นการผสมผสานระหว่างความคิดแบบตะวันตก ที่มองความเจ็บป่วยเป็นเรื่องของเชื้อโรค พันธุกรรม ยีนส์ และร่างกายแบบการแพทย์เชิงชีวะ ที่ยังมีข้อจำกัดในการอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและสุขภาพ ที่สมบูรณ์ กับการมองความเจ็บป่วยด้วยเรื่องของจิตใจและสังคมก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  ปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้นในบทความไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการหายจากอาการป่วยจากโรคร้าย หรือตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาประกอบ เช่น กระดูกหักที่สามารถผสานกันได้ด้วยจากสภาวะที่ความรู้สึกสั่งการให้เกิดขึ้น หรือผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ได้ยืนนาน ที่สัมพันธ์กับการรักษาโดยอาศัยพลังของศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางจิตวิทยา ความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตรอด การตระหนักในศักยภาพแห่งตน (Self Efficacy) ที่เชื่อมั่นในการรักษาและการดูแลสุขภาพ รวมถึงความคิดและทัศนคติในเชิงบวกต่อความเจ็บป่วยของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดล้วนสัมพันธ์กับเรื่องของจิตวิทยาและสังคมและมีความสำคัญมากขึ้นในงานวิจัยและงานศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วยในปัจจุบัน

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ13 เมษายน 2561 เวลา 23:46

    สวัสดีฉัน aM clinton nancy หลังจากที่ได้มีความสัมพันธ์กับแอนเดอร์สันมานานหลายปีแล้วเขาเลิกกับฉันฉันทำทุกอย่างเพื่อให้เขากลับมาได้ แต่ทั้งหมดก็ไร้ผลฉันต้องการให้เขากลับมามากเพราะความรักที่ฉันมีต่อเขา, ฉันขอร้องเขาด้วยทุกสิ่งทุกอย่างฉันทำสัญญา แต่เขาปฏิเสธ ฉันอธิบายปัญหาของฉันกับเพื่อนของฉันและเธอบอกว่าฉันควรจะติดต่อล้อสะกดที่สามารถช่วยฉันโยนคาถาเพื่อนำเขากลับมา แต่ฉันเป็นประเภทที่ไม่เคยเชื่อในการสะกดฉันไม่มีทางเลือกกว่าที่จะลองฉัน ส่งคาถลลวงและเขาบอกผมว่าไม่มีปัญหาใด ๆ ที่ทุกอย่างจะเรียบร้อยก่อนสามวันที่อดีตของฉันจะกลับมาหาฉันก่อนสามวันเขาได้ให้การสะกดและในวันที่สองก็แปลกใจคือประมาณ 4 โมงเย็น อดีตของฉันเรียกฉันว่าฉันประหลาดใจมากฉันตอบสายและสิ่งที่เขาพูดก็คือเขาเสียใจมากสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการให้ฉันกลับไปเขาว่าเขารักฉันมาก ฉันมีความสุขมาก ๆ และไปหาเขานั่นคือสิ่งที่เราเริ่มใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาฉันได้สัญญาว่าใครที่ฉันรู้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันก็จะช่วยคนดังกล่าวโดยการแนะนำให้เขาเป็นครูผู้ชำเถียงในการสะกดเฉพาะที่แท้จริงและทรงพลังที่ช่วยฉันด้วยปัญหาของตัวเอง อีเมล์: drogunduspellcaster@gmail.com คุณสามารถส่งอีเมลถึงเขาได้หากคุณต้องการความช่วยเหลือในความสัมพันธ์หรือกรณีอื่น ๆ

    1) รักคาถา
    2) Lost Love Spells
    3) การหย่าร้าง
    4) เวทมนตร์สมรส
    5) มัดสะกด
    6) คาถา Breakup
    7) ขับไล่คนที่ผ่านมา
    8. ) คุณต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งในการสะกดของสำนักงาน / สลากกินแบ่งของคุณ
    9) ต้องการที่จะตอบสนองความรักของคุณ
    ติดต่อคนที่ยิ่งใหญ่นี้หากคุณมีปัญหาใด ๆ สำหรับโซลูชันที่ยั่งยืน
    ผ่าน DR ODOGBO34@GMAIL.COM

    ตอบลบ
  2. ฉันต้องการบอกให้โลกรู้อย่างรวดเร็วว่ามีลูกล้อคาถาออนไลน์ที่ทรงพลังและเป็นของแท้มากชื่อของเขาคือดร. edede เขาช่วยให้ฉันรวมตัวกับความสัมพันธ์ของฉันกับ hubby ที่ทิ้งฉันเมื่อไม่นานมานี้เมื่อฉันติดต่อดร. edede เขาได้สะกดความรักให้ฉันและ hubby ของฉันก็โทรหาฉันหลังจากผ่านไป 2 วันและเริ่มขอร้องให้ฉันกลับมาในชีวิต ... เรากลับมาแล้วในตอนนี้ด้วยความรักและการเอาใจใส่มากมาย วันนี้ฉันดีใจที่จะให้คุณทุกคนรู้ว่าลูกล้อสะกดนี้มีอำนาจในการคืนค่าความสัมพันธ์ที่หักกลับมาเพราะตอนนี้ฉันมีความสุขกับ hubby ของฉัน ... หากมีใครออกมีที่อ่านบทความนี้และต้องการความช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาด้านล่างนี้ยังสามารถติดต่อดร. edede เพื่อขอความช่วยเหลือในปัญหาดังต่อไปนี้: (1) การรักษาโรคทุกประเภท (2) คดีในศาล (3) คาถาการตั้งครรภ์ (4) การป้องกันทางจิตวิญญาณ (5) การรักษาโรคมะเร็ง (6) สำหรับโรคเริม (7) รักษาโรคเอดส์และอื่น ๆ อีกมากมาย ... คุณสามารถติดต่อเขาทางอีเมลของเขา: ededetemple@gmail.com หรือโทร / WhatsApp ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเขาที่ +38972751056

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง