ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

การศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับเพศ (Sexual story telling) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องเพศ ( Sexual Story Telling )           Ken Plummer ให้ความสนใจกับภาวะความทันสมัย( modernity ) และแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม โดยเน้นไปที่บทบาทที่สำคัญของเรื่องเล่า คำพรรณนา( stories and narrative )ที่เกิดขึ้นในช่วงทันสมัย( modern )และทันสมัยตอนปลาย( late modern )ที่ชี้ให้เห็นบทบาทของเรื่องเล่าและวาทกรรมที่สร้างความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถี( Plumme,1995:12 ) ในการสร้างรูปแบบและแบบแผนเกี่ยวกับเรื่องชีวิตทางเพศ( the forms and patterns of sexual life ) สภาวะที่มนุษย์เป็นมนุษย์ผู้เล่าเรื่อง( story-telling beings ) ที่เรื่องราวที่เราสร้างนำไปสู่การสร้างโลกของเรา โดยเรื่องราวทางเพศ( the sexual story ) ที่ถูกบอกเล่ามีความเกี่ยวข้องอย่างลึกในการเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมและการเมือง และการก้าวข้ามเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตน( self ) และอัตลักษณ์( identity ) ที่นำไปสู่ศักยภาพและความสามรถในการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางสังคม เรื่องราวที่หลากหลายที่ผู้คนต่างๆบอกเล่า ได้ทำหน้าที่เปิดเผย และสร้างความหลากหลายของโครงการใหม่( new project ) ส...

ปลายนิ้วสัมผัสเป็นสัมผัสตาย โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ปลายนิ้ว : สัมผัสเป็นสัมผัสตาย “เทคโนโลยีที่ทันสมัยก้าวหน้าทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างรวดเร็วและคนสามารถแชร์แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร อารมณ์ความรู้สึกระหว่างกัน..แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส” ในเวลาหนึ่งวัน การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารบนหน้าเฟสบุ๊คของเราในพื้นที่โซเชียลมีมากมายหลากหลาย ทั้งข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ข่าวสด มติชน ไทยรัฐ CNN BBC หรือข่าวสารข้อมูลเหตุการณ์ เรื่องราว กิจกรรมของเพื่อๆของเราในแต่ละวัน ...ที่ได้สร้างธรรมเนียมหรือวัฒนธรรมของการกดไลน์ กดแชร์  แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เราหรือคนอื่น UPDATE, UP STATUS หรือ POST ในแต่ละวัน หรือความสามารถที่จะโหลด แชร์ ดูคลิปแบบ Real Times ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีก็อาจจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยเตือนคนอื่น หรือให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว จนไปถึงการสามารถติดตามตัวผู้กระทำความผิดได้ เป็นต้น แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน หากคลิปหรือข้อความนั้นถูกลดทอนความจริงลงไปจนแทบจะไม่เหลือ (หรือบางทีมันไม่มีความจริงอยู่แล้วตั้งแต่ต้น) หรือเอาความจริงบางส่วน หรือเล็กๆ มาตัดต่อ  ขย...

