ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

ความเครียดกับความเจ็บป่วย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ความเครียด ( Stress ) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยได้อย่างไร                 ความเครียดเป็นแนวความคิดที่มีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต ที่มองว่า ความรู้สึกหรืออารมณ์สามารถส่งผลต่อสุขภาพหรือความเจ็บป่วยทางร่างกายได้ ยิ่งในปัจจุบันแบบแผนของความเจ็บป่วยได้เปลี่ยนแปลงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ( Infectious disease ) มาสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ( Chronic Illness ) ที่ทำให้ประเด็นในเรื่องของความเครียดถูกนำมาอธิบายอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งความเครียดมีข้อสมมติฐานว่า เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุ้นจากภายนอก เช่นภาวะกดดันจากการทำงาน  หรือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการอ้างอิงกับเรื่องของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น การทำงานที่เป็นสาเหตุของความเครียด  รวมทั้งการมองว่าความเครียดเป็นผลลัพธ์จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า ( Stimulas )และการตอบสนอง ( Response ) ดังนั้นความเครียดจึงมีความสัมพันธ์กับสุขภาพและความเจ็บป่วยใน 2 ลักษณะคือ       ...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

บทความเรื่อง After the Miracle แล้วประยุกต์กับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาสุขภาพ (Health Psychological)

บทความเรื่อง After the Miracle  แล้วประยุกต์กับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาสุขภาพ ( Health Psychological ) กับการอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ( Miracle phenomenon ) ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร                                    ในบทความเรื่อง After the Miracle ชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Chitra ผู้หญิงชาวอินเดียอายุ 32 ปีที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเธอพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณหน้าอกข้างซ้ายของเธอ และเธอก็ได้ไปหาหมอและได้รับการวินิจฉัยว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อร้าย รวมทั้งตรวจพบว่ามะเร็งได้เริ่มลุกลามไปยังปอดของเธอแล้ว  หลังจากนั้นเธอได้รับการรักษาโดยการตัดเต้านมและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆออกไป แพทย์ได้ใช้วิธีการรักษาจิตราด้วยการฉายรังสีและรักษาด้วยวิธี Chemotherapy ซึ่งเป็นขั้นตอนมาตรฐานสำหรับการรักษามะเร็งเต้านมทั่วไปเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วย  โดยความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในชีวิจของเธอสัมพันธ์กับการรักษาโร...

บทความภาษาอังกฤษเรื่อง การจัดการกับความตายและสภาวะใกล้ตาย (Coping witn death and Dying) โดย Colin Murray Parker

บทความภาษาอังกฤษเรื่อง การจัดการกับความตายและสภาวะใกล้ตาย ( Coping witn death and Dying ) โดย Colin Murray Parker การตายคือบททดสอบที่สมบูรณ์เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับมัน เมื่อเรากลายเป็นคนป่วย ( patients ) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกหรือทีมงานของผู้เชี่ยวชาญที่ทำการดูแลรักษา ที่จะต้องรับมือจัดการกับสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่เรามีประสบการณ์และสามารถที่จะจัดการกับมันได้อย่างง่ายดาย ความตายบ่อยครั้งคือเรื่องของการสูญเสีย แต่มันก็สามารถจะเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่ความสงบและสันติได้ ความตายอาจจะสะท้อนความผิดพลาดหรือความสำเร็จ การสิ้นสุดหรือการเริ่มต้น เป็นความพ่ายแพ้หรือชัยชนะ ที่พวกเรา(ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษา) จะต้องพยายามปรับปรุงแนวทางของพวกเราในการดูแลรักษา แต่อย่างไรก็ตาม สภาวะแวดล้อม ความตาย ไม่เคยเป็นสิ่งที่คุ้นเคยหรือปกติในชีวิตประจำวันของเราเลย ในปัจจุบันการดูแลของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับความตายและสภาวะใกล้ตาย การสูญเสีย มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งจะต้องขอบคุณอย่างมากกับการทำงานของ Hospics [1] หรือสถานที่พักพิงดูแลผู้ป่วย และการจัดการที่หลากหลายเช่น Cruse-Bereavement Ca...