ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2025

มานุษยวิทยากับปรัชญา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ถ้าเราเข้าใจชีวิต เราก็จะรู้ว่าเราจะจัดการกับชีวิตตัวเองอย่างไร … ออกเดินทางพร้อมหนังสือ ที่เป็นเพื่อนร่วมทางและเติมความคิด ในช่วงย่างเข้าปีที่4 ของการเป็นหัวหน้าภาควิขา และปีที่ 18 ของการทำงานในอาชีพนี้ ผมชอบวิชาปรัชญามากเคยเรียนในตอนป.ตรีและป.เอก และเคยคิดอยากจะเปิดวิขา ที่ว่าด้วยการถกถึงความเป็นมนุษย์ ผมมองว่าปรัชญาเป็นที่รู้จักในฐานะศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวงและเป็นเสมือนพื้นฐานของความรู้ทั้งหมด ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะปรัชญาคือการทำความเข้าใจมนุษยชาติอย่างชัดเจน …มานุษยวิทยาศึกษาธรรมชาติของมนุษยชาติที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปรัชญาต่างๆ มนุษย์เกิดยังไง มนุษย์คืออะไร ทำไมต้องตาย ตายแล้วไปไหน ทำไมมนุษย์ต้องอยู่รวมกัน และอื่นๆ นักมานุษยวิทยาได้รับทฤษฎีและแนวความคิดเกือบทั้งหมดจากรากฐานทางปรัชญา เนื่องจากทุกแง่มุมของธรรมชาติของมนุษย์ได้รับการอธิบายอย่างละเอียด มานุษยวิทยาเชิงปรัชญา มีระเบียบวธีการศึกษาในปรัชญาที่พยายามรวมการสืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์หลายประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เข้าด้วยกัน ด้วยความพยายามที่จะเข้าใจแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นทั้งสิ่ง...

มองงานของ Spivak กับการวิจัยเรื่องผู้ไร้อำนาจ (subaltern ) ในทางมานุษยวิทยาโดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“The subaltern cannot speak.”ผู้ไร้อำนาจในสังคม (subaltern) ไม่สามารถแสดงออกถึงเสียงของตนเองได้ในโครงสร้างที่ถูกครอบงำโดยอำนาจและวาทกรรมของผู้มีอำนาจ (Spivak , Can the Subaltern Speak?) “To confront the Other as Other is to acknowledge its irreducibility.” การเผชิญหน้ากับ “ผู้อื่น” ต้องยอมรับว่าเราจะไม่มีวันเข้าใจพวกเขาได้อย่างสมบูรณ์ (Spivak , “In Other Worlds”) ตอนที่ผมเป็นเอ็นจีโอ และพาชาวบ้านเข้าประชุมกับนักวิชาการ กรรมาธิการร่างกฏหมายแร่ นักอุตสาหกรรม นักธรณีวิทยา สว. สส. นักกฏหมาย และอื่นๆ ผมจำได้เลยว่าเวทีวันนั้น แม่มณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีที่ต่อสู้คัดค้านเหมืองแร่ของกลุ่มทุนข้ามชาติ ได้ลุกขึ้นพูดด้วยตัวเองต่อมุมมองเรื่องแร่โพแทชในเวที โดยใช้เรื่องตำนานกระรอกเผือกมา พูดด้วยความรู้สึกมากกว่าพูดแบบวิชาการ เพื่ออธิบายตัวแร่ … แน่นอนในทางวิชาการ ในทางกฏหมายอาจจะยอมรับกับสิ่งที่แม่มณีพูดได้ยากในแนวคิดทางวิชาการและแนวทางการพัฒนา แต่มันคือความจริงของตนในพื้นที่มากที่สุด.. มันทำให้ผมคิดว่า พรบ.ชาติพันธุ์ที่ถกเถียงพูดคุยกันอยู่นั้น สะท้อน การต่อส...

มองคนไร้บ้าน ผ่านเลนส์ทางมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

อากาศเย็นๆวันนี้ ตื่นเช้ามาทำงาน กับภาพที่คุ้นตา ผู้คนไร้บ้านที่นอนเรียงรายตามพื้นที่เกาะกลางถนน สะพานลอยสวนหย่อม พวกเขาคงนอนเอาแรงเพื่อต่อสู้กับชีวิตในวันนี้ และผมก็ยังคงตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็นเสมอ ผมนึกถึงหนังสือชื่อ Braving the Street: The Anthropology of Homelessness (1999) โดย Irene Glasser และ Rae Bridgman หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาที่เจาะลึกถึงปรากฏการณ์ของความไร้บ้าน โดยใช้มุมมองทางมานุษยวิทยาเพื่อทำความเข้าใจความซับซ้อนของชีวิตคนไร้บ้านในหลากหลายบริบท ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ผู้เขียนเน้นการอธิบายปัจจัยที่ผลักดันคนเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน เช่น โครงสร้างทางสังคม ความยากจน นโยบายของรัฐ และความเหลื่อมล้ำเชิงระบบ ดังเช่นประโยคในหนังสือที่น่าสนใจเช่น “Homelessness is not just the absence of a home but also the absence of a social identity recognized as valid by society.” (ความไร้บ้านไม่ใช่เพียงการขาดที่อยู่อาศัย แต่คือการขาดอัตลักษณ์ทางสังคมที่ได้รับการยอมรับจากสังคม) “Public spaces are increasingly privatized, leaving little room for those who do not fit into the image...