ความซับซ้อนของปัญหา นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ความซับซ้อนของปัญหา ฟังและอ่านข่าวสังคม เกี่ยวกับความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศเด็กหญิงอายุ 12 ปีโดยพ่อเลี้ยงที่จังหวัดแห่งหนึ่ง เริ่มต้นจากแม่ที่ทำงานขายบริการ แล้วท้องไม่มีพ่อ ต้องเลี้ยงลูกผู้หญิงที่เกิดมาโดยลำพัง ต่อมาแต่งงานกับผู้ชายคนหนึ่ง ที่พิการทำงานได้ไม่เต็มที่ ตัวแม่เองต้องออกไปทำงานกลางคืนเลี้ยงครอบครัว ทิ้งลูกสาวให้นอนตามลำพังกับพ่อเลี้ยงภายในบ้าน... เวลาพ่อเลี้ยงเมาแล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ  ก็จะล่วงละเมิดทางเพศลูกสาว กระทำหลายครั้ง  ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ต่อมาแม่รู้ถึงการกระทำของสามีตัวเอง จึงแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับพ่อเลี้ยงและพาลูกไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล.... หมอบอกว่ามีร่องรอยของการข่มขืน และเด็กติดเชื้อเอช ไอ วี .... ตัวพ่อเลี้ยงยืนว่าเด็กไม่ได้ติดเชื้อกับตัวเอง แม่เด็กจึงเปิดปากบอกว่า เด็กเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่อายุ 5 ขวบ และรอบข้างของเธอ เพื่อนบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนจะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี บางครั้งคนในชุมชนรู้และมองเห็นเหตุการณ์แบบนี้ แต่ก็มองเป็นเรื่องปกติธรรมดา ...เป็นความคุ้นชิน ฟังข่าวแล้ว รู้สึกว่าปัญหามันซับซ้อนหลากห...

ร้านโชว์ห่วยกับร้านสะดวกซื้อ ในกระแสวัฒนธรรมการบริโภค นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตั้งใจว่าวันนี้จะไม่เข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อซื้อนม ขนมปัง ซาลาเปา แฮม ไส้กรอก อย่างที่เคยทำในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำกับข้าวและอยากกินอะไรง่ายๆ เลยตั้งใจจะอุดหนุนร้านโชว์ห่วยในหมู่บ้านสักหน่อย พอเดินเข้าร้าน เจ้าของร้านบอกว่า "ไส้กรอก แฮมเบอร์เกอร์ เกี๊ยวน้ำ มีนะ บริการอุ่นให้ด้วย" ผมเลยเดินเข้าไปข้างในจนสุดร้าน ก็มองเห็นตู้จำหน่ายสินค้าของบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่งวางอยู่ ข้างๆมีเตาไมโครเวฟสำหรับอุ่น ทั้งการวางชั้น สิ่งของในร้าน ไม่ต่างจากร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในเมืองไทย หรือนี่คือเรื่องของการปรับตัวหรือเป็นกลยุทธ์ใหม่ของบริษัทธุรกิจสินค้าและอาหารยักษ์ใหญ่ ที่ทำให้กลุ่มทุนขนาดเล็ก ขนาดกลางที่มีศักยภาพสามารถผันตัวเองจากร้านชำเล็กๆขยับเข้ามาใกล้ร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ผมไม่ได้มีอะไรมาก แค่รู้สึกว่าวัฒนธรรมของสินค้าและอาหารการกินที่เคยหลากหลายมันลดน้อยลงไป และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ในครั้งหนึ่งวัยเด็กผมเดินเข้าร้านชำ ผมได้กินขนมแป้ง ขนมโก๋ ถั่วตัด  วันนี้อยากกินขนมแบบนี้ต้องขับรถไปกินที่ตลาดน้ำดอนหวาย นี่ยังไม่นับความสัมพันธ์ของผู้คนในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย การใช้บาร์โค๊ด การติ...

วาทกรรมการพนัน โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

วาทกรรมการพนัน เมื่อเวลาอ่านข่าวหรือบทสัมภาษณ์ของกลุ่มคนต่างๆเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของการเปิดบ่อนคาสิโน ผมรู้สึกหงุดหงิดและตะขิดตะขวงใจทุกครั้ง กับคำพูดหรือวาทกรรมหลายชุดที่มักพบคือ 1. การพนันอยู่ในสายเลือดของคนไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นรากเหง้าความคิดแบบชีววิทยาที่ให้ความสำคัญกับยีนส์และพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นและลักษณะด้อยไปยังบุคคล  เมื่อการพนันอยู่ในสายเลือดของคนไทย มันฝังรากลึกในจิตวิญญาณ วิธีคิด วิถีชีวิต เนื้อตัวร่างกายของคนไทย ซึ่งเหมือนจะบอกนัยว่ามันแก้ยาก ก็ปล่อยๆมันไปเถอะ ความคิดแบบนี้มีลักษณะแบบสารัตถะนิยม และสากลนิยมที่พยายามจะอธิบายแบบเหมารวมถึงลักษณะ คุณสมบัติบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ประจำชาติ จริงๆแล้วการพนันอยู่ในสายเลือดของคนไทยจริงหรือ ? มันมีอยู่กับทุกคนหรือเฉพาะบางคนเท่านั้น ? อย่าเหมารวม... 2. เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาไม่สมควรเปิดบ่อนคาสิโน เพราะการเปิดบ่อนคาสิโนเป็นการขัดต่อหลักธรรมคำสอนและศีลธรรมจรรยาอันดีงาม(ซึ่งที่จริงในประเทศไทยมีความหลากหลายทางศาสนาและหลักการของทุกศาสนาก็สอนให้คนเป็นคนดี) ซึ่งคำพูดแบบนี้ไม่อาจใช้ได้กับทุกกรณี บางประเทศที่เป็...

