ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของคนไข้ (The Patient’s experience) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของคนไข้ ( The Patient’s experience )           Kleinman ( 1988 ) โต้แย้งว่าการปฏิบัติทางการแพทย์สมัยใหม่ได้ขับไล่ความตั้งใจหรือความสนใจของหมอให้แยกห่างจากประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วย ( Lived experience of the patient )และจากมิติที่สำคัญของการทำความเข้าใจความเจ็บป่วย ตัวของผู้ป่วยจึงมีสถานะเป็นร่างกายที่เงียบและไร้เสียง ( organic Silence )แม้ว่าในความจริงนั้นความเจ็บป่วย( Illness )และความเจ็บปวด( Pain ) ได้สร้างความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาต่อร่างกายของผู้ป่วย ในการตระหนักรู้ถึงร่างกาย ในการสำนึกรู้เชิงความรู้สึก ร่างกายที่หายไปในชีวิตประจำวัน การทำให้เป็นอื่นและแยกขาดความเจ็บป่วยออกจากตัวเอง( self ) การตัดขาดผู้ป่วยออกจากคนอื่นๆ และขุมขังตัวผู้ป่วยไว้ในร่างกาย   Kleinman ได้พูดถึงแนวโน้มของการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเล่าของผู้ป่วย( patient’s narrative ) ที่เป็นการเติบโตขึ้นของการทำงานที่ทำการสำรวจประสบการณ์ของความเจ็บป่วยและร่างกายจากมุมมองของคนไข้( The perspective of the Patient ) งานส่วนหนึ่งถูกเขียนโดยหมอ หรือนั...

ร่างกายและการแพทย์ (Body and Medical) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ร่างกายในทางการแพทย์ การตลาดและการดูแลด้านสุขภาพ ( The Body in Medicine and Health Care )           ร่างกายไม่ได้เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องของการรักษา( treatment )และการจัดการ( management )เกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ถูกแสดงในเรื่องราวทั้งหมดในทางกายแพทย์ ( the whole subject of medicine ) ทั้งมิติของการตีความ( interpretation )เกี่ยวกับร่างกายและการประกอบสร้างของร่างกาย( Construction ) ภายใต้มิตินทางประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของมโมทัศน์หรือความคิด( paradigsm ) ของการแพทย์สมัยใหม่( Modern Medicine ) ที่ซึ่งทำให้เกิดการดำรงอยู่ของกระบวนการทางความคิดเกี่ยวกับร่างกายโดยเฉพาะการศึกษาทางด้านกายวิภาค( anatomy )และการเติบโตของการชำแหละหรือผ่าศพ ( dissection )ในทางการแพทย์ ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจร่างกายและการรักษาโรคในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ภายใต้ข้อจำกัดและความกดดันในกระบวนการจัดหาร่างกายเพื่อการศึกษา( supply of body ) ร่างกายของนักโทษ( prisoner body )และร่างกายของคนยากจน( poor body )คือร่างกายที่สำคัญในการจัดหาเพื่อพั...

การแลกเปลี่ยนแบบ MOKA ในสังคมปาปัวนิวกินี โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

การแลกเปลี่ยนแบบ MOKA ในสังคมปาปัวนิวกินี  หมูที่ถูกใช้ในพิธีที่เรียกว่าMOKA หมูและสิ่งของต่างๆจะถูกรวบรวมเพื่อพิธีกรรมนี้                           หมูจะถูกฆ่าและชำแหละเนื้อมาทำเป็นอาหารเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมงาน  ผู้ชายของชนเผ่าในปาปัวที่ต้องการจะเป็นๅBig Man เพื่อให้ได้การยอมรับผ่านการจัดงานMOKA การแลกเปลี่ยนแบบนี้ถูกบรรยายโดย Joel  Robbins  and Holly Wardlow  ( 2017 ) ที่กล่าวถึงชาว Melpa ที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงภาคกลางในเขตปาปัวนิวกินี ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองชาวปาปัวนิวกีนีที่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรมและมีพิธีกรรมที่เกี่ยวการการเฉลิมฉลองว่าด้วยเรื่องหมู( pig feast system ) โดยผู้ชายในสังคมที่นี่มีความคาดหวังว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำที่เรียกว่า "Big Men" โดยการที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้คุณจะต้องพิสูจน์ตัวคุณเองว่าคุณมีความกล้าหาญในสงคราม( warfare )และในการแข่งขันในพิธีเฉลิมฉลองการให้ของขวัญ( competitive gift-givi...

วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบบกูล่าริง (Kula ring) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแบบกูล่าริง ( Kula ring )                                   ภาพ แผนที่ของหมูาเเกาะโทรเบียนและชุมชนที่อยู่รอบเกาะ ภาพ  สร้อยจากเปลือกหอยสีแดงและกำไลข้อมือจากเปลือกหอยสีขาว ภาพการแลกเปลี่ยนแบบKula       ภาพ วงจรของการแลกเปลี่ยนแบบตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ของสร้อยและกำไลข้อมือ                              กูล่าริงหรือวงแหวนของการแลกเปลี่ยนแบบกูล่า คือรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างคู่การค้าที่มีจำนวนมากมาย( many trading partners )ในหมู่เกาะโทรเบียนส์และในหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้ จุดเด่นของการแลกเปลี่ยนแบบนี้คือการใช้เปลือกหอยสีแดงกับเปลือกหอยสีขาวในการแลกเปลี่ยนในเชิงพีกรรมและพันธะสัญญาร่วมกันระหว่างเผ่า และทิศทางของการแลกเปลี่ยนของแต่ละแบบจะมีลักษณะตรงกันข้ามกันในเส้นทางของการเดินทางแลกเปลี่ยน ดังเช่นงานศึกษาของ Browlisnow ...

พอทแลตท์ (Potlatch)วัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนของชนพื้นเมือง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

พอทแลตท์ ( The Potlatch ) พอทแลตท์คือรูปแบบชองการแลกเปลี่ยนของขวัญที่เป็นการเฉลิมฉลองที่ถูกใช้ในกลุ่มคนพื้นเมืองใน North- Western coast of British Columbia ชนพื้นเมือง Tlingit , Haida , Tsimshian และ Kwakiutl ( Kwakwaka'wakw ) เนื่องจากของขวัญทั้งหมดในธรรมเนียมประเพณีของ potlatch ต้องใช้เวลาหลายปีในการเตรียมการ พิธีพอทแลตที่ถูกจัดขึ้นอย่างใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในปี 1921 ที่ใช้เวลาเตรียมงานถึง 17 ปีด้วยกัน ในงาน Potlatch ปัจจุบันใช้เวลาเตรียงานประมาณ 1 ปีและใช้เงินจัดงานประมาณ $10,000. ความหมายของ POTLATCH จึงหมายถึง การจัดเลี้ยงอาหาร ( to feed ) หรือการบริโภค( to consume ) โดยพิธีดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในช่วงชีวิต( the life cycle ) เช่นพิธีกรรมแรกรับ( Initiations ) การแต่งงาน ( marriages ) การสร้างบ้าน ( house building, )และพิธีกรรมความตาย( funerals เหตุการณ์ของความฟุ่มเฟือย ( Extravagant event ) จำนวนของอาหารที่มากมาย ( Large amounts of food ) รวมถึงของขวัญที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้กับแขก ดังเช่น หน้ากากและง...