ร่างกายทางการแพทย์ (Medicalized Bodies) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

เช้าดีๆ กับประเด็นเรือง Medicalized bodies (ร่างกายกับการทำให้เป็นประเด็นทางการแพทย์) เป็นประเด็นที่ผมสนใจเพราะผมเรียนเกี่ยวกับมานุษยวิทยาการแพทย์ตอนปริญญาเอก ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย (หรือในหลักสูตรใหม่ก็คือวิชาร่างกายในวัฒนธรรม เทคโนโลยี และสังคม ) ที่ผมสอนประเด็นเรื่องของร่างกาย เพศสรีระ เพศสถาวะ เพศวิถีและการเกิดหรือการปฏิสนธิ… โดยลักษณะและความหมายของการเกิด มีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรม มิติทางสังคมวัฒนธรรม มุมมองต่อเรื่องของการแต่งงาน การมีบุตรและเครือญาติ ดังเช่น มิติการปฎิสนธิ ตามธรรมชาติ (ไข่กับสเปิร์ม)ทั้งที่กฎหมายรับรองและไม่รับรอง (สามีภรรยาที่สมรสตามกฎหมาย หรือกับผู้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์ Baby Maker) รวมถึงการปฏิสนธิด้วยความตั้งใจ ไม่ตั้งใจ เช่นการปฎิสนธิจากการถูกข่มขืน หรือการปฏิสนธิกับหญิงที่มีสามีหรือภาวะขอบความสัมพันธ์แบบชู้ เป็นต้น มิติของการปฏิสนธิโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วย ที่เรียกว่า ART (Assisted Reproductive Technology) การผสมเทียมระหว่างอสุจิของสามี ไข่ของภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะเป็นการผสมบนโพรงมดลูกหรือหลอดแก้วก...

anti-oedipus: Capitalism and Schizophrenia(1972 )ของ Deleuze และ Guattari โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

“Desire is not lacking, it is not a lack. Desire is a plenitude, a force of production.” หมายถึงความปรารถนาไม่ได้ขาดแคลน มันไม่ได้เป็นความขาด ความปรารถนาเป็นความสมบูรณ์ เป็นพลังแห่งการผลิต”) ประโยคนี้แสดงถึงการมองความปรารถนาในฐานะพลังสร้างสรรค์ที่ไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเติมเต็มหรือถูกจำกัดในกรอบแบบจิตวิเคราะห์ดั้งเดิม Schizoanalysis เป็นแนวคิดทางปรัชญาและจิตวิเคราะห์ที่พัฒนาโดย Félix Guattari ร่วมกับ Gilles Deleuze ในหนังสือ Anti-Oedipus: Capitalism and Schizophrenia (1972) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจจิตใจ มนุษย์ และสังคม ซึ่งเป็นการวิพากษ์จิตวิเคราะห์แบบดั้งเดิมของ Freud และโครงสร้างนิยมของ Lacan แก่นสาระสำคัญของแนวคิด Schizoanalysis 1. การต่อต้าน Oedipus Complex Schizoanalysis ปฏิเสธแนวคิด Oedipus Complex ซึ่ง Freud ใช้เพื่ออธิบายโครงสร้างของความปรารถนาและจิตใจ Guattari และ Deleuze มองว่าแนวคิดนี้เป็นการบีบบังคับให้มนุษย์ต้องอยู่ภายใต้กรอบครอบครัวนิยมและโครงสร้างอำนาจของสังคมทุนนิยม 2. ความปรารถนา (Desire)แทนที่จะมองความปรารถนาเป็นสิ่งที...

Ecosophy ภูมิปัญญานิเวศวิทยา ของ Felix Guattari โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Ecosophy (หรือ ภูมิปัญญานิเวศวิทยา) เป็นแนวคิดที่ผสานปรัชญาและนิเวศวิทยาเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และโลกในภาพรวม แนวคิดนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤตทางนิเวศน์ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยพยายามสร้างกรอบความคิดที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในเชิงลึก ทั้งในระดับบุคคล สังคม และระบบนิเวศ ดังนั้น“Ecosophy” (ภูมิปัญญานิเวศวิทยา) ซึ่งหมายถึงการคิดและปฏิบัติอย่างบูรณาการในทุกมิติ โดยดเฉพาะมิติทางสังคม ทางจิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม “It is the relationship between subjectivity and its exteriority – be it social, animal, vegetable, cosmic – that constitutes the foundation of an authentic ecology. ” Guattari เน้นว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกภายนอก (ทั้งในมิติทางสังคมและธรรมชาติ) เป็นพื้นฐานของนิเวศที่แท้จริง “Integrated world capitalism tends to reduce the three ecologies to a single dimension – the profit-driven exploitation of resources.” ระบบทุนนิยมแบบรวมศูนย์ทำลายความสมดุลของสามมิติ โดยมุ่งเน้นแต่ผลกำไร The e...