การเชื่อมโยงระหว่างสังคมศาสตร์กับปรัชญาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

การเชื่อมโยงสังคมศาสตร์ กับ ปรัชญาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ( วิทยาศาสตร์แบบเดการ์ต และ ฟิสิกส์ แบบนิวตัน )                  หนังสือจุดเปลี่ยนหรือ Turning Point ของ Frijof Capra สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือส่วนแรก เขาต้องการชี้ให้เห็นว่า ภาวะวิกฤติ( Crisis )เป็นหัวใจหรือโอกาสของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ วิกฤตที่ว่า ทั้งเทคโนโลยี พลังงาน การบริโภคที่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงสร้างทางวัฒนธรรม และระบบคุณค่าที่ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวไป ที่ทำให้เกิดทัศนะการมองสิ่งต่างๆแบบแยกส่วน ซึ่งเป็นต้นตอของสิ่งที่เรียกว่าวิฤตการณ์ของมนุษยชาติและโลกอย่างแท้จริง ส่วนที่สอง เข้าให้ความสำคัญกับการก่อกำเนิดและลักษณะของกระบวนทัศน์ 2 แบบ ได้แก่วิทยาศาสตร์แบบเดิมตามแบบเดการ์ตและฟิสิกส์แบบนิวตันกับวิทยาศาสตร์ใหม่ตามหลักของควอนตัมฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์แบบเก่าที่ทำให้เกิดการมองโลกแบบแยกส่วน การมองโลกเป็นเครื่องจักรที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่รวมกัน ในขณะที่ฟิสิกส์แบบควอนตัม มองปรากฏการณ์ต่างๆที่ปราศจากการดำรงอยู่ของตัวตนที่แน่นอนและเชื...

การเกิดขึ้นของสังคมศาสตร์กับบริบททางประวัติศาสตร์ (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์) โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

จากคำกล่าวของ Hollinger (1994)   ที่ว่า “สังคมศาสตร์  เกิดขึ้นภายในบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่ใหญ่มากที่เรียกว่ากระบวนการเข้าสู่ภาวะความทันสมัย ( Modernization ) และ สังคมศาสตร์สมัยใหม่โดยเฉพาะสังคมวิทยาคือสิ่งที่กำเนิดขึ้นจากความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความเข้าใจและการเข้ามายึดจับกับภาวะความทันสมัย( Modernity )” “The social sciences arose within a larger social and cultural context called modernization (p.1). และ “Modern social science, especially sociology, is born out of a concern to understand and come to grips with modernity (p. 25)                  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่า  กระบวนเข้าสู่ภาวะความทันสมัย ( Modernization ) ที่อธิบายถึงกระบวนการที่ซึ่งสังคมแบบดั้งเดิมเป็นสิ่งที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปยังสังคมทันสมัย เมื่อพูดถึงสังคมแบบดั้งเดิมหรือก่อนยุคสมัยใหม่( Pre-modern )ก็จะเริ่มตั้งแต่ยุคที่มนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและมีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติและ พึ่งพาธรรมชาติ เป็นสังคมแบบ...